logo

ก่อนสอด “บัตร ATM” กด Cancel 2 ครั้งป้องกันมิจฉาชีพจริงหรือ

บัตร ATM

ก่อนสอด "บัตร ATM" โซเชียลแห่เตือนภัยให้กด Cancel 2 ครั้ง เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ

“บัตร ATM” บัตรเอทีเอ็มเตือนภัย 2565 มิจฉาชีพ ธนาคาร มิจฉาชีพได้ข้อมูลส่วนตัว แฮก บัตรเอทีเอ็ม หยุดส่งต่อความเชื่อผิด ๆ หลังชาวเน็ตแห่แชร์ข้อมูลว่า กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มจะได้ป้องกันมิจฉาชีพ งานนี้ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ยืนยันเป็นข้อมูลเท็จ การกด Cancel ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาปลอดภัยแต่อย่างใด ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดยทางด้านเพจเฟซบุ๊ก Anti-Fake News Center Thailand ของ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย ได้ระบุข้อความว่า ตามที่มีข้อความเผยแพร่ในประเด็นเรื่องกด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตร ATM เพื่อป้องกันมิจฉาชีพ ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

 

กรณีเตือนภัยเรื่องการเงินโดยระบุแนะนำว่าให้กด Cancel 2 ครั้ง ก่อนสอดบัตรเอทีเอ็มเพื่อป้องกันการสกิมเมอร์ของมิจฉาชีพ ทางธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง ได้ชี้แจงประเด็นนี้ว่าข้อมูลดังกล่าวมีการเผยแพร่มาก่อนหน้านี้หลายปีและถูกนำมาเผยแพร่ซ้ำเพื่อสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนอีกครั้ง

 

 

บัตร ATM

 

 

โดยจากการตรวจสอบกับธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หลายแห่ง พบว่าไม่เป็นความจริง การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของกระบวนการทำงานบนระบบเอทีเอ็มแต่อย่างใด 

 

เนื่องจากสกิมเมอร์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากบัตรอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ จากภายนอก มีกระบวนการหลัก ๆ 2 อย่าง คือ ดักข้อมูลบัตรเอทีเอ็ม และดักรหัสบัตร โดยการทำปุ่มกดปลอม และเครื่องอ่านบัตรปลอมขึ้นมา แล้วนำไปประกบทับกับอุปกรณ์ของจริงบนตู้เอทีเอ็ม โดยเครื่องอ่านบัตรปลอมจะอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กบนตัวบัตร แล้วคัดลอกข้อมูลลงในหน่วยความจำ

 

 

บัตร ATM

 

 

 

และเมื่อผู้ถือบัตรเอทีเอ็ม ใช้เครื่องกดเงินที่มีการติดตั้งสกิมเมอร์ เพื่อทำรายการถอนเงิน ข้อมูลของบัตรนั้นจะถูกบันทึกไว้ และถูกส่งต่อไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ของมิจฉาชีพทันที ทำให้มิจฉาชีพสามารถนำข้อมูลที่ขโมยได้ไปใช้ทำเอทีเอ็มปลอม เพื่อทำรายการถอนเงิน โดยวิธีป้องกันมิจฉาชีพที่ได้ผลคือ หมั่นสังเกตบริเวณช่องสอดบัตร และแป้นกดตัวเลขว่ามีอะไรแปลกปลอมมาครอบทับหรือไม่ หากมีสิ่งผิดปกติไปจากเดิมควรหลีกเลี่ยงและแจ้งหน่วยงานธนาคารนั้น ๆ

 

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลัง สามารถติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.bot.or.th หรือโทร. 1213

 

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : การกด Cancel 2 ครั้งก่อนสอดบัตร ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ กระบวนการทำงานบนระบบ ATM แต่อย่างใด

 

 

บัตร ATM

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : Anti-Fake News Center Thailand

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"บิ๊กอุ้ม" ลุยบุรีรัมย์กับ "กสศ." แก้ปัญหาเด็กหลุดนอกระบบการศึกษา มอบ "สกร." ตามเด็กถึงบ้าน ตั้งเป้าเทอม 2/2567 "บุรีรัมย์เด็กดร็อปเอาต์เป็นศูนย์"
"อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท" ชื่อนี้มีที่มา ลุ้นเป็น "มรดกโลก" แห่งที่ 8 ของประเทศไทย
สถานทูตฯ เตือนคนไทยในฝรั่งเศส ระวังตัว หลังเกิดเหตุวินาศกรรมเผาเส้นทางรถไฟ
จนท.เฝ้าระวัง "น้ำป่า" ไหลหลากผ่ากลางโรงเรียน หวั่นอาคารถล่ม วิกฤติซ้ำซ้อน เด็กนร. โดนไฟช็อต เร่งหามส่งรพ.ด่วน
"อ.อ๊อด" ค้านใช้ไซยาไนด์กำจัด "ปลาหมอคางดำ" หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อม
โปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ พระราชาคณะ 5 รูป วัดโพธิ์
สุดเศร้า "เบนซ์ ธนธิป" อดีตนักแสดง เสียชีวิตแล้ว หลังตกเตียงผู้ป่วย
"สหกรณ์ฯพรหมคีรี" เตรียมรับมือมังคุดทะลัก มั่นใจราคาไม่ตกเหตุสมาชิกทำมังคุดคุณภาพ
"กรมที่ดิน" ผนึกกำลัง 7 หน่วยงาน เร่งออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง แก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
"พิพิธภัณฑ์บัญชา" เปิดให้ชมภาพ "พระราชกรณียกิจ" ของ "ในหลวง" ที่หาชมยาก กว่า 500 ภาพ

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น