ลุ้นระทึกบทสรุป “สภาองค์กรผู้บริโภค” จดจัดตั้งผิดกม.หรือไม่

ลุ้นระทึกบทสรุป "สภาองค์กรผู้บริโภค" จดจัดตั้งผิดกม.หรือไม่

ตามติดมานานหลายเดือน กรณีการก่อกำเนิดสภาองค์กรผู้บริโภค หลังจากเมื่อเดือน พ.ค. 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ให้ความเห็นชอบจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบเงินอุดหนุน เป็นจำนวน 350 ล้านบาท ให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อเป็นทุนประเดิมเบื้องต้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นปตามพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562

ประเด็นสำคัญ เงินจำนวน 350 ล้านบาท ก็คืองบประมาณแผ่นดิน และทางสภาองค์กรผู้บริโภค โดย นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้นำรายชื่อองค์กรที่อ้างว่ามีการจดแจ้งสถานะความเป็นองค์กรผู้บริโภคต่อนายทะเบียนกลางและนายทะเบียนจังหวัดจากทั่วประเทศ จำนวน 152 องค์กร เข้ายื่นเรื่องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเป็น ผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้ง “สภาองค์กรผู้บริโภค ประเทศไทย ตาม พ.ร.บ. การจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ต่อผู้แทนสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานกิจการองค์กรของผู้บริโภค สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เพื่อพิจารณาตรวจสอบความถูกต้อง

จากนั้นได้มีผู้ออกมาทักท้วง เรื่องความถูกต้องขององค์กรร่วมจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค โดยเมื่อวันที่ 12 ต.ค.2563 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือ สปน. ให้ดำเนินการตรวจสอบ 151 องค์กรผู้บริโภค ที่มาแจ้งขอจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคเมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2563 ว่ามีความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ กฎหมายกำหนดหรือไม่

โดยครั้งนั้น นายศรีสุวรรณ ตั้งข้อสังเกตุถึงช่วงเวลาดำเนินการจัดตั้ง หรือ ก่อตั้งองค์กรผู้บริโภค ว่าค่อนข้างไม่ปกติ ขณะที่การจะใช้สิทธิเข้าชื่อกัน แจ้งต่อทะเบียนกลางเพื่อเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้นั้น องค์กรผู้บริโภคนั้นๆ จะต้องดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภค “เป็นที่ประจักษ์” มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 2 ปีตามที่กฎหมายกำหนด

แต่ปรากฎว่ามีตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค รวมตัวไปยื่นต่อนายทะเบียนกลาง เพื่อขอเป็นผู้เริ่มก่อการในการจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค กับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในเวลาอันรวดเร็ว จึงเป็นที่สงสัยว่าองค์กรผู้บริโภคต่างๆ เหล่านั้น ได้ดำเนินการหรือมีผลงานในการคุ้มครองผู้บริโภคมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือไม่ อย่างไร เพราะถ้าองค์กรต่างๆ เหล่านั้นมีผลงานเป็นที่ประจักษ์จริงกันทุกองค์กร คงไม่มีปัญหาผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างแพร่หลายในขณะนี้ไ ด้ และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องมีสภาองค์กรผู้บริโภคก็ยังได้ เว้นแต่มีความพยายามที่จะจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง

รวมถึงเมื่อมีการประกาศจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคได้แล้ว กฎหมายกำหนดให้รัฐบาลต้องจัดสรรเงินจากภาษีประชาชน มาอุดหนุนไว้ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นทุนประเดิมให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 350 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเบื้องต้นในการดำเนินการและให้เกิดการรวมตัวกันขององค์กรของผู้บริโภค อย่างทั่วถึง หลังจากนั้นจึงจะเข้าสู่การจัดทำแผนงบประมาณภาครัฐสนับสนุนในแต่ละปีต่อไป

ซึ่งนายศรีสุวรรณ ตั้งคำถามว่านี่อาจเป็นเหตุผลในความพยายามจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคขึ้นมา โดยการระดมสรรพกำลังโดยใช้เงินภาษีบาป(ภาษีเหล้า-บุหรี่) ไปใช้ในการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวหรือไม่ เพราะสุดท้ายผู้เป็นแกนนำอาจจะได้อานิสงค์ถูกเลือกเป็นประธานสภาฯ เป็นกรรมการสภาฯ ซึ่งสามารถใช้เงินภาษีของประชาชนได้อย่างเต็มที่

 

ทั้งนี้ต้องย้ำว่า ตามพ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า สภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องมีการรวมตัว องค์กรเครือข่าย อย่างน้อย 150 องค์กรขึ้นไป โดยมีหลัก การสำคัญคือต้องเป็นอิสระ ไม่ได้รับเงินจากหน่วยงานรัฐหรือองค์กรใด , รวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนงานคุ้มครองผู้บริโภค ผลงาน หลักฐาน เป็นที่ประจักษ์มาแล้วอย่างน้อย 2 ปี และมีการขออนุญาตจดแจ้งกับนายทะเบียนจะส่วนกลาง หรือนายทะเบียนประจำจังหวัดก็ได้ และเมื่อได้รายชื่อครบแล้ว จึงจะสามารถรวมตัวกันยื่นจดแจ้งต่อ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อตั้งเป็น สภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งจุดนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยเรื่องเงื่อนเวลาที่ไม่สัมพันธ์ กับการจัดหารายชื่่อองค์กรของผู้บริโภคมารวมตัวกัน และนำมาสู่การร้องเรียนให้ดำเนินการตรวจสอบเพื่อความถูกต้อง

 

ขณะที่ “เครือข่ายสื่อมวลชนปกป้องผลประโยชน์ชาติ” นำโดย นายชัชวาลย์ คำไท้ ประธานเครือข่าย ได้นำข้อมูลหลักฐานบางส่วน เกี่ยวกับความไม่ชอบมาพากล เกี่ยวกับการจัดตั้ง เครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ในระดับท้องถิ่น มาส่งมอบให้กับนายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ดำเนินการขยายผลตรวจสอบ เนื่องจากพบมีการแจ้งข้อมูลเท็จ เพื่อนำไปใช้ดำเนินการจดแจ้งจัดตั้งองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค ต่อนายทะเบียนจังหวัด ก่อนที่แกนนำเครือข่ายจะองค์กรเหล่านี้มารวมตัวเป็น 151 องค์กร แล้วยื่นจัดตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภค โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องเครือข่ายองค์กรบางแห่งไม่ได้ดำเนินการจดแจ้งให้ถูกต้องกฎหมาย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จากนั้นเมื่อ วันที่ 1 มี.ค. 2565 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้นำข้อมูล หลักฐานต่าง ๆ ยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เพื่อคุ้มครองเป็นการชั่วคราวก่อนพิพากษา เพื่อระงับยับยั้งมิให้สภาองค์กรของผู้บริโภคนำเงินภาษีของประชาชน 350 ล้านบาทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้มาใช้จ่าย เนื่องจากการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวอาจมิชอบด้วยกฎหมาย ตามที่สมาคมฯ ได้ยื่นฟ้องปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี(สปน.)ไว้ก่อนหน้า เรื่องการจดจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภค ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คึอ มีอย่างน้อย 3 องค์กรมีคุณลักษณะต้องห้ามตามนัย ม.5(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค 2562

นายศรีสุวรรณ จรรยา เปิดเผยกับ TOPNEWS ว่า กรณีการตรวจสอบมีความคืบหน้าเป็นอย่างมาก และถือเป็นสัญญาณที่ดีในการต่อสู้คดี เพราะนายทะเบียนกลาง ได้ทำคำให้การไปยังศาลปกครองแล้ว และศาลปกครองมีหนังสือมายังสมาคมฯ เพื่อให้ทำคำคัดค้าน คำให้การเพื่อส่งกลับไปศาลปกครองอีกครั้ง โดยหลังจากนั้นจะเป็นหน้าที่ฝ่ายตุลาการในการต้องไปแสวงหาข้อเท็จจริงอื่นเพิ่มเติม ก่อนนัดคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมาเพื่อพิจารณาคดี ซึ่งคาดว่าหลังจากนั้นจะมีคำพิพากษ ไม่น่าจะเกินภายใน 6 เดือนจากนี้

ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ ยังให้ความเห็นด้วยว่า จากข้อมูลหลักฐาน ศาลปกครองคงไม่อยากเห็นการขับเคลื่อน หรือ การดำเนินการของสภาองค์กรดังกล่าว ที่อาจจะเข้าข่ายกระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการนำเงินงบประมาณของแผ่นดิน 350 ล้านบาท ไปใช้ในทางที่อาจจะไม่ถูกต้อง เพราะสภาองค์กรผู้บริโภค ยังไม่ถูกยอมรับทางกฎหมาย ซึ่ งขณะนี้ทางสมาคมฯ อยู่ระหว่างการทำคำคัดค้าน คำให้การและจะรีบนำส่งศาลปกครอง ภายใน 1-2 สัปดาห์จากนี้

ส่วนความเชื่อมั่นในกระบวนการตรวจสอบ นายศรีสุวรรณ ระบุว่า คงอีกไม่นานศาลจะนัดพิจารณาคดี แล้วนำไปสู่การพิพากษาว่าจะเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้องของสมาคมฯหรือไม่ ในเรื่องการขอให้สภาองค์กรผู้บริโภคยุติการปฏิบัติหน้าที่ เพราะจากการตรวจสอบพบอย่างน้อย 3 องค์กร ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีกิจกรรมหรือการกระทำ รวมไปถึงคณะกรรมการขององค์กรซึ่งต้องห้าม เช่น คณะกรรมการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งตามกฎหมายห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ มาเป็นกรรมการในองค์กรด้านผู้บริโภค ซึ่งทั้ง 3 องค์กรอยู่ในภาคเหนือ และทางปลัดสำนักนายกก็ยอมรับว่าทั้ง 3 องค์กรดังกล่าวนี้คุณสมบัติไม่ครบ ก่อนที่จะได้ทำหนังสือแจ้งมายังสมาคมฯ เมื่อเป็นเช่นนี้ทำให้เห็นว่าการเข้าชื่อกันจดจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคก็จะไม่ครบตามจำนวน หรือ 150 องค์กร และไม่สามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบ ขออนุญาตจดจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคดังกล่าวได้ ประเด็นสำคัญ คือ การจัดตั้งสภาองค์กรผู้บริโภคจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการนำเงินงบประมาณแผ่นดินกว่า 350 ล้านบาทไปใช้ก็จะไม่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

นายศรีสุวรรณ กล่าวด้วยว่า ที่ผ่านมาทางสมาคมฯติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด จนมาเป็นคดีในศาลปกครองเมื่อปี 2565 และศาลอาจเห็นข้อพิรุธบางประการ จึงเร่งให้ทางสมาคมฯทำคำคัดค้านคำให้การโดยเร็วเพื่อสู่การพิจารณาวินิจฉัยได้โดยเร็วเช่นกัน

ส่วนหลักฐานทั้งหมด ตนเองนำส่งให้ศาลปกครองหมดแล้ว และศาลเองก็รับรู้ในพยานหลักฐานทั้งหมด จึงเชื่อมั่นว่าจะเป็นไปตามคำฟ้องของสมาคมฯ เพราะหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นหลักฐานที่ทางปลัดสำนักนายกรัฐมนตรียืนยัน แม้ว่าตนเองในฐานะภาคประชาชนอยากให้องค์กรดังกล่าวเกิดขึ้น แ ละในรัฐธรรมนูญเองได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้โดยตรง แต่ประเด็นปัญหา คือเมื่อมีการจัดตั้งแล้ว ก็อยากให้ดำเนินการจัดตั้งให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย มิเช่นนั้นแล้วเราจะไปทำหน้าที่แทนประชาชน ในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิ์เสรีภาพของประชาชนตามกฎหมายได้อย่างไร อาจจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ได้ว่าแม้แต่ตัวองค์กรเพื่อผู้บริโภคยังทำผิดกฎหมาย

ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ ยืนยันว่าการร้องตรวจสอบการจัดตั้งองค์กรดังกล่าวนี้ ไม่มีนัยยะใดๆ ที่ผ่านมาตนเองทำงานร้องเรียนตรวจสอบหน่วยงานของรัฐมาโดยตลอด เพราะเป็นการใช้งบประมาณของแผ่นดินซึ่งเป็นเงินภาษีของประชาชน ดังนั้นเราจึงต้องตรวจสอบเพื่อให้โปร่งใส และย้ำว่าการตรวจสอบของตนเอง ไม่ใช่เรื่องของการขัดแย้งหรือเรื่องของการดิสเครดิตใครทั้งสิ้น หากสามารถผ่านกระบวนการตรวจสอบนี้ไปได้ก็จะเกิดความสง่างามขององค์กร

 

ทั้งนี้จากการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า ตาม พระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562

มาตรา 8 ระบุว่า ผู้ใดเห็นว่าองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งไว้ตามมาตรา 6 มีลักษณะไม่ถูกต้อง ตามมาตรา 5 ให้มีสิทธิยื่นคำคัดค้านพร้อมทั้งหลักฐานต่อนายทะเบียนกลางได้

ส่วน มาตรา 5 ระบุว่า องค์กรของผู้บริโภคที่จะรวมตัวกันดำเนินการเพื่อจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค หรือที่จะเข้าเป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภคต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ไม่เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่จัดตั้งขึ้นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมหรือถูกครอบงำ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นนิติบุคคล กรรมการหรือผู้มีอำนาจบริหารของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว หรือโดยหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือพรรคการเมือง
(2) ไม่เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่ได้รับเงินอุดหนุนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมจากบุคคล ตาม (๑) เว้นแต่เป็นเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือได้รับตามพระราชบัญญัตินี้
(3) เป็นองค์กรของผู้บริโภคที่ได้แจ้งสถานะความเป็นองค์กรตามมาตรา 6

ขณะที่มาตรา 6 องค์กรของผู้บริโภคใดที่มีลักษณะตามมาตรา 5 (1) และ (2) ประสงค์จะเข้าร่วมจัดตั้งหรือเป็นสมาชิกของสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้แจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภคไว้ต่อนายทะเบียน โดยจะแจ้งต่อนายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัดที่ผู้แจ้งมีภูมิลำเนาอยู่ก็ได้ องค์กรของผู้บริโภคที่จะแจ้งการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ต้องมีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้ดำเนินการ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่ประจักษ์มาแล้วไม่น้อยกว่าสองปีก่อนวันยื่นแจ้ง

การแจ้งให้เป็นไปตามแบบและวิธีการที่นายทะเบียนกลางกำหนด ซึ่งจะกำหนดให้แจ้ง โดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบหรือวิธีการอื่นใดที่ผู้แจ้งสามารถดำเนินการได้โดยสะดวกด้วยก็ได้ในการกำหนดแบบและวิธีการตามวรรคสาม ต้องไม่มีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นและให้รับฟังความคิดเห็นขององค์กรของผู้บริโภคประกอบด้วย

เมื่อได้รับแจ้งและเห็นว่าเป็นองค์กรของผู้บริโภคที่มีลักษณะตามมาตรา 5 แล้ว ให้นายทะเบียนกลางหรือนายทะเบียนประจำจังหวัดผู้รับแจ้งออกหลักฐานการแจ้งไว้ให้แก่ผู้แจ้ง และ ให้นายทะเบียนกลางประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ ระบบหรือวิธีการอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

MEA ย้ำความพร้อมดูแลระบบไฟฟ้าในช่วงพายุฝน พร้อมใส่ใจกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะผู้ป่วยติดเตียงอย่างใกล้ชิด
แฟนบอลช็อก "ดิโอโก้ โชต้า" นักเตะลิเวอร์พูล เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่สเปน
เหลี่ยมจัด “ฮุนเซน” แนะเจ้าของปั้มกัมพูชา หยุดซื้อน้ำมันไทย ให้นำเข้าจากแหล่งอื่น แต่ไม่ต้องเปลี่ยนชื่อ
“เฉลิมชัย” สั่งการ อส. ปม. เร่งแก้ปัญหาชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ตามมาตรา 64 และ 121 พร้อมพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้อย่างยั่งยืน
ดิโอโก้ โชต้า นักเตะลิเวอร์พูลเสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์
เริ่มแล้ว งานมหกรรมถนนอาหาร "อุดรเลิศรส" พร้อมเสิร์ฟเมนูเด็ด ทั้งอาหารคาว-หวานและเครื่องดื่ม สายกินต้องไม่พลาด
ช็อกวงการลูกหนัง! ดิโอโก้ โชตา ดาวยิงลิเวอร์พูล เสียชีวิตกะทันหันในอุบัติเหตุสุดสลด
ลุ้นป่วยจริงหรือปลอม พรุ่งนี้ ศาลฎีกา นัดไต่สวนกลุ่มแพทย์-พยาบาล ร่วมดูแล รักษา "ทักษิณ" ชั้น14
"สภาองค์การนายจ้างฯ" ครบรอบ 48 ปี มุ่งยกระดับแรงงานไทย รับมือเปลี่ยนแปลงสู่ยุค AI
“เดชอิศม์” เข้ามหาดไทยพรุ่งนี้ พร้อมดูแลทุกกรม-บำบัดทุกข์บำรุงสุขปชช. มั่นใจเสถียรภาพรัฐบาลมั่นคง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น