No data was found

“ลองโควิด 2566” ติดเชื้อโควิดซ้ำ ผู้หญิงหรือผู้ชายเสี่ยงมากกว่ากัน เช็ค

ลองโควิด 2566

กดติดตาม TOP NEWS

"ลองโควิด 2566" หมอธีระ เผยข้อมูลการวิจัย ติดเชื้อโควิดซ้ำ ผู้หญิงหรือผู้ชายเสี่ยงเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) มากกว่ากัน ทำอย่างไรลดความเสี่ยงได้

“ลองโควิด 2566” ลองโควิด ลองโควิดอาการ ลองโควิดเกิดจากอะไร เสี่ยงลองโควิด เป็นลองโควิด ปัญหาโควิด-19 ยังไม่จบลงแต่อย่างใด ล่าสุด รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยข้อมูลการวิจัย ติดเชื้อโควิดซ้ำใครเสี่ยงเกิดภาวะลองโควิด (Long COVID) มากกว่ากัน ดูเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้าน รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อมูลผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ว่า อัปเดตความรู้โควิด-19

  • 1. หากโรงพยาบาลไม่ตรวจคัดกรองโควิด-19 ในผู้ป่วยที่ต้องมานอนรักษาตัว จะทำให้มีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ภายในโรงพยาบาลมากขึ้น 

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Harvard ประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารการแพทย์ JAMA Internal Medicine เมื่อ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยเป็นข้อมูลที่ศึกษาในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ และสก็อตแลนด์)

การศึกษานี้ตอกย้ำให้โรงพยาบาลควรให้ความสำคัญต่อการตรวจคัดกรองในผู้ป่วยทุกรายที่เข้ารับการรักษาตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อผู้ป่วยเอง ผู้ป่วยรอบข้าง และบุคลากรในโรงพยาบาล เพราะหากมีการติดเชื้อระหว่างนอนรักษาตัว จะส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัว หรือสถานะสุขภาพไม่ดีอยู่เดิม การติดเชื้อจะทำให้โรคต่างๆ รุนแรงขึ้น เกิดภาวะแทรกซ้อนมากขึ้นได้

ลองโควิด 2566 ลองโควิด ลองโควิดอาการ ลองโควิดเกิดจากอะไร เสี่ยงลองโควิด เป็นลองโควิด

  • 2. วัคซีนที่จำเพาะต่อสายพันธุ์ที่ระบาด จะเริ่มใช้ในช่วงฤดูใบไหม้ร่วงปีนี้

ข้อมูลจาก CTV News วันที่ 5 มิถุนายน 2566 รายงานว่า บริษัท Biontech ประเทศเยอรมัน ได้ให้ข่าวว่า วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่จำเพาะต่อสายพันธุ์ XBB จะได้รับการผลิต และยื่นขอการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งน่าจะเสร็จสิ้นกระบวนการขออนุมัติภายในช่วงปลายฤดูร้อน และเริ่มใช้ได้สำหรับประเทศในกลุ่มแถบเหนือของโลกในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง

  • 3. การติดเชื้อหลายครั้ง เพศหญิง และสูงอายุ เสี่ยงต่อ Long COVID มากขึ้น

งานวิจัยโดยทีมจากประเทศบราซิล ศึกษาในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 7,051 คน ตั้งแต่ปี 2020-2022 เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ Infection Control & Hospital Epidemiology เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2566 พบอัตราความชุกของปัญหา Long COVID สูงราว 27%

    • การติดเชื้อซ้ำ (Reinfections) จะทำให้เสี่ยงต่อ Long COVID มากขึ้น 27% เพศหญิงทำให้เสี่ยงมากขึ้นกว่าเพศชาย 21%
    • ภาวะสูงอายุจะทำให้เสี่ยงมากขึ้นเล็กน้อย
    • หากฉีดวัคซีนครบเข็มกระตุ้น (ตั้งแต่ 4 เข็มขึ้นไป) จะลดความเสี่ยงได้กว่า 80%

ลองโควิด 2566 ลองโควิด ลองโควิดอาการ ลองโควิดเกิดจากอะไร เสี่ยงลองโควิด เป็นลองโควิด

สถานการณ์ไทยเรา มีการติดเชื้อกันมากในแต่ละวัน สถิติป่วย และเสียชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อหรือไม่ติดซ้ำย่อมดีที่สุด เลี่ยงที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี ระวังการคลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว ไม่ควรแชร์ของกินของใช้ร่วมกับผู้อื่นนอกบ้าน หากไม่สบายควรรีบตรวจรักษา แยกตัวจากคนอื่น 7-10 วันจนกว่าจะไม่มีอาการและตรวจ ATK ซ้ำแล้วได้ผลลบ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ลองโควิด 2566 ลองโควิด ลองโควิดอาการ ลองโควิดเกิดจากอะไร เสี่ยงลองโควิด เป็นลองโควิด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Thira Woratanarat 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"อ.ประจักษ์" เขียนบทความใหม่ "ถ้าไม่มี สว." ชี้จุดเปลี่ยนที่กำลังจะเกิดขึ้น หากปชช.ไม่นิ่งเฉย
"โรงเรียนดังย่านมีนบุรี" แจงดราม่าเวลาเรียน หลังผู้ปกครองหลายคนกังวล ตารางเรียนแน่นเกินไป
นทท.จีนแห่เที่ยวเชียงใหม่ หลังฝุ่นจาง บรรยากาศสุดคึกคัก
บูชาหญิงเร่ร่อนเป็นพระแม่
ม็อบต้านเทสลารวมพลบุกโรงงานในเยอรมนี ตร.สกัดวุ่น(คลิป)
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วมท็อป นิวส์ เดินหน้าสานฝันเยาวชนยากไร้ มอบทุนการศึกษา เด็กๆฝากขอบคุณทุกน้ำใจ
ฮือฮา ล้างป่าช้าจีนโคราช "พบร่างอาจารย์ทอง" ครั้งแรกรอบ 12 ปี
วินจยย.เล่านาทีระทึก โจรเมียนมาชิงมือถือนทท. ซอยนานา พลาดตกสะพานลอยเจ็บ
"นายกฯ" เผยยังไม่คุยภท. ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ยันเห็นตรงกัน ต้องฟังความเห็นทุกภาคส่วน
“โฆษกรบ.” ซัดยับ พวกวิจารณ์ด้อยค่าข้าว 10 ปี ชี้วาทกรรมลวงโลก “ข้าวเน่า”

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น