No data was found

“โรคระบาดจากสัตว์สู่คน” ทำแอฟริกาพุ่ง 63% ใน 10 ปี เร่งหยุดยั้ง

โรคระบาดจากสัตว์สู่คน

กดติดตาม TOP NEWS

"โรคระบาดจากสัตว์สู่คน" องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนทวีปแอฟริกาพบการระบาดพุ่ง 63% ใน 10 ปี ย้ำต้องควบคุมก่อนเกิดการติดเชื้อในวงกว้าง

“โรคระบาดจากสัตว์สู่คน” โรคระบาด โรคฝีดาษลิง โรคอีโบลา สืบเนื่องจากทางด้าน สำนักข่าวซินหัว ได้รายงานว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่าทวีปแอฟริกากำลังเผชิญความเสี่ยงการระบาดของเชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คนเพิ่มขึ้น หลังจำนวนการระบาดในภูมิภาคนี้พุ่ง 63% ใน 10 ปี ต้องควบคุมก่อนเกิดการติดเชื้อในวงกว้าง ติดตามเรื่องราวทั้งหมดนี้ที่ TOP News

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

“โรคระบาดจากสัตว์สู่คน” โดยทางด้าน สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า เมื่อวันพฤหัสบดี (14 กรกฎาคม) องค์การอนามัยโลก (WHO) เตือนว่าทวีปแอฟริกากำลังเผชิญความเสี่ยงการระบาดของเชื้อโรคที่แพร่จากสัตว์สู่คนเพิ่มขึ้น เช่น เชื้อไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง ซึ่งเดิมทีมีต้นกำเนิดในสัตว์ ก่อนจะเปลี่ยนสายพันธุ์และแพร่สู่มนุษย์ พร้อมระบุว่าจำนวนการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนในภูมิภาคนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 63 ระหว่างปี 2012-2022 เมื่อเทียบกับช่วงปี 2001-2011

 

 

แถลงการณ์จากสำนักงานภูมิภาคแอฟริกาขององค์การอนามัยโลก อ้างอิงการศึกษาใหม่ขององค์การฯ รายงานเหตุการณ์ด้านสาธารณสุขที่ได้รับการยืนยัน 1,843 รายการ ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งร้อยละ 30 เป็นการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คน โดยเฉพาะที่เชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสอีโบลา ไข้เลือดออก แอนแทรกซ์ กาฬโรค ฝีดาษลิง และอื่น ๆ ทวีปแอฟริการายงานพบผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงสะสม 2,087 รายในปีนี้ เมื่อนับถึงวันที่ 8 กรกฎาคม ซึ่งในจำนวนนี้มีการยืนยันผลเพียง 203 ราย ท่ามกลางจำนวนผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงที่เพิ่มขึ้นไม่นานมานี้

 

 

โรคระบาดจากสัตว์สู่คน

 

 

 

องค์การฯ เผยว่าจำนวนประชากรในทวีปแอฟริกาที่เติบโต นำไปสู่การขยายตัวของพื้นที่เขตเมืองและการบุกรุกที่อยู่อาศัยสัตว์ป่า ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนจากพื้นที่ห่างไกลที่มีประชากรไม่กี่คนไปยังเขตเมืองใหญ่ ‘แอฟริกาเผชิญความเสี่ยงกรณีเชื้อโรคจากสัตว์สู่คนแพร่สู่ใจกลางเมืองขนาดใหญ่มากขึ้น เนื่องมาจากการขนส่งที่ได้รับการปรับปรุง เราต้องดำเนินการตอนนี้เพื่อควบคุมโรคประเภทดังกล่าวก่อนเกิดการติดเชื้อในวงกว้าง และหยุดยั้งแอฟริกาจากการกลายเป็นศูนย์กลางโรคติดเชื้อที่อุบัติขึ้นใหม่’ มัตชิดิโซ โมติ ผู้อำนวยการประจำภูมิภาคแอฟริกาขององค์การฯ กล่าว

 

 

โรคระบาดจากสัตว์สู่คน

 

 

การสกัดกั้นการเพิ่มขึ้นของโรคข้างต้นในแอฟริกานั้นสลับซับซ้อน โดยองค์การฯ ได้แนะนำการดำเนินแนวทางด้านสุขภาพที่ต้องอาศัยความร่วมมือหลายภาคส่วน สาขาวิชา และชุมชน ซึ่งครอบคลุมผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน อาทิ ผู้ที่ทำงานด้านสุขภาพมนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเสนอแนะการแบ่งปันข้อมูลการเฝ้าระวังโรคและกิจกรรมรับมือทั้งที่เกี่ยวกับสุขภาพสัตว์และมนุษย์ ระหว่างนักระบาดวิทยาและผู้เชี่ยวชาญสุขภาพแขนงอื่นอย่างเป็นประจำ

 

 

โมติเสริมว่าเราต้องการกำลังจากทุกฝ่ายเพื่อป้องกันและควบคุมโรคจากสัตว์สู่คน เช่น อีโบลา โรคฝีดาษลิง และแม้แต่เชื้อไวรัสโคโรนาอื่น ๆ โดยโรคจากสัตว์สู่คนเกิดจากเหตุการณ์ที่ทำให้เชื้อแพร่กระจายจากสัตว์สู่มนุษย์ เมื่อเราทำลายกำแพงระหว่างสาขาวิชาลง เราก็จะสามารถรับมือปัญหานี้จากทุกแง่มุมได้ ทั้งนี้ องค์การฯ เสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคกับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) นับตั้งแต่ปี 2008 เพื่อสนับสนุนความพยายามแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนในแอฟริกา โดยเมื่อไม่นานนี้หน่วยงานทั้งสามได้ทำงานร่วมกันเพื่อรับมือการระบาดของอีโบลา ครั้งที่ 14 ซึ่งเพิ่งจะสิ้นสุดลงในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

 

 

โรคระบาดจากสัตว์สู่คน

 

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : China Xinhua News

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปลดป้ายชื่อ “หมอชลน่าน” คืนห้องรมว.สธ. เจ้าหน้าที่ขนของกลับ เหลือแค่พระพุทธรูปองค์เดียว
ทึ่ง..อดีตโปรดิวเซอร์รายการตลก ลาออกจากงาน คิดค้นสูตรกาแฟ อาหารประยุคอิตาเลี่ยน-อีสาน ขับรถตระเวนขายทั่วไทย ถูกใจลูกค้า สร้างรายได้ดี
เมืองไทยประกันภัย จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 จ่ายเงินปันผล 5.00 บาทต่อหุ้น
แพทย์ชนบทเปิดสาเหตุ “หมอชลน่าน” ถูกเด้งพ้นสธ.สุดโดดเดี่ยว
เปิดประวัติ "ม.ล.ชโยทิต กฤดากร" ผู้แทนการค้าไทย-ที่ปรึกษา 2 นายกฯ 2 รัฐบาล คีย์แมนสำคัญ ดึงดูดลงทุนเข้าประเทศ
อีลอน มัสก์ พบนายกฯจีน
สหรัฐ ประท้วงหนุนปาเลสไตน์ลุกลาม
คลื่นความร้อนระอุทั่วเอเชีย
สหรัฐ ทอร์นาโดถล่ม ดับ 2 ราย
จังหวัดชัยภูมิแล้งหนัก แหล่งน้ำแห้งขอดไม่เพียงพอต่อการเกษตร เริ่มเกิดการแย่งน้ำแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น