No data was found

“ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์” ทำบุญเปิด “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” พร้อมเปิดให้บริการประชาชน 9 ม.ค. 66

กดติดตาม TOP NEWS

"ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์" จัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และถวายเป็นพระกุศลแด่ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พร้อมทำบุญขึ้นอาคารแห่งใหม่ “ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” พร้อมเปิดให้บริการประชาชน 9 ม.ค.ปี 66

ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลถวายแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และถวายเป็นพระกุศลแด่ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และองค์ประธานผู้ทรงก่อตั้ง “โรงพยาบาลจุฬาภรณ์” พร้อมถือโอกาสนี้ทำบุญขึ้นอาคารแห่งใหม่โครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ศูนย์การแพทย์ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่ง เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของ “สมเด็จพระภัทรมหาราช” พระราชสมัญญานามในหลวงรัชกาลที่ 9 ตาม พระราชปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนคนไทยในทุกถิ่นฐานมีสุขภาพที่ดีและคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และ วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม2565 ณ โถงชั้น 1 อาคารศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

 

 

โดยมีศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และ อธิการบดีวิทยาลัย วิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ (ววจ.) คณะผู้บริหาร แพทย์ พยาบาล บุคลากร คณาจารย์ และนักศึกษาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เข้าร่วมพิธีทำบุญกันอย่างพร้อมเพรียง เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นสร้างความเป็นสิริมงคลในโอกาสที่จะย้ายสถานที่เข้าไปเตรียมเปิดให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ซึ่งจะเริ่มเปิดให้บริการที่อาคารศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ในวันที่ 9 มกราคม 2566 นี้

รวมทั้งการย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอนของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ไปยังอาคารแห่งใหม่ในปี 2566 นี้ด้วย

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“ศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์” จัดตั้งขึ้นจากพระปณิธานใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ที่ทรงมีดำริให้พัฒนาต่อยอดขยายบริการของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ให้ครอบคลุมการรักษาทุกโรค นอกเหนือจากโรคมะเร็ง เพื่อเป็นที่พึ่งให้กับชนชั้นกลางจนถึงผู้ยากไร้ให้ได้รับการรักษาอย่างดีเยี่ยม และเพื่อเฉลิมพระเกียรติ 90 ปี พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระราชทานนามศูนย์การแพทย์แห่งนี้ว่า “ภัทรมหาราชานุสรณ์” อันมีความหมายว่า ที่ระลึกถึงพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งเพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตามพระราชปณิธานที่ทรงมุ่งหวังให้ประชาชนคนไทยในทุกถิ่นฐานมีสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ได้มาตรฐาน

 

 

โดยโครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ราชการบนถนนแจ้งวัฒนะ ซอย5 เขตหลักสี่ มีพื้นที่ใช้สอยรวม265,263 ตารางเมตร ประกอบด้วย อาคารโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ส่วนต่อขยาย ขนาด 400 เตียง สูง 12 ชั้น เป็นสถาบันการแพทย์ระดับตติยภูมิขนาดใหญ่ มุ่งบูรณาการศูนย์การรักษาเฉพาะทาง เพื่อการตรวจวินิจฉัยและรักษาด้วยวิทยาการแพทย์ขั้นสูงอย่างครบวงจร เป็นที่พึ่งให้แก่ผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพได้ครอบคลุมทุกโรคด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยและนวัตกรรมบริการสุขภาพที่ยกระดับการรักษาผู้ป่วยด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี พร้อมด้วยอาคารวิทยาลัยแพทยศาสตร์ศรีสวางควัฒน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สูง 12 ชั้น มีหอจดหมายเหตุและพิพิธภัณฑ์ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ชั้น 1 ของอาคารวิทยาลัยฯ และอาคารหอพักราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ สูง 18 ชั้น ทั้งนี้ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าและศูนย์การเรียนการสอนที่จะสร้างบัณฑิตทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่พร้อมบริการสังคมด้วยความรู้ความชำนาญ และเป็นเลิศในวิชาชีพเพื่อทุกชีวิตในสังคม

 

 

 

ภายในพื้นที่โครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ยังกำหนดให้มีสถานที่ประดิษฐานของหอพระพุทธสิรินาคเภษัชยคุรุจุฬาภรณ์ พระพุทธรูปประจำโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นการเทิดพระนามและแสดงความระลึกถึงพระเกียรติคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่เปรียบมิได้ อีกทั้ง เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ สร้างขวัญกำลังใจให้แก่นักศึกษา บุคลากรของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้รับบริการโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ และประชาชนทั่วไปสืบไป

 

ทั้งนี้การออกแบบและก่อสร้างอาคารในโครงการศูนย์การแพทย์ภัทรมหาราชานุสรณ์ ยังให้ความสำคัญกับการจัดสร้างอาคารให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่มาตรฐานตามเกณฑ์การรับรอง LEED เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสุขภาพมนุษย์และอนามัยสิ่งแวดล้อม อาทิ การออกแบบที่มุ่งเน้นการประหยัดพลังงาน การเลือกใช้วัสดุปลอดสารพิษเพื่อลดมลพิษทางอากาศและสารที่อาจทำให้ก่อโรคในร่างกาย ระบบจัดการคุณภาพอากาศภายในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ มีพื้นที่สีเขียวและพื้นที่เปิดโล่งเชิงนิเวศเพื่อส่งเสริมกิจกรรมสำหรับผู้ใช้อาคาร ผู้ป่วย นักศึกษา และบุคลากร มีที่จอดรถประสิทธิภาพสูง เพื่อส่งเสริมการเลือกใช้รถประหยัดเชื้อเพลิงหรือพลังงานทางเลือก เป็นต้น เตรียมพร้อมเปิดให้บริการในวันที่ 9 มกราคม 2566 นี้ โดยมีศูนย์การรักษาที่เริ่มเปิดให้บริการในระยะแรก อาทิ หัวใจและหลอดเลือด ออร์โธปิดิกส์ เวชศาสตร์ฟื้นฟู ภาพวินิจฉัยและร่วมรักษา อายุรกรรม ตรวจสุขภาพ อุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ผิวหนังและเลเซอร์ เป็นต้น

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฉะเชิงเทราระทึก ชาวบ้านแตกตื่น "ลูกเสือโคร่ง" โผล่กลางชุมชน รีบแจ้งกู้ภัยเร่งล้อมจับ
“ทักษิณ” หรอยแรงแกงใต้ เชิญ “อนุทิน-ธรรมนัส” นั่งร่วมโต๊ะ ที่ร้าน “เต้น ณัฐวุฒิ”
“แม่เณร” เปิดใจ หลังคลิปกอดลูก กลายเป็นไวรัล ยอดวิว 2.3 ล้าน เล่าชีวิตไปทำงานไต้หวันไม่ได้กลับบ้านนาน
รวบตัวแล้ว ชายเมียนมาวัย 49 ปี คว้ามีดปาดคอภรรยา ต่อหน้าลูก เตรียมขึ้นรถทัวร์หนีไปแม่สอด
กกต. ประกาศระเบียบเลือกตั้ง สว. ฉบับที่สอง ผ่อนคลาย ผู้สมัคร หาเสียงแนะนำตัว ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ ไม่จำกัดเฉพาะผู้สมัคร
สภาพอากาศวันนี้ เหนือ-อีสาน ร้อนจัด อุตุฯเตือน 50 จว. รับมือฝนถล่ม กทม.ก็ไม่รอด
วงจรปิดสามารถจับภาพนาทีกระบะพุ่งชนกระบะกระเด็น
"บิ๊กโอ๋" เป็นผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติเข้าประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติศุลกากร
รถพ่วง 18 ล้อ จะเลี้ยวเข้าปั๊มน้ำมัน เบียดเหยียบคนขี่จยย.ที่ตีคู่มาบาดเจ็บสาหัส
ระยอง ชวนเที่ยวงานเทศกาลผลไม้และของดีจังหวัดระยอง ประจำปี 2567

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น