อย่างไรก็ตามหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความเห็นว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญปลดล็อกท้องถิ่นของคณะก้าวหน้า เป็นข้อเสนอหรือแนวคิดสุดโต่ง ปฏิบัติได้ยาก เพราะเพิ่มอำนาจให้ท้องถิ่นแบบเต็มที่ และผู้บริหารท้องถิ่นต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด โดยพลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช ส.ว.และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ได้ชี้ว่าเนื้อหาของร่างแก้รัฐธรรมญูฉบับนี้ มีแนวคิดสุดโต่งอยู่ 2 ประเด็นคือ 1เรื่องบประมาณ ที่นายธนาธรกับพวกเขียนให้จัดสรรงบให้แก่ท้องถิ่น 50% จากรายได้สุทธิของรัฐ เท่ากับว่างบประมาณประจำปีที่มี 2.5 ล้านล้านบาท ต้องจัดสรรให้ท้องถิ่นถึง 1.25 ล้านล้านบาท จากปัจจุบันที่ท้องถิ่นได้รับงบประมาณ 29% หรือ 7 แสนล้านบาท ดังนั้นการเพิ่มงบประมาณอีกเท่าตัว จำเป็นต้องตัดเงินส่วนราชการ หรือต้องยุบราชการส่วนต่างๆ เพื่อนำงบประมาณให้กับท้องถิ่น ประเด็นที่ 2 การกำหนดให้ภายใน 2 ปี ต้องทำแผนยุบราชการภูมิภาคทั้งหมด และนำไปทำประชามติภายใน5ปี นับแต่วันที่รัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขบังคับใช้ หากประชาชนเห็นด้วย จะทำให้เกิดการยุบราชการส่วนภูมิภาค ทั้ง สาธารณสุข คมนาคม พลังงาน ยกเว้นความมั่นคง ความปลอดภัย งานต่างประเทศ จึงเป็นการเขียนเนื้อหาสุดกู่เกินกว่าจะทำได้
นอกจากปัญหาเรื่องการปฏิบัติแล้ว การเสนอปลดล็อกท้องถิ่นครั้งนี้ของคณะก้าวหน้า ยังถูกตั้งข้อสงสัยว่า คณะก้าวหน้ากับพวกมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝงอยู่หรือไม่ ที่สำคัญยังกังวลว่าหากคณะก้าวหน้าทำสำเร็จ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการแบ่งแยกดินแดน ทำให้การแทรกแซงและปลุกปั่นสร้างความแตกแยกในระดับท้องถิ่นง่ายขึ้น ไปจนถึงการเคลื่อนไหวเพื่อปลูกฝังแนวคิดล้มล้างสถาบันหรือไม่ ซึ่งข้อกังวลของสังคมในประเด็นนี้ ก็ล้วนมาจากพฤติกรรมที่ผ่านๆมาของคณะก้าวหน้ารวมถึงเครือข่ายทั้งสิ้น เช่น