No data was found

ปศุสัตว์เลย เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร

กดติดตาม TOP NEWS

อ.เมืองเลย จ.เลย สนง.ปศุสัตว์เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 09.30 น.วันที่ 12 ก.ค.2565 ณ ศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (ศูนย์ กยท. เลย) บ้านผากลางดง ต.ธาตุ อ.เชียงคาน จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ประธานในพิธีเปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร มีหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเกษตรกรร่วมในพิธีจำนวน นายอภินันท์ สุวรรณโค อำเภอเชียงคาน กล่าวต้อนรับ มีกิจกรรมชมการแสดงบูธนิทรรศการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอาหารสัตว์) นิทรรศการนวัตกรรม ทางด้านการเกษตรและอาหารสัตว์ เช่น การผลิตพืช อาหารสัตว์ และเครื่องจักรกล/อุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการผลิตอาหารสัตว์ จากภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง การแสดงนิทรรศการ รูปแบบ แฟรนไชส์ ฟีด เซ็นเตอร์ (Franchise Feed Center) กับ ODIN โดย บริษัท โอดิน คอปอเรชั่น จำกัด มีกิจกรรมการลงนามบันทึกข้อตกลง ( MOU ) ของการซื้อขายอาหารสัตว์ ระหว่างกลุ่มผลิต อาหารสัตว์ กับบริษัท โอดิน คอปอเรชั่น จำกัด เยี่ยมชม นิทรรศการ การสาธิตผลิตอาหารสัตว์ของกลุ่มเกษตรกร

นายสุวัฒน์ มัตราช ปศุสัตว์จังหวัดเลย กล่าวรายงานว่า พิธีเปิด “ศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) จังหวัดเลย”(ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร จังหวัดเลย) วันนี้จังหวัดเลย ได้อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ ตามงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ บาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกจำเป็นของรัฐบาล , โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเลย ได้รับอนุมัติ “ให้ดำเนินโครงการพัฒนา ธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร จังหวัดเลย” ในวงเงิน 8,090,000 บาท,

สำหรับดำเนินการฝึกอบรมเกษตรกร .20,700 บาท และเป็นงบลงทุนจัดซื้อครุภัณฑ์การเกษตรใช้ผลิต อาหารสัตว์ เป็นเงิน 8,069,300 บาท ได้แก่ เครื่องผสมอาหารสัตว์ครบส่วน พร้อมชุดลำเลียง และบรรจุ, เครื่องอัดก้อนพร้อมห่อพลาสติก รถตัก และเครื่องอัดเม็ดอาหารสัตว์พร้อมชุด, โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อ ส่งเสริมพัฒนากลุ่มเกษตรกรทำธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ ชุมชนจำหน่าย เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิตและการตลาดในระบบการผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (ระหว่างผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์, ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และผู้เลี้ยงสัตว์) และ เพื่อ พัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในระบบการผลิตอาหารสัตว์ชุมชน บัดนี้ได้ ดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรกลการเกษตร สำหรับผลิตอาหารสัตว์ ตามโครงการ ฯ เรียบร้อยแล้ว โดยกลุ่มเกษตรกรจะเป็นผู้ยืมใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งเป็นครุภัณฑ์ของทางราชการ มีสัญญายืมปีต่อปี และกลุ่มเกษตรกรได้เช่าสถานที่ดำเนินการ ซึ่งเป็นศูนย์รับซื้อปัจจัยการผลิต
และการตลาด ของการยางแห่งประเทศไทย จังหวัดเลย

สำนักงานจังหวัดเลย ที่ได้ให้การในการพิจารณาเห็นชอบโครงการ กยท. จังหวัดเลย ซึ่งเป็นเจ้าภาพสถานที่ร่วมดำเนินการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์เลย ธ.ก.ส.จังหวัดเลย/ธ.ก.ส.หน่วย/สาขาในพื้นที่ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ และ ผู้นำท้องถิ่น/ท้องที่ ในเขตพื้นที่ อปท. 2 แห่ง (โดยเฉพาะนายก อบต.น้ำสวย อ.เมืองเลย และนายก ทต.ธาตุ อ.เชียงคาน) กลุ่มเกษตรกร กยท.บ้านสูบ ต.น้ำสวย และกลุ่ม เกษตรกรบ้านน้ำภู ต.เมือง อ.เมืองเลย ตลอดจนบุคลากรเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่ได้ให้การสนับสนุน เกษตรกรผู้ปลูกพืชอาหารสัตว์ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ตัวแทนกลุ่มผู้ซื้ออาหารสัตว์ ตลอดจนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด จำนวน 200 คน

ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยว่า เปิดศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ชุมชน (Feed Center) ภายใต้โครงการพัฒนาธุรกิจผลิตอาหารสัตว์ชุมชนแบบครบวงจร เป็นงบกลางและเป็นต้นแบบและการนำล่องสร้างวิถีชีวิตแก่เกษตรกรที่ปลูกพืช และการเลี้ยงสัตว์ เชื่อมโยงกัน บริการทั้งด้านการเกษตรและอาหารสัตว์ เครื่องทำ ผสมอาหารอัดเม็ดงบประมาณกว่า 8 ล้านบาท เพื่อลดทุนการการผลิต การรวมกลุ่มเกษตรกรได้อย่างดี และบูรณาการส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจร่วมกัน เนื่องจากจังหวัดเลยมีศักยภาพสูงทาง ธรรมชาติ ดิน น้ำและอากาศที่ดีเหมาะแก่การเกษตรและการลี้ยงสัตว์มาก การเปิดศูนย์แห่งนี้ในเบื้องต้นมีพื้นที่ครอบคลุมที่มีมาตรการคุณภาพเป็นจุดคุ้มทุน ประกอบด้วย อ.เมืองเลย นาด้วง เชียงคานและ อ.ปากชม 3,000 ไร่ ในรัศมี 20 กม.เป็นการเชื่อมโยงการ ทั้งในระดับต้นน้ำ คือเกษตรกรที่รวมกลุ่ม กลางน้ำคือระบบการผลิต และปลายน้ำคือเอาไปใช้ในการเกษตรและระบบอุตสาหกรรม ทั้ง 3 ส่วนผสมผสานกันอย่างดี.

ภาพ/ข่าว บุญชู ศรีไตรภพ ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.เลย

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กกต.เตือนกลุ่มบุุคคล-องค์กร จูงใจเชิญชวนให้คนลงสมัครสว. เสี่ยงทำผิดกฎหมาย
เปิดคลิปวินาที สุดกร่าง "ผู้บริหารหญิง" บ.ระดับโลก เมาแล้วขับ ด่าตร.ชั้นต่ำ แถมถีบหน้า
"พิพัฒน์" รุกพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ รับธุรกิจขนส่ง-การค้าระหว่างปท.ขยายตัว
เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา รัฐควรบังคับเอกชนใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกรายเท่าเทียม
"สหพัฒน์" จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 2.00 บาท
อนุโมทนาบุญ "กรรชัย" เผยไม่รู้ "น้องภูมิ" จะบวช เล่าซึ้งเบื้องหลัง ช่วยรักษา แถมเคลียร์หนี้ให้แม่
“สนธิญา” รายงานตัวต่อศาลหลังถูกออกหมายจับคดี "พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์" ยันไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
"บิ๊กต่าย" ย้ำปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมาย ปมสั่งเด้ง "บิ๊กโจ๊ก" ลั่นเป็นสิทธิ์ของเจ้าตัวยื่นร้องเรียน
"ทนายตั้ม" บุกจเรตำรวจ ยื่นคัดค้านแต่งตั้ง ก.ร.ตร. หลังพบเคยเป็นบุคคลคู่ขัดแย้ง
หนุ่มลูกครึ่งไทยอเมริกัน ดิ่งชั้น 8 คอนโดฯ ดับ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น