No data was found

“สภากทม.” ลอยแพ “ชัชชาติ” แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีเขียวไร้คืบ

กดติดตาม TOP NEWS

"สภากทม." ลอยแพ "ชัชชาติ" แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีเขียวไร้คืบ

สืบเนื่องจากวันนี้ (26 ต.ค.65) สภากรุงเทพมหานคร (สภา กทม.) ได้ร่วมพิจารณาประเด็นปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ตามข้อเสนอของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แต่ปรากฎว่าผ่านไปไม่ถึง 2 ชั่วโมง การประชุมทั้ง 2 ญัตติก็ไม่มีความคืบหน้าใด ๆ

จากนั้น นายชัชชาติ ให้สัมภาษณ์ หลังจากระบุความคิดจะรายงานให้สภากทม.รับทราบ จะเริ่มต้นแผนจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ในอัตรา 15 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2565 ว่า ที่ประชุมได้มีมติให้ถอนวาระดังกล่าวออกจากการประชุม เนื่องจากข้อมูลยังไม่ครบ และให้กรรมาธิการสามัญเรื่องจราจร เสนอรายงานให้ทางสภา กทม. รับทราบก่อน

โดยรายละเอียดบางส่วน สมาชิกกทม. จำนวนหนึ่งมีความเห็นว่า เรื่องการตัดสินใจเก็บค่าโดยสารนั้น ไม่ใช่อำนาจของสภากทม. แต่เป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร และคณะกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเพื่อนำไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งตนรับทราบขั้นตอน แต่ด้วยเป็นเรื่องสำคัญ เพราะประชาชนมีความเป็นห่วง จึงต้องมาหารือร่วมกับสภากทม. โดยไม่ได้ต้องการมติที่ประชุม เพียงแต่ต้องการความคิดเห็นเท่านั้น

 

และในการหารือได้มีการเสนอความคิดเห็นค่อนข้างมาก โดยสก.บางท่านเสนอว่า การกำหนดราคาค่าโดยสาร เป็นคำสั่งของคสช.ให้คณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นมาเป็นผู้ดูแล ขณะที่ทางสภากทม. ก็มีคณะกรรมการสามัญศึกษาเรื่องนี้เช่นกัน ทางประธานสภากทม.จึงชี้แจงว่า การพิจารณาอาจจะมีข้อมูลไม่ครบถ้วน และยังมีความกังวลว่าในการพิจารณาเป็นอำนาจของสภากทม.หรือไม่ จึงให้ถอญัตติดังกล่าวออกไป แต่ทั้งหมดถือเป็นเรื่องที่ดีในการเริ่มต้นแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น

 

 

ขณะที่การจัดเก็บค่าโดยสาร ส่วนต่อขยาย ในอัตราเริ่มต้นที่ 15 บาทนั้น นายชัชชาติ ระบุว่าจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง โดยจะต้องมีการหารืออย่างรอบคอบที่สุด ซึ่งในการนำเสนอสภากทม. วันนี้นั้น ไม่ได้เป็นการขออนุมัติจัดเก็บในราคา 15 บาท แต่เป็นการรายงานให้สภากทม. รับทราบว่าจะมีส่วนต่างราคาเกิดขึ้นซึ่งทางด้านสภากทม. จะต้องเข้ามาดูแลในเรื่องนี้จึงต้องขอการรับรองงบประมาณจากสภากทม. เพื่อไปชดเชยในส่วนนี้ ซึ่งสุดท้ายการตัดสินใจเรื่องการจัดเก็บค่าโดยสาร คงไม่พ้นสภา กทม. อยู่ดี ส่วนจะมีการจัดเก็บเลยหรือไม่ จะต้องหารือกับทางทีมงานอีกครั้ง

 

นอกจากนี้ นายชัชชาติ ยังระบุถึงกรณี กระทรวงมหาดไทยได้ขอความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว กรณีการพิจารณาเรื่องขยายสัมปทาน ว่า ในเรื่องนี้ฝ่ายบริหารอาจมีการทำคำตอบเป็นลายลักษณ์อักษร ความคิดเห็นของฝ่ายบริหารกทม.เป็นเช่นไร ขณะที่ทางด้านของสภากทม.ยังไม่มีความคิดเห็นในขณะนี้ หรืออาจจะมีการหารือกันในอนาคตกันต่อไป ว่ามีความคิดเห็นในเรื่องนี้อย่างไร

โดยความเห็นที่ทางด้านฝ่ายบริหารจะตอบกลับกระทรวงมหาดไทย เป็นในเรื่องของแนวคิดการปฏิบัติต่างๆ อาทิเช่น จะต้องเป็นไปตามพ.ร.บ.ร่วมทุน ว่า การคำนวณค่าโดยสารต่างๆ ต้องมีความรอบคอบและละเอียดมากขึ้นเช่นเดียวกับการคิดอัตราค่าโดยสารส่วนต่อขยายที่ 2 โดยตนเองมองว่า ในส่วนของพ.ร.บ.ร่วมทุนนั้นเป็นสิ่งที่มีการคิดอย่างละเอียดรอบคอบอยู่แล้ว

ไม่ใช่การดำเนินการโดยคณะกรรมการเพียงไม่กี่ท่าน และในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานหรืองานโยธาที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยรับผิดชอบรวมถึงลดภาระให้แก่ กทม. เพราะที่ผ่านมาโครงสร้างพื้นฐานของรถไฟฟ้าทุกสายรัฐบาลก็เป็นผู้ที่ช่วยลงทุนให้เพราะสุดท้ายแล้วคนที่จ่ายก็คือประชาชน ทำให้จ่ายค่าโดยสารแพงขึ้น เพราะต้องมาจ่ายค่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา ยอมรับเรื่องทุกอย่างจะต้องกลับมายังสภากทม.อยู่ดี

ทั้งนี้ ตามอำนาจ คสช.มาตรา 44 ไม่ได้ให้อำนาจกทม.ในการดำเนินการ เนื่องจากมีปลัดกทม. เพียงคนเดียวที่เป็นคณะกรรมการของ คสช. ซึ่ง อำนาจทุกอย่างอยู่ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหมดแล้ว ส่วนความเห็นของกทม. ไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไร เพราะกทม.ไม่ใช่หน่วยงานหลัก แต่เป็นกระทรวงมหาดไทยที่นำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมครม. และเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่ค้างอยู่ในครม. มานาน ซึ่งครม.สามารถตัดสินใจได้ด้วยตัวเองและยังเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้กทม.ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่หนึ่งได้เพราะถูกนำไปรวมเป็นมูลค่าหนี้ในการขยายสัมปทาน แม้จะมีสัญญาที่ชัดเจน และทางด้านสภากทม.ได้มีการตั้งงบประมาณส่วนนี้ไว้แล้วก็ตาม

ขณะที่ส่วนต่อขยายที่ 2 ยังติดปัญหา คือ ไม่ได้มีการนำเอาเรื่องนี้เข้าสู่ที่ประชุมสภากทม. ซึ่งเชื่อว่าเรื่องนี้จะต้องกลับมาที่ประชุมสภากทม.อีกครั้งแต่ในรูปแบบใดนั้น จะต้องพิจารณาอีกครั้ง

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวได้ถามถึงความเป็นไปได้ที่จะมีการคืนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวทั้งหมดให้แก่รฟม. หรือไม่ นายชัชชาติ ระบุว่า ก็มีความเป็นไปได้เพราะตนเองไม่ได้มีการปิดกั้นแนวคิดใด แม้จะเป็นของกทม. แต่กระทรวงมหาดไทยได้เป็นผู้มอบหมายให้กทม. เป็นผู้ดำเนินการ แต่ทั้งนี้ จะต้องยึดหลักผลประโยชน์ของประชาชนเป็นที่ตั้ง และหากทางด้านของกทม จะคืนโครงการนี้ให้กับรฟม.จะต้องอยู่บนพื้นฐานประชาชนได้ประโยชน์มากที่สุด อาทิ ค่าโดยสารจะต้องไม่แพง

ผู้สื่อข่าวถามว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นการพักภาระหนี้ให้แก่กทม.หรือไม่ นายชัชชาติ ระบุว่าจะต้องพิจารณาถึงความสมเหตุสมผลของมูลหนี้มีความสมเหตุสมผลมากน้อยแค่ไหนการจ้างเดินรถแพงเกินไปหรือไม่และมีเงื่อนไขเช่นไร โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวนั้นในระยะยาวจะเป็นโครงการที่สามารถเลี้ยงตนเองได้เพราะเป็นสายที่มีประชาชนใช้บริการมากที่สุด ซึ่งแม้จะมีรายได้เข้ามาแต่หากค่าใช้จ่ายอยู่ในระดับสูงก็จะทำให้ขาดทุนและเป็นภาระได้

ส่วนประเด็นที่ศาลปกครองมีคำสั่งให้กรุงเทพมหานครจ่ายหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC นั้น นายชัชชาติ ระบุว่า ขณะนี้ อยู่ระหว่างการที่กทม. ทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองเพื่อพิจารณาในเรื่องนี้

โดยในเรื่องของภาระหนี้ นายชัชชาติ ได้ย้ำกว่า กทม. ยินดีจ่ายหนี้ให้กับเอกชนทุกบาททุกสตางค์ ไม่เบี้ยวแน่นอน เพราะเป็นความไว้วางใจระหว่างกทม. กับภาคเอกชน แต่ต้องมีที่มาที่ไปว่าทำถูกระเบียบ มีขั้นตอนในการอนุมัติ เพราะไม่ใช่เงินส่วนตัว ไม่ได้มีอคติกับเอกชนและพร้อมให้ความเป็นธรรม แต่เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความซับซ้อน อำนาจซ้อนอำนาจ ไม่ได้เป็นไปตามกระบวนการปกติ

 

 

ขณะที่ ในส่วนของนายนายไสว โชติกะสุภา ส.ก.เขตราษฎร์บูรณะ ในฐานะประธานคณะกรรมการการจราจรและขนส่ง ระบุว่า คณะกรรมการได้รับหนังสือจากประธานสภา กทม. เรื่อง ขอความเห็นการบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เพื่อพิจารณาว่า สภา กทม.มีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ เพราะเรื่องนี้ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมาย สิ่งใดที่สภา กทม.ทำได้เราก็จะรีบดำเนินการ หรือสิ่งใดที่ทำไม่ได้ก็ต้องบอกว่าทำไม่ได้ เรื่องนี้จึงได้ขอเอกสารประกอบการพิจารณาผ่านทางประธานสภา กทม.

ทั้งนี้ จากการพิจารณาผลการประชุมสภา กทม.ชุดก่อน กรณีที่ผู้ว่าฯ กทม. ของบประมาณสะสมจ่ายขาดในครั้งนั้นประมาณ 3,000 ล้านบาท เพื่อบริหารงานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งไม่ผ่านความเห็นชอบ

นายไสว กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการจึงมีมติว่า การให้ความเห็นเรื่องการบริหารงาน หรือการกำหนดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย 2 หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และแบริ่ง-สมุทรปราการ ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของ สภา กทม. โดยคณะกรรมการก็มีความห่วงใยเกี่ยวกับดอกเบี้ยค่าจ้างเดินรถที่เพิ่มขึ้นทุกวัน โดยตกลงกันว่าจะส่งวาระการพิจารณาสายสีเขียวคืนให้ประธานสภา กทม.ผ่านไปยังผู้ว่าฯ กทม.

 

 

 

ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจน ต้องย้ำข้อมูลสำคัญว่า การตัดสินใจอนาคตรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ไม่ได้เป็นข้อเสนอของ BTSC ตั้งแต่แรกเริ่ม แต่แนวคิดมาจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เห็นปัญหาเรื่องหนี้สินของรัฐจากการลงทุนก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ซึ่งเกิดขึ้นในยุครัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ในฐานะ รมว.คมนาคม ขณะนั้น ก็คือ หนึ่งในผู้รับผิดชอบ ตัดสินใจ อนุมัติให้รฟม.ดำเนินการ

และ การตัดสินใจ ของพล.อ.ประยุทธ์  ในฐานะหัวหน้าคสช.เมื่อปี 2557 มีเหตุผลมาจาก คำสั่งคสช. 3/2562 ลงวันที่ 11 เมษายน 2562 เพื่อต้องการให้คณะกรรมการ ประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการ ร่วมกับกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการคลัง , ผู้อํานวยการสํานักงบประมาณ , เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา , เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , อัยการสูงสุด , ผู้อํานวยการสํานักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและด้านระบบรถไฟฟ้า ซึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง ร่วมกันพิจารณาทางออกของภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนารถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยาย

โดยหนี้สินหรือ ภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ราว 1.3 แสนล้าน โดยหลัก ๆ จะมาจาก 3 ส่วน ประกอบด้วย

– หนี้งานโยธาและดอกเบี้ยถึงปี 2572 ซึ่งกทม.รับโอนมาจากรฟม. รวมเป็นเงินกว่า 7 หมื่นล้านบาท แยกเป็นภาระเงินต้นงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่- คูคต จำนวน 55,000 ล้านบาท ( ไม่รวมดอกเบี้ย) และ ภาระดอกเบี้ยงานโยธา รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ และ หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ปี 2564-2572 อีกกว่า 10,000 ล้านบาท

– หนี้ค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลอีกว่า 2 หมื่นล้านบาท ที่กทม.ต้องจ่ายให้ BTSC และมีกำหนดจ่ายตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564

– หนี้ค่าจ้างเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย จนถึงปัจจุบัน อีกกว่า 2 หมื่นล้านบาท จากตัวเลขประมาณการณ์ หรือ คิดเป็นค่าจ้างเดินรถ เฉลี่ยประมาณเดือนละ 600 ล้านบาท

ขณะเดียวกันผู้บริหาร BTSC ระบุชัดเจนตั้งแต่ต้นแล้วว่า เหตุผลที่ตัดสินใจเลือกเข้ามาช่วยบริษัท กรุงเทพธนาคม หรือ KT และภาครัฐ ทำภารกิจนี้ให้สำเร็จ คือ

1. เพื่อทำให้การบริการเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว และการเรียกเก็บค่าโดยสาร จากส่วนหลักและส่วนต่อขยาย ซึ่งอยู่ภายใต้โครงข่ายเดียวกัน เชื่อมต่อกันเป็นหนึ่งระบบ อันจะมีผลโดยตรงในการทำให้ค่าโดยสารที่ลดลง ไม่ต้องเสียค่าบริการแรกเข้าเพิ่มเติม ส่วนบริษัทเอกชนเองก็สามารถบริหารจัดการเรื่องต้นทุน เพื่อทำให้ราคาค่าโดยสารเกิดความเหมาะสมกับผู้บริโภคมากที่สุด

2. ภาครัฐเองก็ไม่ต้องใช้เงินภาษีประเทศมาอุดหนุน เนื่องจากได้มอบให้บริษัทเอกชนเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงจากผลประกอบการในระยะยาว

ขณะที่ในช่วงเริ่มต้นรับตำแหน่ง นายชัชชาติ ให้สัมภาษณ์แนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ว่า มาจากหลายส่วน อาทิ
1. นำรายได้จากส่วนต่อขยายที่ 1 สายสีลม ช่วงสะพานตากสิน-บางหว้า , ส่วนต่อขยายสายสุขุมวิท ช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่เก็บค่าโดยสาร 15 บาท มาทยอยชำระต่อเนื่องให้ทุกเดือน

2.กทม. สามารถออกข้อบัญญัติในการกู้เงิน เพื่อนำมาชำระหนี้สิน โดยการนำเสนอสภากทม.เพื่อพิจารณา และคาดการณ์ว่าจะเป็นการกู้เงินจากรัฐ เพื่อทำให้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงกว่ากู้เงินภาคเอกชน

3.ศึกษาแนวทางออกพันธบัตร เพื่อนำเงินมาชำระหนี้

4.เก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 “หมอชิต-คูคต” และ “แบริ่ง-สมุทรปราการ” นำรายได้มาแบ่งชำระหนี้

ขณะที่วันนี้ หลังจากประกาศศึกษาปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว มานานถึง 2 ปี และ การลงปฏิบัติแก้ไขปัญหา ในฐานะผู้ว่าฯกทม. อีกว่า 4 เดือน กลับไม่สิ่งใดเป็นรูปธรรม และ มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงลบต่อ นายชัชชาติ ทราบรายละเอียดเป็นอย่างดี ตั้งแต่ต้นแล้วว่า อำนาจการตัดสินใจสุดท้าย การบริหารจัดการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลอดทั้งโครงการ ระยะทางรวม 68.25 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของกระทรวงมหาดไทย และ ครม. รวมถึงเข้าใจอย่างชัดเจน สภากทม.ไม่สามารถอนุมัติงบประมาณ มาช่วยแก้ปัญหาหนี้สะสมดังกล่าว ได้อย่างแน่นอน

โดยตัวเลข งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ของกรุงเทพมหานคร พบว่า มีวงเงินทั้งสิ้น 79,855 ล้านบาท แยก เป็นงบกลาง 14,417 ล้านบาท คิดเป็น 18.05 % ของงบประมาณทั้งหมด และ แยกส่วนที่เหลือให้กับแต่ละหน่วยงานนำไปใช้จ่าย โดยหน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่

อันดับ 1 สำนักการระบายน้ำ 7,004,723,861 บาท = 8.77 %
อันดับ 2 สำนักสิ่งแวดล้อม 6,845,454,756 บาท = 8.57 %
อันดับ 3 สำนักการโยธา 6,455,586,600 บาท = 8.08 %
อันดับ 4 สำนักการแพทย์ 4,439,365,100 บาท = 5.56 %
อันดับ 5 สำนักการจราจรและขนส่ง 3,871,137,900 บาท = 4.85 %
อันดับ 6 สำนักการคลัง 2,996,974,710 บาท = 3.75 %
อันดับ 7 สำนักอนามัย 2,113,644,000 บาท = 2.65 %
อันดับ 8 สำนักวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยว 1,309,339,200 บาท = 1.64 %
อันดับ 9 สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร 912,610,510 บาท = 1.14 %
อันดับ 10 สำนักการศึกษา 786,415,659 บาท = 0.98 %

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"โรงเรียนดังย่านมีนบุรี" แจงดราม่าเวลาเรียน หลังผู้ปกครองหลายคนกังวล ตารางเรียนแน่นเกินไป
นทท.จีนแห่เที่ยวเชียงใหม่ หลังฝุ่นจาง บรรยากาศสุดคึกคัก
บูชาหญิงเร่ร่อนเป็นพระแม่
ม็อบต้านเทสลารวมพลบุกโรงงานในเยอรมนี ตร.สกัดวุ่น(คลิป)
"มูลนิธิยังมีเรา" ร่วมท็อป นิวส์ เดินหน้าสานฝันเยาวชนยากไร้ มอบทุนการศึกษา เด็กๆฝากขอบคุณทุกน้ำใจ
ฮือฮา ล้างป่าช้าจีนโคราช "พบร่างอาจารย์ทอง" ครั้งแรกรอบ 12 ปี
วินจยย.เล่านาทีระทึก โจรเมียนมาชิงมือถือนทท. ซอยนานา พลาดตกสะพานลอยเจ็บ
"นายกฯ" เผยยังไม่คุยภท. ดึงกัญชากลับเป็นยาเสพติด ยันเห็นตรงกัน ต้องฟังความเห็นทุกภาคส่วน
“โฆษกรบ.” ซัดยับ พวกวิจารณ์ด้อยค่าข้าว 10 ปี ชี้วาทกรรมลวงโลก “ข้าวเน่า”
2 คนร้ายโจรกรรม จยย.หนุ่มผู้ช่วยกุ๊ก ชาวบ้านผวาหนักเกิดเหตุบ่อยครั้ง ตร.นิ่งเฉยไม่ตามจับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น