“คีโต” Low-carb อาจต่อต้านไวรัสโควิด-19 ได้ ช่วยให้หายไวขึ้น

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

"คีโต" วิจัยพบหนูทดลองต้านการติดเชื้อได้ดีกว่า คาด BHB อาจมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัส Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้น

“คีโต” กลายเป็นประเด็นที่น่าสนใจว่าอาจช่วยต้านการติดเชื้อ โควิด-19 ส่วน Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้น TOP News เกาะติดสถานการณ์ COVID-19 ล่าสุด ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์ถึงกรณีดังกล่าว

ข่าวที่น่าสนใจ

 

ดร.อนันต์ ระบุว่า เวลาติดโควิดแล้ว หลายคนมีอาการเบื่ออาหาร ทานอะไรไม่ลง จริง ๆ แล้วสภาวะนี้เป็นการตอบสนองต่อการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งอาจเป็นผลดีต่อร่างกาย การศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา จากทีมวิจัยในเยอรมนี พบว่า ช่วงที่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อด้วยอาการเบื่ออาหาร เป็นการเปลี่ยนระบบการใช้พลังงานของร่างกาย จากการใช้น้ำตาลเพื่อสร้างพลังงาน เป็นการใช้แหล่งพลังงานสำรองที่ตับแทน โดยพลังงานสำรองดังกล่าว คือ ketone body β-hydroxybutyrate (BHB) ที่ร่างกายเปลี่ยนจากกรดไขมันในตับนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานในสภาวะอดอาหาร หรือแหล่งอาหารไม่มีคาร์โบไฮเดรต เช่น อาหารกลุ่มคีโตไดเอท ที่บางท่านอาจนิยมรับประทานเพื่อควบคุมน้ำหนัก

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

ทีมวิจัย พบว่า ผู้มีอาการโควิดรุนแรง จะมีการสร้าง BHB ในร่างกายที่น้อยกว่าปกติ แหล่งพลังงานของผู้ป่วยเหล่านั้นจะพึ่งน้ำตาล หรือคาร์โบไฮเดรต เป็นหลัก แต่สภาวะการติดเชื้อโควิด ทำให้ระบบการเผาผลาญน้ำตาลไม่เป็นปกติในผู้ป่วยเหล่านี้ โดยเฉพาะในเม็ดเลือดขาว T cell ที่ควรได้สารอาหารชนิดกรดอะมิโนสำคัญจากแหล่งพลังงานดังกล่าวไปสร้างโปรตีนเพื่อจัดการกับเชื้อ หรือเพิ่มจำนวนของตัวเองให้พร้อมในสภาวะติดเชื้อ

 

ทีมวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโควิดมี T cell ที่ทำหน้าที่ได้ไม่ดีพอ ซึ่งอาจส่งผลโดยตรงต่ออาการโควิดที่รุนแรง พูดง่าย ๆ คือ T cell เสียสมดุลการทำงานจากการใช้คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงาน

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

 

ทีมวิจัย พบว่า แทนที่จะใช้น้ำตาลเป็นแหล่งพลังงาน ร่างกายจะใช้ BHB แทน ซึ่งกลไกการเผาผลาญ BHB สามารถทำให้มีการสร้างกรดอะมิโนได้เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ T cell ได้อย่างดี สามารถเคลียร์ไวรัสจากร่างกายได้ไวขึ้น

 

ทีมวิจัย พบว่า การให้อาหารชนิด “คีโต” กับหนูทดลองยังที่ติดเชื้อ สามาถช่วยให้หนูต้านการติดเชื้อได้ดีกว่ากลุ่มทดลอง ทำให้คิดว่า BHB อาจมีคุณสมบัติต่อต้านไวรัสได้

 

ทีมวิจัย สรุปว่า BHB อาจจะเป็นหนึ่งเป้าหมายสำคัญที่อาจพิจารณานำมาใช้ช่วยรักษาผู้ป่วยโควิด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาการรุนแรง

 

“สำหรับผู้ที่มีอาการเบื่ออาหารไม่อยากทานอะไร ก็อาจจะเป็นกลไกที่ร่างกายอยากใช้ประโยชน์จาก BHB ที่สะสมไว้ครับ หรือถ้าจะทานอาหาร Low-carb ช่วงพักฟื้นอาจช่วยให้หายไวขึ้นครับ”

 

 

 

 

คีโต, Low-carb, วิจัย, โควิด-19, COVID-19, BHB

 

 

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติม : Impaired ketogenesis ties metabolism to T cell dysfunction in COVID-19 , Fasting as key tone for COVID immunity

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ขนลุก! มูลนิธิร่วมกตัญญู จัดโต๊ะจีนเชิญดวงวิญญาณตึกสตง.ถล่ม "หนุ่มกู้ภัย" ร้องลั่น "หิว ช่วยด้วย"
"เอกสิทธิ์" เผยมาตรฐาน-คุณภาพภาคอสังหาริมทรัพย์ ปัจจัยสำคัญสร้างเชื่อมั่นความปลอดภัย รองรับพิบัติภัยในอนาคต
"รมว.ท่องเที่ยว" ระดมภาครัฐ-เอกชน ถกปัญหาความปลอดภัย ฟื้นภาพลักษณ์เที่ยวไทย หลังเจอกระแสข่าวด้านลบ
นาทีชีวิต! ส่งเฮลิคอปเตอร์ EC-725 ช่วยผู้ป่วยวิกฤต ส่งถึงมือแพทย์ได้ทันเวลา
วธ. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระกุศล "เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ" วันคล้ายวันประสูติ
"สก.นภาพล" ซัดกระทู้ถาม "กทม." เมื่อไหร่จะจ่ายคืนหนี้ BTS ย้ำดอกเบี้ยเพิ่มวันละ 4.5 ล้าน แฉฟาดรายได้ค่าโดยสาร 3 เดือน กว่า 2 พันล้าน แต่ให้เอกชนแบกภาระวิ่งรถไฟฟ้า
จีนสั่งยกเว้นภาษีสินค้านำเข้าบางประเภทจากสหรัฐ
"รองผอ." คดีฮั้วประมูล เผย "3 วิศวกร" รับลงชื่อตรวจงานสร้างตึกสตง.จริง เร่งสอบลายมืออีก 7 ราย ยังปฏิเสธ
"นายกฯ" รับมอบเงิน 5 ล้าน มูลนิธิเรนวูด ช่วยผู้ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหว
"อดีตผู้พิพากษา" ชี้ตรง ป.ป.ช.-อสส.ไม่ทำหน้าที่โจทก์ เหตุศาลฎีกาฯ ต้องออกโรงไต่สวนเอง "ทักษิณ"ไม่ติดคุกจริงตามคำพิพากษา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น