No data was found

“ดอกเบี้ยนโยบาย” ส่งผลอะไรบ้างกับปชช. หลังประกาศขึ้น 0.25%

ดอกเบี้ยนโยบาย

กดติดตาม TOP NEWS

"ดอกเบี้ยนโยบาย" คืออะไร เป็นอย่างไร และจะส่งผลหรือเกิดอะไรขึ้นบ้างกับภาคประชาชน หลัง กนง. มีปรับขึ้น 0.25 % เป็น 0.75% ต่อปี ในรอบ 4 ปี

“ดอกเบี้ยนโยบาย” ขึ้น ดอกเบี้ย นโยบาย ดอกเบี้ย นโยบาย คือ ดอกเบี้ยนโยบาย 2565 สืบเนื่องจากล่าสุดทางด้าน ธนาคารแห่งประเทศไทย รายงานว่า กนง. มีมติ 6ต่อ1 ให้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย 0.25 % เป็น 0.75% ต่อปี โดยดอกเบี้ยประเภทนี้คืออะไร และจะส่งผลอะไรกับภาคประชาชนบ้างหากมีการปรับขึ้นเช่นนี้ ที่นี่ TOP News มีคำตอบ

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

โดย อัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะกำหนดโดยธนาคารกลาง เป็นอัตราดอกเบี้ยที่สำคัญที่สุดที่จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยอื่น ๆ ในระบบเศรษฐกิจ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย เป็นอัตราที่ธนาคารกลางจ่ายดอกเบี้ยให้กับธนาคารพาณิชย์ที่เอาเงินมาฝาก หรือเป็นอัตราที่ธนาคารกลางเก็บดอกเบี้ยจากธนาคารพาณิชย์ที่มากู้เงิน ซึ่งอัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะส่งผลกับอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์คิดกับลูกค้าที่เป็นผู้กู้หรือผู้ฝากเงินต่อไป

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

โดยปกติเมื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย นโยบาย ธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตาม เมื่อปรับลดธนาคารพาณิชย์ก็จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ตามเช่นกัน อย่างไรก็ดี ธนาคารพาณิชย์อาจปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินกู้ไม่เท่ากับการปรับอัตราดอกเบี้ย นโยบาย เพราะยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการกำหนดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เช่น ความต้องการเงินกู้ ปริมาณเงินฝาก อัตราเงินเฟ้อ ต้นทุนดำเนินการของธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

 

 

และการปรับอัตราดอกเบี้ย นโยบายนี้ก็ส่งผลต่อการใช้จ่ายของประชาชน ซึ่งการใช้จ่ายของประชาชนจะส่งผลต่อราคาของสินค้าหรือบริการโดยรวมหรือที่เรียกว่า ‘อัตราเงินเฟ้อ’ อัตราดอกเบี้ย นโยบาย จะส่งผลอย่างไรกับเรานั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราเป็นผู้กู้เงินหรือผู้ฝากเงิน

  • ถ้าอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น หากเราเป็นผู้กู้เงิน ดอกเบี้ยที่เราต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้น
  • แต่หากเราเป็นผู้ฝากเงิน เราจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากมากขึ้น 

อีกทั้งถ้าหากคนใช้จ่ายมากเกินไป ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นสูงมาก เศรษฐกิจที่เติบโตรวดเร็วและร้อนแรงเกินไปจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น เงินเฟ้อสูงขึ้นมากจนมูลค่าของเงินลดลง หรือเกิดวิกฤตฟองสบู่แตกทำให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างรวดเร็ว ในกรณีนี้ธนาคารกลางอาจเพิ่มอัตราดอกเบี้ย นโยบายเพื่อชะลอการใช้จ่าย ช่วยให้เศรษฐกิจไม่ร้อนแรงเกินไปได้ นั่นเอง

 

 

ดอกเบี้ยนโยบาย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กัมพูชาเตือนประชาชนเลี่ยง ‘แดด’ หลังอุณหภูมิพุ่ง 43°C
เกาหลีใต้ เตือนภัยสถานทูตใน 5 ประเทศ
หลายชาติส่ง 'ทุเรียน' ตีตลาดจีน ทุเรียนไทยเสี่ยงไม่ได้ 'ยืนหนึ่ง' ต่อ
"สุชาติ" ชม "นายกฯเศรษฐา" ทำงานไวเหมือน "ลุงตู่"
สสส. พอช. และไทยพีบีเอส เปิดบ้าน ชวนคนรุ่นใหม่เสนอโครงการ คนรุ่นใหม่คืนถิ่นเฟส 2 "Movement คนรุ่นใหม่"
"ปคบ." แจงผลคืบหน้าคดี "นอท" เร่งสอบเอาผิด "ลอตเตอรี่ พลัส"
"พิชิต" ลั่น 7 พ.ค. พร้อมแจงทุกสิ่งอย่าง ขัดคุณสมบัตินั่งรมต.?
เขมรหนีความจน! ลอบเข้าไทยหางานที่แปดริ้ว หวังค่าแรง 400 บาท
ผบ.พล.ร.11 นำกำลังพลร่วมกิจกรรมฉัตรมงคล
รวบสมาชิกแก๊งคอลเซ็นเตอร์ยุคบุกเบิก หนีคดีกว่า 14 ปี สอบสวนกลาง ตามรวบ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น