No data was found

ชาวพระโขนง โวยหนัก”แสนสิริ” สร้างสะพานข้ามคลอง กระทบชีวิตเสียค่าผ่านทาง

กดติดตาม TOP NEWS

ชาวบ้านริมคลองพระโขนงติดโครงการคอนโดมิเนียมชื่อดังสุดระทม นอกจากเสียเงินค่าผ่านทางแล้วยังจะต้องมาผจญกับมลพิษทางเสียง ร้องหน่วยงานใดไปก็ไม่สนใจ พร้อมยืนยัน ตอนทำประชาพิจารณ์สิ่งแวดล้อมหรือ EIA ทางโครงการก็รับปากจะไม่คิดเงินค่าผ่านทาง แต่ทำไมถึงมาเก็บเงิน เดือดร้อนไปถึงพระสงฆ์องค์เจ้าต้องเจรจาถึงเดินข้ามสะพานผ่านได้

จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม ประธานพรรคไทยภักดี กล่าวถึงกรณีสะพานในโครงการของแสนสิริสร้างข้ามคลองสาธารณะและมีการเก็บค่าผ่านทาง ซึ่งกรณีสะพานในโครงการของแสนสิริ ที่คุณประพันธุ์ คูณมี เคยเขียนบทความเรื่องสะพาน ทางออกต้องออกยังไงสะพานข้ามคลองพระโขนงไปขออนุญาตกทม.สร้างข้ามคลองสาธารณะ แต่หลังจากนั้นมีการเก็บค่าผ่านทางคนในโครงการก็โดนเก็บคนนอกก็โดนเก็บถ้าจะใช้นั้น

 

 

ต่อมานายถาวร กล่าวต่ออีกว่า แสนสิริจะเก็บค่าผ่านทาง ค่าผ่านสะพาน อันเป็นสาธารณะไม่ได้ เพราะนี่คือเจตนาที่อุทิศเป็นสาธารณะแน่นอนตั้งแต่ตอนที่ไปขออนุญาตแม้ไม่ได้เซ็นเอกสารยกให้ก็ตาม ที่ดินคอสะพานเชิงสะพาน ต้องแสดงเจตนาอุทิศให้เป็นสาธารณะแน่นอน

 

 


ขณะที่ทางด้านนายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหาร สายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเรื่องดังกล่าวว่า ตามที่สื่อมวลชนได้นำเสนอข่าวพาดพิงถึงเรื่องกรณีสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนง ในบริเวณโครงการของบริษัทฯ เพื่อเชื่อมพื้นที่ 2 ฝั่งของโครงการเข้าด้วยกัน และการเก็บ ค่าผ่านทางในโครงการ T77 นั้น บริษัทฯ ขอเรียนชี้แจงว่า สะพานเป็นทางสาธารณประโยชน์ การบริหารจัดการ เก็บค่าผ่านทางถนนในโครงการ T77 รายรับ รายจ่าย การดูแล การซ่อมบำรุงเป็นเรื่องของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน บริษัทฯจึงมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการก่อสร้างสะพาน และจัดเก็บค่าผ่านทางแต่อย่างใด บริษัทฯ ขอยืนยันว่า ได้ดำเนินการตามกฎหมายทุกประการ และเคารพในสิทธิ ของประชาชนทั่วไป จึงขอชี้แจงมา ณ ที่นี้

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดผู้สื่อข่าว Top News ลงพื้นที่ตรวจสอบพบว่า ด่านเก็บเงินทางเข้าทั้ง 2 ฝั่ง คือ ซอยปรีดีพนมยงค์ 2 และซอยอ่อนนุช1/1 จะมีตู้เก็บเงินและมีไม้กั้น หากประชาชนต้องการใช้ทางลัดฝั่งไหน พนักงานจะให้ใบเสร็จเพื่อที่จะไปจ่ายที่ทางออกอีกฝั่ง เป็นจำนวนเงินเที่ยวละ 20 บาท ซึ่งทีมข่าวใช้เส้นทางซอยอ่อนนุช 1/1 ข้ามไปยังฝั่งซอยปรีดีพนมยงค์ 2 ต้องเสียเที่ยวละ20บาท ไปกลับ รวมบาท

 

 

 

 

จากนั้น ทีมข่าว Top News ใช้เส้นทางเดินริมเขื่อนเลียบคลองพระโขนง เข้าทางวัดราษฎรนิรมิต หรือวัดใต้ ในซอยอ่อนนุช3 ไม่ไกลจากโครงการ พบว่ามีบ้านเรียนประชาชนริมคลองประมาณ 10-15 หลังคาเรือน

 

 

โดยทางด้านนางแก้วตา เกิดโพธ์ชา อายุ 60 ปี เจ้าของบ้านริมคลองเล่าให้ผู้สื่อข่าวฟังว่า ก่อนจะสร้างคอนโดโครงการได้มาสอบถามประชาชนในพื้นที่ รวมไปถึงกว้านซื้อที่ดินบางส่วนในการทำทางเข้าออกและขยายโครงการเพิ่มขึ้น ซึ่งเจ้าของที่คนเก่าได้ขายที่รวมกว่า7-8 แปลง เป็นเงินไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท หลังสร้างคอนโด ทางโครงการก็ได้ซื้อที่เพิ่มเติมเพื่อก่อสร้างสะพาน เรียกว่า “สะพานแสนสำราญ” และได้ทำประชาพิจารณ์สิ่งแวดล้อม หรือ EIA มีข้อตกลงว่าจะยกสะพานให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ประชาชน สามารถใช้ทางร่วมกันได้และโครงการจะรับผิดชอบในการการดูแลรักษาสะพานเอง

 

แต่เมื่อประมาณปี 58-59 อยู่ ๆ โครงการก็คิดเงิน เก็บค่าผ่านทางครั้งละ 20 บาท ทำให้ประชาชนในพื้นที่ที่ต้องสัญจรข้ามไปมา ต่างได้รับความเดือดร้อน

 

 

 

นอกจากการเก็บค่าผ่านทางแล้ว นางแก้วตาและชาวบ้านที่อยู่ใกล้กับสะพาน 10-15 หลังคาเรือน ยังได้รับความเดือดร้อน คือ เวลาคนเดินข้าม ก็จะได้ยินเสียงเหล็กกระทบดังตลอดทั้งวันทั้งคืน นี่ยังไม่นับช่วงกลางคืนที่มีวัยรุ่นมานั่งมั่วสุมบนสะพานและปาขวดเหล้าเบียร์ใส่บ้านอีก ร้องเรียนไปยังสำนักงานเขตหรือหน่วยงานอื่น ๆ ก็ไม่มีความคืบหน้า จนตอนนี้ชาวบ้านได้เปลี่ยนชื่อจาก”สะพานแสนสำราญ”ไปเป็น”สะพานแสนรำคาญ”แล้ว

ทั้งนี้ประเด็นการเก็บค่าผ่านทาง 20 บาท ทำให้นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จะไปทวงถามกับนายชัชชาติสิทธิพันธ์ ผู้ว่ากทม.ฯในวันพรุ่งนี้ (27มี.ค.)เนื่องจากนายศรีสุวรรณเชื่อว่าโครงการดังกล่าว ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง EIA หรือ ประชาพิจารณ์เพื่อสิ่งแวดล้อม และอาจฝ่าฝืน ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการขออนุญาตก่อสร้างสะพานข้ามคลอง พ.ศ. 2549 หมวด 3

 

 

 

ข้อ 14 “ผู้ขออนุญาตต้องยินยอมยกสะพานที่ก่อสร้างให้เป็นสาธารณประโยชน์ และมีหน้าที่ดูแลและบำรุงรักษา สะพานดังกล่าวให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถใช้งานได้โดยสะดวกด้วย”

 

ซึ่งเมื่อครั้งที่โครงการได้ขออนุญาตสร้างสะพานข้ามคลองพระโขนงได้ยื่นแบบแปลนโฉนด 8 แปลง เพื่อขอสร้างสะพาน โดยจะยกให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์และจะออกค่าใช้จ่ายดูแลค่าบำรุงรักษาสะพานเอง แต่สุดท้ายโครงการกลับมาเก็บเงินค่าผ่านทางครั้งละ 20 บาท ทำให้นายศรีสุวรรณมองว่า กทม. อาจละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนเจ้าของโครงการ ไม่สามารถเก็บเงินค่าผ่านทางเนื่องจากเป็น”ลาภมิควรได้”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แม่ทัพภาคที่ 1" เป็นปธ.พิธีอำลาชีวิตราชการทหาร ขอบคุณที่ทุ่มเท เสียสละ กล้าหาญ ปฏิบัติหน้าที่
“ทนายอนันต์ชัย” ฟาดเดือดลัทธิ “เชื่อมจิต” บิดเบือนไร้ยางอาย
ผู้คนยังแห่เจิมเปิดดวงเศรษฐีและส่องเลขอ่างน้ำมนต์อาศรมฤาษีเณร สาวดวงเฮงถวายเงินทำบุญหนึ่งแสนหลังรับโชคกว่าล้าน
เดินหน้าต่อเนื่อง "ท็อปนิวส์" มอบของบริจาค ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยเมียนมา ส่งตรงถึงมือที่อุ้มผาง แล้ว
เขื่อนแตกในเคนยา น้ำทะลักซัดดับ 45
แมวทรหด เจ้าของหาแทบตาย ที่แท้ติดไปกับพัสดุพันกว่ากิโลฯ
KFC มาเลเซีย ปิดชั่วคราวกว่า 100 สาขา เซ่นบอยคอตอเมริกา
อัยการสั่งฟ้อง "รุ้ง-บี๋" ผิดม.112 เป็นแอดมินเพจ "แนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ" โพสต์หมิ่น ใส่ร้าย สถาบันฯ
"ผู้พิการสายตา" สุดทน แฉสมาคมฯส่อตุกติกโควต้าสลากฯ โอดทุกข์หนักแบกต้นทุน บากหน้าซื้อยี่ปั๊วราคาโหด
นายกโต้ง รับฟังดราม่าเสาไฟฟ้าบังองค์พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ จุดที่มองเห็นองค์พระสวยงามที่สุด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น