No data was found

“ฝีดาษลิง” กทม. เตรียมความพร้อม รับมือสถานการณ์การแพร่ระบาด

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

กดติดตาม TOP NEWS

"ฝีดาษลิง" กทม.เตรียมความพร้อมรับมือ สร้างความเข้าใจประชาชน พร้อมเปิดวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น เน้นย้ำรพ.สังกัดกทม. หากพบผู้ป่วยให้แยกกักตัวเฉพาะโรค

“ฝีดาษลิง” กทม.เตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ พร้อมเตรียมแผนป้องกันโรค สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน พร้อมเน้นย้ำโรงพยาบาลสังกัดกทม. รวมถึงคลินิกเฉพาะทาง หากพบผู้ป่วยให้แยกกักตัวเฉพาะโรค ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

กทม. เตรียมแผนเผชิญเหตุป้องกันโรค “ฝีดาษลิง” สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน

1. โรงพยาบาลในสังกัดกทม.

  • เฝ้าระวังคนไข้ทั้งห้องฉุกเฉิน (ER) และผู้ป่วยนอก (OPD)
  • รวมถึง รพ.ที่มีคลินิกเฉพาะทาง เช่น คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนัง
  • หากพบผู้ป่วยติดเชื้อจะเร่งแยกกักตัวเฉพาะโรค

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

 

 

2. เน้นย้ำแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคแก่บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ตามมาตรการ Universal Prevention (UP)

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยเฉพาะลิง และหนู
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง รวมถึงลมหายใจและสิ่งของของผู้ป่วย
  • หมั่นล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลทำความสะอาดทุกครั้ง หลังสัมผัสสัตว์ หรือสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
  • ใช้ผ้าปิดจมูกและปาก เมื่อไปในสถานที่เสี่ยงมีโรคระบาด
  • หากพบผู้ป่วยให้แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากผู้อื่นทันที

 

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

3. สังเกตอาการเบื้องต้นของโรคฝีดาษ ลิง

  • มีไข้ หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดกล้ามเนื้อและอ่อนเพลีย บางกรณีอาจมีอาการไอหรือปวดหลังร่วมด้วย
  • หลังจากมีไข้ประมาณ 1-3 วัน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น โดยเริ่มจากใบหน้าแล้วแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนอง และสุดท้ายจะมีสะเก็ดคลุมแล้วหลุดออกมา
  • อาการป่วยดังกล่าวจะเป็นอยู่ประมาณ 2–4 สัปดาห์ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากโรคเองได้
  • ในกรณีผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือมีโรคประจำตัว อาจเกิดโรคแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น ปอดบวม หรือเสียชีวิต

 

 

ทั้งนี้ ขอให้ติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์พาหะ และหลังจากเดินทางกลับจากประเทศที่มีการระบาด ให้สังเกตอาการตนเอง โรคนี้เกิดจากการสัมผัสใกล้ชิด ไม่ได้ติดง่าย มาตรการที่ใช้ป้องกันโควิด19 ยังใช้ป้องกันฝีดาษวานรได้

 

 

 

ฝีดาษลิง, โรคฝีดาษลิง, อาการฝีดาษลิง, โรงพยาบาลสังกัดกทม., รับมือฝีดาษลิง

 

 

 

ข้อมูล : กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รัฐบาลไทย-บรูไนฯ" ยินดีร่วมมือทุกมติ สานสัมพันธ์ทางการทูต ครบรอบ 40 ปี
ศึกยะไข่เดือด กองทัพอาระกัน (AA) ประกาศเคอร์ฟิวด่วนที่สุด หลัง “โรฮิงญา” ซุ่มตีชาวบ้าน
”สมศักดิ์“ เข้าทำเนียบเก็บของ พร้อมลุยงานสาธารณสุขทันที ยันไร้ปัญหา “ชลน่าน”
"ทนายน้องไนซ์" เข้ายื่นนายกฯ ขอตั้งคกก.สอบการทำงานสื่อ ฉะนำเสนอบิดเบือน ปมอ้างเป็นพระพุทธเจ้ากลับชาติมาเกิด
5 ปี หมู-ไข่ ต้นทุนปรับขึ้น คนกินหายห่วง ภาครัฐดูแลราคาสมเหตุผล
"รอง ผบ.ตร." รับอาจสอบ “บิ๊กโจ๊ก” เอี่ยวเว็บพนันฯ ไม่ทันเกษียณ ลั่นจะคืนความยุติธรรมให้ทุกฝ่าย
“สนธิญา” ร้องกกต. สอบ “ธนาธร-ช่อ” วุ่นยุ่งเกี่ยวรณรงค์เลือกสว.
โปรไฟล์ไม่ธรรมดา "มาริษ" อดีตนักการทูต แคนดิเดต รมว.ต่างประเทศ
คอหวยแห่ส่องเลขเด็ด ว่าวแก้บนหลวงปู่สรวง ทำแผงขายล็อตเตอรี่หน้าวัดไพรพัฒนา ขายหมดเกลี้ยง
สมัครด่วน! กรมพัฒน์ ร่วมกับสมาคมฯ วัตถุอันตราย เปิดอบรมบุคลากรโลจิสติกส์ ฝึกฟรี! มีงานรองรับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น