No data was found

“สมอง เสื่อม” งีบกลางวันนาน แพทย์เตือน อันตรายกว่าที่คิด

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

กดติดตาม TOP NEWS

"สมอง เสื่อม" หมอธีรวัฒน์หรือหมอดื้อ เตือนภัยใกล้ตัว คนที่ชอบนอนงีบบ่อย ๆ งีบนาน ๆ ชี้ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมโดยไม่รู้ตัว

“สมอง เสื่อม” หมอธีรวัฒน์ เตือนภัยร้ายใกล้ตัว การนอนงีบบ่อย ๆ นาน ๆ ช่วงกลางวัน ที่หลายคนคนทำบ่อยจนเป็นกิจวัตรประจำวัน เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เผยโรคร้ายใกล้ตัวอย่างโรค “สมอง เสื่อม” เกิดได้จากพฤติกรรมที่หลายคนชอบทำโดยไม่รู้ตัวว่าอันตรายกว่าที่คิด โดยระบุว่า การงีบนอนช่วงกลางบ่อย ๆ เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมจริง ทั้งนี้ไม่ทราบกลไกชัดเจน

 

 

 

จากการศึกษาก่อนหน้านี้ สมองของคนอัลไซเมอร์ พบว่า มีการเสื่อมสลายของกลุ่มเซลล์ที่กระตุ้นให้ตื่น จากการตรวจจีโนมของประชากรประมาณ 450,000 ราย พบ 123 ตำแหน่งที่สัมพันธ์กับการงีบหลับกลางวันบ่อย และเชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพแย่และสมองเสื่อม

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

 

 

 

การติดตามประชากรตั้งแต่ปี 2005 ถึง 2020 อายุเฉลี่ย 81.4 ปีเป็นจำนวนประมาณ 1400 ราย และรายงานในปี 2022 พบว่า ถ้างีบบ่อยงีบนาน ส่อให้เห็นสภาพว่าเริ่มมีหรือมีสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ จากการติดตามพบ

  • ปกติ 76%
  • เริ่มมีอาการก้ำกึ่ง 20%
  • และมีสมองเสื่อมแล้ว 4%

 

 

 

เมื่อติดตามพบว่าคนปกติงีบประมาณ 11 นาที คนที่สมองเริ่มก้ำกึ่งงีบ 24 นาทีและคนที่มีภาวะสมองเสื่อมจะงีบกลางวัน 69 นาที/วัน เมื่อติดตามคนที่เริ่มต้นปกติและเกิดสมองเสื่อมใน 6 ปี พบว่า

  • ถ้างีบนานกว่า 1 ชั่วโมงจะเพิ่มความเสี่ยง 40%
  • ถ้างีบบ่อยมากกว่า 1 ครั้งจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 40%

ทั้งนี้ คล้องจองกับรายงานในปี 2019 ที่ศึกษาในผู้ชายและพบว่า ถ้างีบกลางวัน 2 ชั่วโมงจะมีโอกาสเสี่ยงสมองเสื่อมมากกว่ากลุ่มที่งีบ 30 นาที/วัน

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

การงีบหลับกลางวันตามธรรมดาแล้วจะพบในกลุ่มที่นอนไม่ดีหรือนอนไม่มีคุณภาพ เช่น ในกลุ่มที่ทำงานไม่เป็นเวลา และข้อสำคัญคือมีโรคประจำตัวเมตาบอลิค รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแล้วหรือกำลังจะเป็นโดยเฉพาะที่ครอบครัวมีสมองเสื่อมอยู่แล้ว และตนเองอาจกำลังเพาะบ่มสมองเสื่อมอยู่

 

 

 

การงีบหลับกลางวันบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น จำเป็นต้องวิเคราะห์สุขภาพ หาสาเหตุที่ทำให้นอนกลางคืนไม่มีคุณภาพ มีการใช้ยาไม่เหมาะสม ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จัด กลางคืนมีการหายใจติดขัดทำให้ออกซิเจนไม่ไปสมอง

  • ระยะการนอนที่เหมาะสมอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมงโดยมีช่วงหลับลึกอยู่ที่ 13 ถึง 23%

 

 

 

สมอง เสื่อม, โรคสมองเสื่อม, ภาวะสมองเสื่อม, งีบนาน, งีบกลางวัน, งีบบ่อย, งีบ, งีบหลับกลางวัน, หมอธีระวัฒน์

 

 

 

เน้นกินอาหารที่เข้าใกล้มังสวิรัติที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบ พยายามหมั่นออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ งดเว้นบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากเกินที่กำหนด ซึ่งจะช่วยให้มีสุขภาพดี โดยการนอนที่มีคุณภาพ สามารถป้องกันภาวะสมองเสื่อมและโรคทางกายอื่น ๆ ด้วย

 

 

 

ข้อมูล : ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รพ.ธรรมศาสตร์ฯ" แถลง CPR ยื้อชีวิต "บุ้ง" เกือบ 2 ชม. ก่อนสิ้นใจสงบ
เปิดประวัติ “บุ้ง ทะลุวัง” จากลูกผู้พิพากษา สู่ แกนนำม็อบ เขียนพินัยกรรมยกให้ “หยก-พี่สาว” หมดแล้ว
"พ.อ.ณรงค์ กิตติขจร" ลูกชาย "จอมพลถนอม" เสียชีวิตแล้ว
สุดเศร้า ครอบครัวรับศพ "ดาบโก้" ถูกรัวยิงทิ้งร่างกลางป่า บำเพ็ญกุศล
"ช่อ พรรณิการ์" รีบโหน "บุ้ง" เสียชีวิต จี้ปล่อยผตห.พ้นคุก โดนจวกกลับหยุดเอาศพหากิน
ซีพีเอฟ คว้ารางวัล Crystal Taste Award การันตีสุดยอดรสชาติระดับโลก 3 ปีซ้อน สร้างประสบการณ์ความอร่อยไร้พรมแดน
"ตร.กัมพูชา" จับเพิ่มอีก 1 หนุ่มเกาหลี คดีฆ่ายัดถังโบกปูน เร่งสอบหาปมแค้น
ดุเดือด "แม่น้องไนซ์-ลูกหาบเชื่อมจิต" รุมเถียงเจ้าหน้าที่ พม.หลังถามไม่เข้าหู ชาวเน็ตเมนต์สนั่น
หัวอกพ่อสุดช้ำ ลูกชายโดนรุ่นพี่ ม.2 รุมทำร้าย ไฟแช็คจี้คอ ทำเครียดอยากย้ายโรงเรียน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น