No data was found

“กรมโรงงานฯ” เตรียมแจ้งข้อหาดำเนินคดี “แอม-ไอซ์ ปรีชญา” ปมใช้ไซยาไนด์ผิดวัตถุประสงค์

กดติดตาม TOP NEWS

"กรมโรงงานฯ" เตรียมแจ้งข้อหาดำเนินคดี "แอม-ไอซ์ ปรีชญา" ปมใช้ไซยาไนด์ผิดวัตถุประสงค์

จากกรณีที่กองปราบฯจับกุม “นางสรารัตน์ หรือแอม” อายุ 36 ปี ฆาตกรต่อเนื่องก่อเหตุใช้สารพิษไซยาไนด์วางยาฆ่าเหยื่อหลายราย ล้วนเกี่ยวข้องกับการกู้ยืมเงิน รับจำนำรถ จำนำที่ดิน และวงแชร์ มูลเหตุเพื่อล้างหนี้และประสงค์ต่อทรัพย์

กระทั่งมีการขยายผลการสอบสวนถึงที่มาของ ไซยาไนด์ จนปรากฎชื่อของ “ไอซ์ ปรีชญา” เป็นหนึ่งในผู้สั่งซื้อล็อตเดียวกับ “แอมไซยาไนด์” และได้เข้าให้ปากคำตำรวจในฐานะพยาน

ล่าสุดทางด้าน กรมโรงงานฯ เตรียมแจ้งดำเนินคดี แอมและไอซ์ ปรีชญา หลังใช้ไซยาไนด์ผิดวัตถุประสงค์ ย้ำกรมโรงงานฯ มีอำนาจหน้าที่กำกับดูการอนุญาตนำเข้า แต่ไม่ได้ดูแลควบคุมการใช้งาน เผย มีการอนุญาตนำเข้า 14 บริษัท รวม 80ตัน มีผู้ใช้รายย่อยถึง 2000 รายนั้น

ล่าสุด นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เผยหลังจากเข้าให้ข้อมูลกับ พลตำรวจเอก สุรเชษฐ หักพาล รอง ผบ.ตร. ยืนยันว่า กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้ควบคุมการนำเข้าสารไซยาไนด์จากต่างประเทศ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ ตามพ.ร.บ.วัตถุอันตราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการขอนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมและงานศึกษาวิจัย โดยยอมรับว่า มีผู้ใช้รายย่อย ประมาณ 2000 ราย เช่น การใช้ในร้านทอง ด้วย ซึ่งส่วนนี้ทางบริษัทนำเข้าที่ได้รับขออนุญาตจะเป็นผู้ควบคุมดูแลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์เอง

ข่าวที่น่าสนใจ

กรณีคดีของแอม ผู้ต้องหาที่นำสารไซยาไนด์ไปใช้ฆ่าเหยื่อเพื่อปลดหนี้ และกรณีที่มีคนนำไปใช้วางยาฆ่าสัตว์เลื้อยคลาน ถือเป็นการใช้ไซยาไนด์ผิดวัตถุประสงค์ ทางกรมโรงงานฯในฐานะผู้เสียหาย จะต้องเดินทางไปร้องทุกข์ดำเนินคดีกับคนกลุ่มนี้ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสามปี ปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ในส่วนของผู้ใช้รายย่อย ที่ไม่ต้องมีการขออนุญาตครอบครอง หากในรอบหกเดือนมีการใช้เกิน 100 กิโลกรัม ก็ต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ด้วย โดยตำรวจจะเป็นผู้ติดตามการใช้งาน ว่ามีการใช้ผิดวัตถุประสงค์หรือไม่ ส่วนเรื่องที่มีการขายผ่านออนไลน์ จะต้องไปดูที่ พ.ร.บ.ควบคุมและกฎหมายเรื่องวัตถุอันตราย ว่าโฆษณาได้หรือไม่ ซึ่งหลังจากนี้จะประสาน สคบ.ให้ช่วยดูว่าสามารถควบคุมการโฆษณาไซยาไนด์ได้หรือไม่

อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม บอกว่า ปัจจุบันมีบริษัทที่ขอนำเข้าไซยาไนด์ทั้งหมด 14ราย รวมน้ำหนัก 80 ตันต่อปี โดยหลังจากนี้ทางอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมระบุว่า จะมีการแก้ไขเงื่อนไขท้ายใบอนุญาตนำเข้าไซยาไนด์ โดยจะกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความความเข้มงวดก่อนนำเข้า เช่น ให้ผู้ที่ขออนุญาตนำเข้าแจ้งรายชื่อผู้ที่ต้องการใช้สารไซยาไนด์เป็นต้น ทั้งนี้ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีความบกพร่องในเรื่องนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จิตอาสาผนึกความร่วมมือจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
ชาวบ้านเอะใจ น้ำประปาหมู่บ้านเป็นสีแดง ไปดูบ่อถึงกับขนลุก ฟองฟอด สิ่งสกปรกลอยเต็มชาวบ้านเอะใจ น้ำประปาหมู่บ้านเป็นสีแดง ไปดูบ่อถึงกับขนลุก ฟองฟอด สิ่งสกปรกลอยเต็ม น้ำประปาหรือบ่อหมักปลาร้า
สายมูแห่เจิมมือ นะจินดามณีใหญ่ แน่นวัดหุบบอนวนาราม หวังโชคลาภ เงินทองมั่งคั่ง ประสบโชคดี รับโชคลาภ เงินทองไหลมาเทมา
"พายุฤดูร้อน" ถล่มหนัก บ้านพังเสียหายนับ 100 หลัง ทำปชช.เดือดร้อน
นายกอบจ.นครราชสีมา เดินหน้า ทำ MOU ร่วม มศว.จับมือ หนุนโอกาสนักเรียน เข้าสู่รั้วสถาบันฯ
สอบสวนกลาง รวบสองหนุ่มคู่ขา ลวงเด็กชายสร้างคอนเทนต์ Group Sex เผยแพร่กลุ่มลับ
"รองโฆษกฯ" เผยรัฐบาลมอบ ก.ยุติธรรม เร่งเยียวยาผู้เสียชีวิตเหตุโรงงานพลุระเบิด จว.สระบุรี
"พิพัฒน์" มั่นใจขึ้นค่าแรง 400 บาททั่วประเทศ 1 ต.ค.นี้ ระหว่างนี้หามาตรการช่วยลดภาระSME
"เทพไท" เผย จงภูมิใจกับการจัดตั้งรัฐบาลแบบข้ามขั้วต่อไป หลัง พท. ตั้งรัฐบาลผสม
"ธนกร" เชื่อ ครม.ใหม่เดินหน้าทำงานทันที ชี้ปัญหาประเทศรอไม่ได้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น