logo

ค่าไฟแพงเกินจริง TOP NEWS ป้องผลประโยชน์แผ่นดิน เดินหน้าสอบต้นเหตุ

กำลังเป็นประเด็นร้อน พร้อม ๆ กับการทำหน้าที่ของ Top News ในการตรวจสอบข้อเท็จจริง ข้อร้องเรียนเรื่องราคาไฟฟ้าของประเทศไทยมีราคาสูงเกินจริง เพราะนโยบายภาครัฐ ว่าด้วยการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามีบทบาท ในฐานะผู้ผลิตและจัดจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า จนกลายเป็นการเปิดช่องโหว่ให้กลุ่มทุนสามารถเข้ามาผูกขาด แสวงหาผลประโยชน์จากการจำหน่ายไฟฟ้า ให้กับองค์กรรัฐอย่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ.

 

 

ทั้งนี้จุดเริ่มต้นที่ทำให้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องราคาไฟฟ้ามีอัตราสูง ไม่ใช่แค่ข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม และ ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น แต่กรณีนี้ทางกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ก็ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาล และผู้เกี่ยวข้อง หยุดยั้งกระบวนการสนับสนุนให้กลุ่มทุนเอกชน เพิ่มอำนาจการต่อรองเรื่องค่าไฟฟ้า ในลักษณะผูกขาดพลังงานของประเทศ

 

โดยเมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา ตัวแทนกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) จำนวน 80 คน นำโดย นางณิชารีย์ กิตตะคุปต์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้เข้ายื่นหนังสือถึง พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เรียกร้องขอให้ยุตินโยบายตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ครั้งที่ 2/2566 (ครั้งที่ 58)โดยมี นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ เป็นผู้แทนฯ รับเรื่องไว้ เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

พร้อมระบุว่า สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ไม่เห็นด้วยกับมติเห็นชอบแนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐ ที่ฝ่ายบริหาร กฟผ. จะดำเนินการแยกศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้าออกจาก กฟผ. ด้วยเหตุผล ดังนี้

1. แนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐทั้ง 3 ข้อ มีเป้าหมายต้องการให้ กฟผ.บริหารแบบเอกชนหรือเป็นการแปรรูปทางอ้อม โดยทำให้ กฟผ. เป็นเอกชนโดยปริยาย ส่งผลทำให้บทบาทหน้าที่ของ กฟผ. จะเปลี่ยนไป ความมุ่งหมายขององค์กรก็เปลี่ยนไป จากทำเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน เป็นการมุ่งกำไร เช่นเดียวกับเอกชนซึ่งขัดต่อ พรบ.กฟผ. พ.ศ. 2511 มาตรา 41 ในการดำเนินกิจการของ กฟผ. ให้คำนึงถึงประโยชน์ของรัฐและประชาชน

2. ศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้ามีบทบาทหน้าที่ มีอำนาจควบคุมด้านความมั่นคงและความเป็นธรรมของระบบไฟฟ้าของประเทศ เป็นการควบคุมที่มีผลประโยชน์ ปัจจุบันรัฐมีนโยบายเอื้อประโยชน์เอกชน องค์กรนิติบุคคลใหม่ถึงแม้ว่าจะเป็นองค์กรของรัฐก็ย่อมให้ประโยชน์แก่เอกชน ในกิจการไฟฟ้าเมื่อเอื้อต่อเอกชนมากเกินไปย่อมเป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจอย่างเป็นไปเอง อันเป็นการทำลายผลประโยชน์ของชาติและประชาชน

3. ตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน ในมาตรา 8(5) รัฐ หมายถึง 3 การไฟฟ้าเท่านั้น ( กฟผ.,กฟภ,และ
กฟน.) ไม่มีองค์กรอื่น และแต่ละองค์กรก็ประกอบกิจการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. ซึ่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นผู้ประกอบกิจการระบบส่งไฟฟ้า โดยที่ระบบส่งไฟฟ้าครอบคลุมไปถึงศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า ตาม พ.ร.บ. ประกอบกิจการพลังงาน ความพยายามในการแยกศูนย์ควบคุม ฯ จึงเป็นเรื่องผิดปกติ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นอกจากนี้ สร.กฟผ. ยังไม่เห็นด้วยกับมติที่เห็นชอบให้ยกเลิกการใช้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง(Reseve Margin) และให้เปลี่ยนมาใช้ดัชนีโอกาสเกิดไฟฟ้าดับ (Loss of Load Expectation : LOLE ) เป็นเกณฑ์วัดความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพราะว่าเป็นการบิดเบือนหลอกลวงประชาชน หลบเลี่ยงคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ

ประเด็นสำคัญ คือ จากแนวนโยบายในการกำกับดูแลการผลิตไฟฟ้าโดยภาครัฐดังกล่าว ยังเท่ากับเป็นการทำลายรัฐวิสาหกิจ และเป็น
ทำลายความสมดุลย์ระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เพราะระบบเศรษฐกิจเสรีนิยม มิใช่มีแต่เอกชนอย่างเดียว แต่ต้องมีภาครัฐด้วย ต้องมีความสมดุลย์ จึงจะพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชาติได้ เมื่อรัฐพยายามทำลายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นภาครัฐ ก็เป็นการทำลายระบบเศษฐกิจ ท้ายที่สุดจะมาซึ่งการขูดรีดประชาชนด้วยการค้ากำไรเกินควรของภาคเอกชน จึงขอให้ยุตินโยบายตามแนวนโยบายดังกล่าว

แน่นอนว่าแนวทางการต่อสู้ เรียกร้องความถูกต้องของกลุ่มสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ชัดเจนในหลักการต่อต้านเข้าแทรกแซงของกลุ่มการเมือง และ กลุ่มทุนเอกชน ที่ต้องการแปรสภาพการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯไปเป็นบริษัทเอกชน เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับรัฐวิสาหกิจหลายแห่งในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ซึ่งปัจจุบันได้ผลกระทบอย่างรุนแรง ทั้งในแง่การบริหารองค์กรเพื่อดูแลสวัสดิการประชาชน และ การล่มสลายของรัฐวิสหกิจ เพราะนโยบายการสัมปทานภาครัฐ ทำให้บริษัทเอกชนบางแห่ง สามารถเข้าไปยึดครองทรัพย์สินแผ่นดินได้อย่างเบ็ดเสร็จ พร้อม ๆ กับการเติบโตทางธุรกิจมูลค่าหลายแสนล้านบาทในช่วงเวลาเพียงไม่กี่ปี

ขณะที่ TOP NEWS ตรวจสอบเพิ่มเติมจากประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องค่าไฟฟ้าแพงเกินจริง พบว่ามี 2 ปัจจัยหลักเกี่ยวข้อง คือ 1.เป็นเพราะนโยบายของรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2535 หรือ ยุคสมัย นายอานันท์ ปันยารชุน ในการเปิดโอกาสให้เอกชน สามารถตั้งโรงไฟฟ้าเพื่อผลิตไฟฟ้าขายให้ กฟผ.ได้ ทำให้มีเอกชนลงทุนสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นผู้ควบคุมตลาดพลังงานไฟฟ้า แทนรัฐวิสาหกิจหลัก อย่างกฟผ.

และ 2.เนื่องจากปริมาณไฟฟ้าในประเทศมีการผลิตเกินกว่าความต้องการ และ ภาระค่าใช้จ่ายจากการสำรองไฟฟ้าดังกล่าว ถูกระบุว่าจะมีการนำไปแปลงออกมาเป็นค่า Ft และ บวกรวมเข้าในบิลแจ้งยอดหนี้ค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน

 

โดยในช่วงเดือนมกราคม 2566 พบว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งต่าง ๆ ประกอบด้วย

1. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) มีกำลังการผลิต จำนวน 16,920.32 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็นร้อยละ 34.43

2.ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ มีกำลังการผลิต 16,748.50 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็นร้อยละ 34.08

3.ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็ก มีกำลังการผลิต 9,241.08 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็นร้อยละ 18.80

4.ผู้ผลิตนอกประเทศ มีกำลังการผลิต 6,234.90 เมกะวัตต์ หรีอ คิดเป็นร้อยละ 12.69

รวมกำลังการผลิตทั้งระบบ 49,144.80 เมกะวัตต์

 

 

 

 

 

ขณะที่จากค่าสถิติพบว่า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ในช่วงกลางเดือนมกราคม 2566 มีค่าเท่ากับ 25,895.60 เมกะวัตต์ ลดลงจากเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา 1,229.10 เมกะวัตต์ หรือ คิดเป็นสัดส่วนลดลงร้อยละ 4.53 และ ตลอดทั้งปี 2565 ค่าเฉลี่ยปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของไทย อยู่ที่ระดับ 33,177 เมกะวัตต์ น้อยกว่ากำลังการผลิตคิดเป็นตัวเลข 1-2 หมื่นเมกะวัตต์ หรือ เท่ากับประะเทศไทยมีกำลังการผลิตสำรองไฟฟ้าสูงกว่า 50% ขณะที่กำลังผลิตสำรองของระบบผลิตไฟฟ้า (Standby Reserve) ตามมาตรฐานสากลจะอยู่ที่ประมาณ 15 % เท่านั้น

 

 

อย่างไรก็ตามถึงแม้จะมีข้ออ้างว่า ปริมาณการซื้อไฟฟ้าจากเอกชน เป็นไปตามสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าในประเทศ และหลักการสำรองไฟฟ้าเพื่อความมั่นคง แต่เลี่ยงไม่พ้นทุกหน่วยงานเกี่ยวข้อง ทั้ง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) , คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ต้องมีคำตอบให้สาธารณชนเช่นกันว่า การสำรองไฟฟ้าของประเทศต้องมีสัดส่วนในระดับสูงเกินไปหรือไม่ และ แผนสำรองไฟฟ้าโดยการรับซื้อไฟฟ้า จากกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ อย่าง “บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์” หรือ Gulf เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ชาติหรือใครกันแน่ ?

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

29 กรกฎาคม "วันภาษาไทย" วันภาษาไทยแห่งชาติ มีความสำคัญอย่างไร เรื่องที่ควรรู้
รวบผัวเมียแก๊งคอลเซ็นเตอร์ รวบคาสถานีรถไฟ ลวงเหยื่อลงทุนซื้อขายสกุลเงินดอลล่าร์ 
อ่วมหนัก "พายุถล่ม จ.ตราด" คลื่นซัดเรือล่มหลายลำ ในท่าเทียบบ้านคลองมะขาม
"ดร.สามารถ" ถามตรงๆ รัฐอุ้มเอกชน ขยายสัมปทาน "ด่วนโทลเวย์" 2 ครั้ง 20 ปี ยังไม่พออีกเหรอ แนะมีวิธีแก้ปัญหาอื่นดีกว่า
ระวังพลาดสิทธิ “คารม” แนะ 5 ช่องทาง ยืนยันตัวตนแอปฯ “ทางรัฐ” สะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา
รับมือหน้าฝน "กรมชลฯ" ยันอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ รับน้ำได้อีกมาก
"ตร.น้ำ-ประมงพื้นบ้าน" ล่า "ปลาหมอคางดำ" หลังพบอยู่ในสระน้ำกลางวัดสว่างอารมณ์
"กรมเจ้าท่าฯ" จัดล่องเรือฟรี รับส่งปชช.ร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ "ในหลวง"
"นิด้าโพล" เปิดผลสำรวจ ปชช. เผย "ทักษิณ - เนวิน - ธนาธร" ผู้มีบารมีนอกพรรคการเมือง
เช็กเลย "ขสมก." จัดรถเมล์ฟรี 5 เส้นทาง ชมเห่เรือพระราชพิธี-จุดเทียนถวายพระพร "ในหลวง"

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น