“ตัวตนออนไลน์” 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ

ตัวตนออนไลน์

เช็คด่วน 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย "ตัวตนออนไลน์" ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ โดนคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ แฮกเกอร์ขโมยข้อมูล

TOP News ห่วงใย “ตัวตนออนไลน์” นำ 7 ข้อ เพิ่มความปลอดภัย จาก กสท โทรคมนาคม เพื่อไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ โดนคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม รวมถึงถูกแฮกเกอร์ขโมยข้อมูล

ข่าวที่น่าสนใจ

เพิ่มความปลอดภัย “ตัวตนออนไลน์” ไม่ให้หลุดเป็นสาธารณะ ดังนี้

ตั้งรหัสผ่านที่เดายาก ไม่ใช้ซ้ำ และหมั่นเปลี่ยนอยู่เสมอ

  • รหัสควรมีความยาวอย่างน้อย 12 – 14 ตัวอักษร ประกอบไปด้วย ตัวอักษรใหญ่ ตัวอักษรเล็ก ตัวเลข และไม่ควรใช้ซ้ำกับ Online Account อื่น ๆ ที่สำคัญควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำทุก 3 – 6 เดือน เพื่อป้องกันกรณีที่มีการรั่วไหลของข้อมูลโดยที่เราไม่รู้ตัว

หมั่น Update ระบบปฏิบัติการบนอุปกรณ์

  • การที่เราหมั่น Update แพทช์ ก็จะช่วยปิดช่องโหว่ที่แฮกเกอร์สามารถเข้ามายังระบบได้ และ เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ ที่ช่วยให้มีความปลอดภัยระบบมากขึ้น หรือหากระบบปฏิบัติการผิดพลาดจนไม่สามารถใช้งานได้ เราจะได้แก้ไขอย่างทันท่วงที

หลีกเลี่ยงการใช้ Wi-Fi สาธารณะ

  • ทางที่ดีควรใช้อินเทอร์เน็ตเครือข่ายมือถือของตัวเอง หากไม่มีทางเลือกควรใช้ VPN (Virtual Private Networks) ด้วย เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมออนไลน์ทั้งหมดจะปลอดภัยตั้งแต่ ธนาคารออนไลน์ไปจนถึงข้อความส่วนตัว

อย่าแชร์ทุกอย่างที่คิด ก่อนแชร์ให้คิดก่อนเสมอ

  • การแชร์ข้อมูลส่วนตัวทั้งหมดแบบสาธารณะ แชร์ Location ที่อยู่อาศัยของตัวเอง ฯลฯ อาจเป็นการแบ่งปันข้อมูลให้กับแฮกเกอร์ หรือ คนแปลกหน้าก็ได้ ทางทีดีควรคิดก่อนแชร์เสมอ เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง

จดบันทึกประวัติการใช้งานทางการเงิน

  • การจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงแม้จะเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น เพื่อป้องกันยอดเงินแปลก ๆ ที่หักเงินในบัตรเครดิตเราแบบที่ไม่รู้ตัว และที่สำคัญไม่ควรผูกเลขบัตรเครดิต เลขบัญชีธนาคารลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือ เว็บไซต์ Social ต่าง ๆ เพราะหากโดนแฮกบัญชี สิ่งพวกนี้คือเป้าหมายแรกของแฮกเกอร์ในการขโมยข้อมูล

ตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเสมอ

  • เพื่อป้องกันการติดตามต่าง ๆ และป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลบนโลก Social (ข้อมูลส่วนตัวที่คุณโชว์ไว้บน Profile Digital ต่าง ๆ) ของเราเพื่อรักษาตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดตามออนไลน์ที่ถูกคุกคามโดยโฆษณาออนไลน์ต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม

ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในทุกอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อออนไลน์

  • ถ้าคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ชิ้นนั้น สามารถออกสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ ต้องป้องกันทั้งหมด เพราะทุกการเชื่อมต่อมีภัยแฝงเสมอ การเลือกระบบรักษาความปลอดภัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ

Anti-Fake News Center Thailand

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

รวบ 27 ชาวบังคลาเทศ ย่องเงียบ เข้าไทย อ้างจะไปมาเลเซีย เสียค่าหัวคนละกว่า 14,000 บาท
สลด ! ปิดเทอม เด็กชาย-หญิง ลงเล่นฝายน้ำล้น จมดับ 2 ราย
"หมอเหรียญฯ" ซัดตรงสปสช.ค้างหนี้กว่า 20 ล้าน แจ้งเงื่อนไขต้องเร่งแก้ปัญหา ขีดเส้นตาย 1 พ.ย. หยุดให้บริการผู้ป่วยบัตรทองประเภทส่งต่อ
“สธ.” เผยเหตุถังบรรจุเคมีระเบิด ดับ 2 ราย คัดแยกอาการคนงานหน้ารง. พร้อมจัดทีมดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อม
กต.อัปเดต หลังอิหร่านถูกโจมตี ยังไม่มีคนไทยถูกกระทบ เตือนติดตามใกล้ชิด
"ผบ.ทร." ตรวจขั้นตอนการปฏิบัติ - ความพร้อม เส้นทางเสด็จพระราชดำเนิน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
DSI ฝากขัง “นัตตี้ ยูทูปเบอร์ดังหลอกเทรด Forex” พร้อมแม่แล้ว โดนหลายข้อหาหนัก-ค้านการประกันตัว
“บอสพอล” สั่งทนายเตรียมดำเนินคดี 4 กลุ่ม เผยมีแม่ข่ายออกรายการดังด้วย
"ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ" จ่อคาดโทษอัจฉริยะ แอบเข้าไปนั่งฟังการสอบสวน “โค้ชแล็ป”
"อองตวน-ภรรยา" ตั้งโต๊ะแถลง ยันไม่เคยเกี่ยวข้องเว็บพนันฯ เผยถูกมิจฉาชีพแอบอ้างแปะลิ้งค์บนเว็บ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น