No data was found

“อดีตบิ๊กข่าวกรอง” ลั่นตรง ใครทำอย่าเดินหนีรับผิดชอบ ประชามติแยกรัฐปาตานี ผิดชัดทรยศแผ่นดิน

กดติดตาม TOP NEWS

"อดีตบิ๊กข่าวกรอง" ลั่นตรง ใครทำอย่าเดินหนีรับผิดชอบ ประชามติแยกรัฐปาตานี ผิดชัดทรยศแผ่นดิน

วันที่ 10 มิ.ย.66 นายนันทิวัฒน์ สามารถ เลขาฯรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตรองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ โพสต์เฟซบุ๊ก “Nantiwat Samart” ระบุว่า แบ่งแยกดินแดน ต่อไปนี้ ไทยจะไม่เหมือนเดิม เมื่อนักการเมืองบางคน และพรรคการเมืองแอบจับมือสนับสนุนความเคลื่อนไหวให้มีการจัดทำมติเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยสิทธิในการกำหนดชะตากรรมตนเอง ให้ประชาชนปัตตานีสามารถออกเสียงประชามติแยกตัวเป็นเอกราชได้อย่างถูกต้อง

ชัดเจน นี่คือความพยายามแบ่งแยกดินแดน ใครที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น กระทำผิด ขัดต่อรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ที่บัญญัติว่า ไทยเป็นรัฐอันหนึ่งอันเดียวกันแบ่งแยกไม่ได้ ไทยเป็นรัฐเดี่ยว ไม่ใช่สหพันธรัฐ และไม่มีการปกครองในระบบมลรัฐ

ขอถามดังๆ พรรคการเมืองใดเห็นด้วยกับความเคลื่อนไหวของนักการเมืองที่ร่วมในกิจกรรมนี้ อย่าเดินหนี กล้าทำต้องกล้ารับผิดชอบ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นของไทยตั้งแต่สมัยอาณาจักรอยุธยา เมื่ออังกฤษจะปักปันเขตแดน ระหว่างมาลายูกับไทย ยังยอมรับในความจริงข้อนี้

ประการสำคัญ รัฐบาลไทยให้สิทธิเสรีภาพกับคนต่างศาสนา ให้เสรีภาพและสนับสนุนในการประกอบกิจทางศาสนาอย่างดียิ่ง ซึ่งประเทศอิสลามและองค์การความร่วมมืออิสลาม OIC ก็ให้การยอมรับในเรื่องนี้

ขอเตือน การแบ่งแยกดินแดนผิดกฎหมาย โทษหนัก ทรยศต่อแผ่นดิน อย่าเห็นสงครามกลางเมืองเป็นเรื่องสนุก ไม่มีคนไทยคนไหนเห็นด้วยกับเรื่องนี้

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยก่อนหน้านั้น เมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 66 คณะทำงานย่อยพรรคร่วมรัฐบาล ว่าด้วยสันติภาพชายแดนใต้/ปาตานี ซึ่งเป็นคณะทำงานย่อยของพรรคร่วมรัฐบาลมีการประชุมนัดแรกที่พรรคก้าวไกล โดยมีตัวแทนจาก 8 พรรคร่วมมาอย่างพร้อมเพรียง อาทิ นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรค นายรอมฎอน ปันจอร์ ว่าที่ ส.ส. พรรคก้าวไกล พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขานุการคณะกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทย ส่วนพรรคประชาชาติ มี พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ และนายมุข สุไลมาน รองหัวหน้าพรรค นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม นายชวลิต วิชยสุทธิ์ กรรมการยุทธศาสตร์พรรคไทยสร้างไทย

หลังการหารือ 2 ชั่วโมง นายรอมฎอน เปิดเผยว่า วันนี้เป็นการวางกรอบการทำงาน ระดมความเห็นแต่ละพรรคในเบื้องต้น การตั้งสมมุติฐานของปัญหาจังหวัดชายแดนใต้ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสันติภาพ การแสดงความเห็นทางการเมืองที่ยังมีความขับข้องหมองใจ รวมถึงการแก้ปัญหาปากท้องประชาชน ดังนั้นวันนี้เราคุยกรอบกว้างที่แต่ละพรรคให้สัญญาประชาชนไว้ แต่ครั้งหน้าถ้าจะลงลึกรายละเอียดว่าจะวางกรอบสร้างสันติภาพ ตอบสนองแนวนโยบายอย่างไรให้กับประชาชน โดยนัดหารือที่พรรคประชาชาติ ในวันที่ 19 มิถุนายนนี้

ที่ประชุมยังเห็นว่า แนวทางการแก้ปัญหา วันนี้ อาจต้องลดบทบาท วิธีคิด และกลไกทางทหารลง แต่เพิ่มบทบาทพลเรือน โดยเฉพาะตัวแทนที่ผ่านการเลือกตั้งจากประชาชน นั่นคือบทบาทรัฐสภาและสภาผู้แทนราษฎร

นายรอมฎอน ยังบอกด้วยว่า ที่ประชุมยังได้พูดถึงกรณีเปิดตัวขององค์กรนักศึกษาสามจังหวัดชายแดนใต้ ขบวนนักศึกษาแห่งชาติ โดยสัมผัสได้ว่ามีความกังวลของผู้คนที่มองปรากฏการณ์ทำกิจกรรมของนักศึกษากลุ่มนี้ ซึ่งในนามของว่าที่รัฐบาลใหม่ กรอบที่เรายังยืนอยู่ยังอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เรากำลังพูดถึงสถานภาพของรัฐเดี่ยวที่มองไปข้างหน้าและจะกระจายอำนาจ ให้อำนาจให้กับประชาชนท้องถิ่นมากขึ้น พร้อมยืนนันว่าไม่เห็นด้วยกับการแยกตัวออกไปของรัฐปัตตานี (ปาตานี) เพราะเราอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ต้องมีพื้นที่ให้แสดงความเห็น ซึ่งการพูดคุย รับฟังความเห็นต่างๆ รวมถึงกลุ่มนักศึกษาฯ เป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของคณะทำงาน

 

ทั้งนี้ ไม่ห่วงว่าเรื่องนี้จะนำไปสู่ความแตกแยก แต่ส่วนตัวมองว่านี่คือหน้าตาที่แท้จริงของความขัดแย้ง และต้องการความกล้าหาญทางการเมืองภายใต้การนำของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรค ไปเผชิญปัญหา แต่สิ่งที่กังวลคือเรื่องของความรุนแรง เพราะอีกไม่กี่เดือนก็จะครบรอบ 20 ปีของเหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเชื่อว่าภายใต้รัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นการกล้าเผชิญ คือจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหา

ส่วนการพูดคุยกับหน่วยงานความมั่นคงนั้น นายรอมฎอน บอกว่า หน่วยงานความมั่นคงก็เป็นระบบราชการภายใต้รัฐบาลอยู่แล้ว ก็จะต้องมีการพูดคุย แต่ระหว่างนี้ผู้รับผิดชอบของ 8 พรรคการเมือง ก็ได้มีการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว เพื่อเตรียมความพร้อม

ส่วนแนวคิดการพูดคุยกับกลุ่มบีอาร์เอ็น เพื่อสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้เหมือนที่รัฐบาลเดิมได้ทำมานั้น วันนี้ในวงประชุมยังมีความเห็นต่างกันอยู่ ถึงแนวทางดังกล่าวแต่ในภาพใหญ่ก็มองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ คือการสนทนากับคู่ขัดแย้ง ซึ่งวิธีการของรัฐบาลใหม่ เราจะสร้างความแตกต่างจากก่อนหน้านี้

ส่วนความชัดเจนในการยุบ กอ.รมน. นั้น นายรอมฎอน บอกว่า เรื่องนี้ยังต้องมีการพูดคุยในคณะทำงาน และต้องเป็นฉันทามติร่วมกันของ 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล

ด้าน นายกัณวีร์ สืบแสง เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ย้ำว่า ถ้าเป็นการทำประชามติ เพื่อสนับสนุนการแบ่งแยกดินแดน เราไม่สนับสนุน เพราะอยู่นอกกรอบรัฐธรรมนูญ แต่เราเปิดเสรีในการแสดงออกของประชาชน และไม่กังวลกับเรื่องที่เกิดขึ้นเพราะดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญ

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัปเดตอาการล่าสุด “ตะวัน” แพทย์ดูแลใกล้ชิด เศร้าหนักอยากมาส่ง "บุ้ง" เป็นครั้งสุดท้าย
นักตกปลาขับรถมาจอดตกปลา ลืมเสียบกุญแจทิ้งไว้ที่รถ เจอกัมพูชาติดยาขโมยรถขับเที่ยว
"ก้าวไกล" หักในไม่ส่ง "ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง" ชิงนายกอบจ.อดดู "ศึกสายเดือด" เปิดทาง "บิ๊กแจ๊ส" ยืนซดหมัด "ลุงชาญ"
"ตำรวจกองปราบ" รวบบัญชีม้าแก๊งคอลฯ อ้างเป็นตำรวจ ลวงเหยื่อสูญเงินนับแสน
จิตใจทำด้วยอะไร หนุ่มพบ "ศพทารก" ถูกยัดใส่ถุงโยนทิ้งคลอง เชื่อแม่เด็กต้องเป็นคนในพื้นที่
กรมอุตุฯ เตือน ไทยฝนตกหนักถึงหนักมาก 20-23 พ.ค.นี้ ระวังน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
จยย.ปริศนาถูกทิ้งให้จมน้ำท่าขึ้น-ลง เรือเจ็ทสกี
"ไรเดอร์" หัวจะปวด โทรแจ้งมาส่งอาหารที่สั่ง โดนด่าหาว่าเป็นชู้กับเมีย
ปกครอง ตำรวจ บุกทลาย แก๊งค์เกาหลี ลอบเปิดบ่อนโป๊กเกอร์ รวบ 10 นักพนัน
ตร.โต้สาวบางบ่อ อ้างทำแท้งลูก ผู้การฯยันเรียกสอบข้อเท็จจริงให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น