logo

Top News คาใจข้อมูลไฟฟ้าไทย ทำไมต้องซ่อนเร้น-ปชช.จวกรัฐปล่อยค่าไฟแพง

Top News คาใจข้อมูลไฟฟ้าไทย ทำไมต้องซ่อนเร้น-ปชช.จวกรัฐปล่อยค่าไฟแพง

กลายเป็นประเด็นในการเดินหน้าตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหาราคาไฟแพง โดยเฉพาะจากการลงพื้นที่สอบถามความเห็นประชาชน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยอมรับว่า ปัจจุบันค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนค่อนข้างสูง และแพงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งที่จำนวนการใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม ทำให้ในแต่ละเดือนมีภาระค่าครองชีพเพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าประมาณ 30% ของรายได้

ส่วนสาเหตุที่ค่าไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้นนั้น หลายคนมองว่า อาจมาจากความต้องการและปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ในแต่ละเดือนที่ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะหากช่วงไหนอากาศร้อนประชาชนจะเปิดเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น จึงมีส่วนทำให้ค่าไฟสูงขึ้นด้วย นอกจากนี้ มองว่า เมื่อมีค่าไฟฟ้าส่วนเกิน หรือ FT ที่การไฟฟ้าเรียกเก็บเพิ่มจึงทำให้ค่าไฟยิ่งแพงขึ้นไปอีก

 

รวมถึงมาจากค่าเอฟที ที่สูงขึ้น และปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าไฟบ้านแพงขึ้น ขณะที่บางราย ที่มีการติดตามข่าวสารได้บอกถึงสาเหตุที่ค่าไฟแพงว่า อาจจะมาจากเรื่องการปล่อยสัมปทาน เช่นเดียวกับธุรกิจปิโตรเลียมที่ให้เอกชนเข้าไปดำเนินการขุดเจาะก๊าซมาขายให้รัฐบาล โดยในส่วนของไฟฟ้ารัฐบาลอาจจะมีการนำเอาสัมปทานไฟฟ้าไปให้เอกชนดูแล จากนั้นภาครัฐก็ไปรับซื้อคืนและนำมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ใช้ไฟ ทำให้ค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันยังมีข้อเสนอไปถึงรัฐบาลว่า ควรเข้ามาดูแลในเรื่องค่าไฟอย่างเร่งด่วน ไม่ให้ค่าไฟปรับเพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งปัจจุบันค่าไฟฟ้าจะอยู่ที่ประมาณ 4-5 บาทต่อหน่วย โดยหากเป็นไปได้ อยากให้ค่าไฟลดลงเหลือเพียง 3 บาทต่อหน่วย ตลอดจนอยากให้รัฐบาลพพิจารณาเรื่องการปล่อยสัมปทานภาคเอกชนจนทำให้ค่าไฟแพง และผลประโยชน์ที่ได้รับไม่ตกกับประเทศชาติ โดย รัฐบาลควรที่จะนำเอาการผลิตไฟฟ้ากลับมาดูแลเองทั้งหมด เพื่อประชาชนจะได้ใช้ไฟฟ้าในอัตราที่ถูกลง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ล่าสุดในรายการ Top Biz Insight ( 20 มี.ค.66 ) ได้แจกแจงข้อมูลอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัย จากการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) โดยมีข้อมูลเมื่อปี 2561-2566 มีราคาต่อหน่วย 4.2218 บาท ส่วนที่มีการปรับ คือ ค่า FT หรือค่าไฟฟ้าผันแปร ที่นำต้นทุนต่างๆมารวมแล้วมาหารเฉลี่ยกัน แต่เมื่อพิจารณาตัวเลขค่าไฟแล้วถึงมีการบวกตัวเลขผันแปรต่าง ๆ มูลค่ายังไม่ถึง 4.72 บาทต่อหน่วย

 

 

ประเด็นสำคัญ เมื่อสื่อพยายามจะหารายละเอียดมาประกอบนำเสนอ แต่ปรากฎว่า ข้อมูลสำคัญต่างๆ เกี่ยวกับของไฟฟ้าในบ้านเราหายากมาก แต่ข้อมูลจากต่างประเทศหาได้ง่ายมาก รวมถึงหน่วยงานในประเทศไทยไม่มีใครตอบได้

“ที่ผ่านมาต่างคนต่างทำงาน แล้วตัวเลขไม่เท่ากัน ทั้งนี้มีโทรศัพท์เข้ามาที่โต๊ะเศรษฐกิจของท็อปนิวส์ บอกว่า ข้อมูลไม่ถูกต้อง ถามว่าไม่ถูกตรงไหน ในเมื่อจริงๆ แล้วข้อมูลทั้งหมดเอามาจากเว็บไซต์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพียงแต่ว่าข้อมูลของแต่ละหน่วยงานวันนี้มันไม่ตรงกัน ตรงนี้ต้องบูรณาการ ท่านนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ท่านบอกวันที่เข้ามารับตำแหน่งว่าจะต้องบูรณาการ แต่ถาม ณ เวลานี้ ถามว่าเรื่องของค่าไฟ ยังบูรณาการกันไม่ได้เลย”

เพราะฉะนั้นการทำงานของหน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งหมดต้องพิจารณาปรับปรุง เพราะว่าข้อมูลเหล่านี้ ควรจะมีการเปิดเผยให้มีการศึกษาแลกเปลี่ยน เพื่อทำให้ผลประโยชน์สูงสุดตกอยู่กับประเทศชาติ โดยไม่รู้ว่าจะปกปิดไปเพื่ออะไร แค่กำลังการผลิตของเอกชนในแต่ละราย

“ถามว่า สัญญาของเอกชนทำไมคุณต้องเลือกเขา ทำไมคุณต้องเลือก 9 บาทกว่า ไม่มีใครตอบได้ นอกจากนี้ ประชาชนยังถามกลับเลยว่า ค่า FT ที่ขึ้นมาจากสาเหตุคืออะไร ถามว่าเขาอธิบายไหม เขาอธิบาย แต่ถ้าอันนี้ประชาชนยังไม่เข้าใจ แสดงว่าคุณอธิบายไม่ถึง และสื่อเอง อย่างท็อปนิวส์ พยายามหาข้อมูลแต่ไม่เจอ”

นอกจากนี้เมื่อกลับไปดูกำลังการผลิตของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) พบข้อมูลช่วงเดือนธันวาคม 2561 – 16 มี.ค. 2566 แสดงตัวเลขค่อนข้างชัดเจน แต่ถามว่ากำลังการผลิตของ กฟผ.ทั้งหมดที่ไปรวมกับภาคเอกชน เอาเข้าจริงๆแล้ว ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน ในแต่ละสัปดาห์ ในแต่ละเดือน ในแต่ละปี

ไม่รู้ว่ามีรายละเอียดอย่างไร ตั้งแต่ข้อมูลผลิตเพื่อการรองรับปริมาณการใช้อย่างละเอียด และ การแจกแจงกำลังไฟฟ้าผลิตสำรองไว้ในอนาคต ว่ามีมากน้อยแค่ไหน แล้วในแต่ละปี ในแต่ละเดือน ในแต่ละสัปดาห์ ในแต่ละวัน หน่วยงานราชการ หรือรัฐบาล จะต้องจ่ายให้เอกชนแบบที่เขาไม่จ่ายไฟเข้าระบบอย่างไร

 

 

“ ข้อมูลของกระทรวงพลังงาน เรื่องการจัดหาไฟฟ้าต่างๆ กำลังการผลิตตามสัญญา รวมไปถึงการผลิตไฟฟ้า การใช้ไฟฟ้าในแต่ละประเภท เมื่อดูตัวเลขกำลังผลิตตามสัญญา 53 ,425 MW* และตัวเลขการผลิตไฟฟ้า 215,824 GWh* “เมกะวัตต์” กับ “กิกะวัตต์” ยังไม่อธิบาย แล้วเมื่อโทรไปถามก็บอกว่ามันเป็นศัพท์ของวิศวกรรมไฟฟ้า ทำไมไม่อธิบายง่ายๆ ว่า กิกะวัตต์ มันเป็นเท่าไหร ยังไง แบบไหน แล้วถ้าจะทอนเป็นเมกะวัตต์ เบ็ดเสร็จ แล้วคือ เรื่องของการผลิตไฟฟ้า ถ้าแปลงจากกิกะวัตต์ชั่วโมง ลงมาเป็นเมกะวัตต์ จะกลายเป็น 215 ล้านกิกะวัตต์ชั่วโมง

 

 

อันนี้จะอธิบายกันยังไง จะอธิบายกันแบบไหน คือตัวเลขรวมๆ เห็นแล้วเอาไปทำอะไรได้ เห็นแล้วกราฟฟิกสวยดี แต่ว่าทำไรไม่ได้เลย เราอยากจะรู้ว่า ณ เวลานี้ รัฐต้องจ่ายเงิน เอาภาษีของเราไปจ่ายให้กับเอกชนมากน้อยแค่ไหน แล้วทำไมต้องจ่าย จ่ายให้ใครบ้าง จ่ายไปเท่าไหร่”

ส่วนเรื่องของการจัดหาไฟฟ้า ไม่ว่าจะมาจากโรงไฟฟ้าจากกฟผ.เอง มาจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ เอกชนรายเล็ก หรือว่าการรับซื้อไฟฟ้า สรุปก็คือ รัฐผลิตโดย EGAT หรือว่า กฟผ. เพียงแค่ 32 % นอกจากนั้น IPP 31 % , SPP 17 % , Import 12 % , VSPP 8 % ก็คือซื้อทั้งหมด และเมื่อถามกลับไปว่า EGAT หรือว่ากฟผ. ไม่มีความสามารถในการผลิตหรืออย่างไร คำตอบคือ ไม่ใช่ เพราะเรื่องนี้จะต้องถาม กกพ. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน)

 

ส่วนการใช้ไฟฟ้า เป็นข้อมูลเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ยังไม่รวมข้อมูลของผู้ผลิตไฟฟ้าที่ใช้เอง ภาคครัวเรือน ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม องค์กรไม่แสวงหากำไร เกษตรกรรม การใช้ไฟฟ้าชั่วคราว และไฟที่ยังไม่มีการคิดมูลค่า

 

 

ส่วนไฟฟ้าที่ประชาชนใช้มาจากไหน แสดงข้อมูลย้ำอีกครั้งว่า มาจากโรงไฟฟ้า กฟผ. เพียง 34.43 % ที่เหลือมาจาก IPP ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ 34.08 % , SPP ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก 18.80 % และรับซื้อจากต่างประเทศ 12.69 %

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ทั่วไทยเจอฝนฟ้าคะนอง 17 จว.อ่วม ฝนถล่ม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน กทม.ก็โดนด้วย
เพจกล้าที่จะก้าว นำเหยื่อ “แชร์ลูกโซ่ธุรกิจออมทอง” เข้าร้องเรียน ดีเอสไอ ภาค 1 หลังโดนโกงสูญเงินนับร้อยล้าน
"บิ๊กอุ้ม" ลุยบุรีรัมย์กับ "กสศ." แก้ปัญหาเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา มอบ "สกร." ตามเด็กถึงบ้าน ตั้งเป้าเทอม 2/2567 "บุรีรัมย์เด็กดร็อปเอาต์เป็นศูนย์"
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ชื่อนี้มีที่มา ลุ้นเป็น "มรดกโลก" แห่งที่ 8 ของประเทศไทย
สถานทูตฯ เตือนคนไทยในฝรั่งเศส ระวังตัว หลังเกิดเหตุวินาศกรรมเผาเส้นทางรถไฟ
จนท.เฝ้าระวัง "น้ำป่า" ไหลหลากผ่ากลางโรงเรียน หวั่นอาคารถล่ม วิกฤติซ้ำซ้อน เด็กนร. โดนไฟช็อต เร่งหามส่งรพ.ด่วน
"อ.อ๊อด" ค้านใช้ไซยาไนด์กำจัด "ปลาหมอคางดำ" หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ 5 รูป วัดโพธิ์
สุดเศร้า "เบนซ์ ธนธิป" อดีตนักแสดง เสียชีวิตแล้ว หลังตกเตียงผู้ป่วย
"สหกรณ์ฯพรหมคีรี" เตรียมรับมือมังคุดทะลัก มั่นใจราคาไม่ตกเหตุสมาชิกทำมังคุดคุณภาพ

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น