No data was found

กบร. เคาะ 4 นโยบาย เตรียมพร้อมด้านการบิน รับ“ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”  

กดติดตาม TOP NEWS

ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน เตรียมพร้อมมาตรการด้านการบินรับการเปิดประเทศ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ในก.ค. คาดอุตสาหกรรมการบินฟื้น หนุนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ธ.ค.64 อยู่ที่ประมาณ 1.4 ล้านคน เพิ่มจากก.ค. ประมาณ 10 เท่า

ประชุมคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) ครั้งที่ 6/2564 นำโดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการการบินพลเรือน ร่วมกันสอบทานมาตรการด้านการบิน เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปิดประเทศ นำร่องจ. ภูเก็ต ในเดือนกรกฎาคมเป็นที่แรก (ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์) หากสำเร็จจะขยายไปอีก 9 จังหวัดและเปิดทั้งประเทศในอีก 120 วันข้างหน้า ซึ่งคาดว่าอุตสาหกรรมการบินของไทยจะฟื้นฟูและมีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศในเดือนธันวาคม 2564 ราว 1,400,000 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม 2564 ประมาณ 10 เท่า (ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลการบินนานาชาติ OAG)

รวมทั้ง กบร. ได้ให้นโยบายเร่งศึกษาการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการจัดการสนามบินภายในประเทศ และให้กระทรวงคมนาคมเชิญหน่วยงานที่ดูแลสนามบินร่วมหารือเดินหน้า เพื่อพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลผู้โดยสารและการให้บริการที่รวดเร็วขึ้น ลดการสัมผัส และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เดินทางจากทั่วโลก

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรียังได้ประกาศเป้าหมายการเปิดประเทศไทยทั้งประเทศภายใน 120 วัน ดังนั้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการฟื้นฟูการท่องเที่ยวซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศและเพื่อให้เกิดการฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินของไทยซึ่งเป็นการคมนาคมหลักที่จะนำนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศ ที่ประชุม กบร. จึงมีมติกำหนดนโยบายที่สำคัญ ดังนี้

 

  1. ศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศ

สั่งการให้จัดสรรเวลาการบิน (Slot) อย่างเหมาะสม โดยขณะนี้มีเที่ยวบินทั้งในและระหว่างประเทศอยู่ในกำหนดการบินประจำฤดูร้อน 2564 คือ 1 กรกฎาคม – 30 ตุลาคม 2654 และในกำหนดการบินประจำฤดูหนาว 2564/2565 31 ตุลาคม 2564 – 26 มีนาคม 2565 เรียบร้อยแล้ว

เบื้องต้น สนามบินภูเก็ตในกำหนดการบินประจำฤดูร้อน 2564 มีเที่ยวบินจัดสรรแล้วราว 134 เที่ยวบินต่อวัน จากขีดความสามารถในการรองรับ 480 เที่ยวบินต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 28 โดยคาดว่าจะขออนุญาตเพิ่มขึ้น เมื่อเริ่มเปิดประเทศ

สำหรับในกำหนดการบินประจำฤดูหนาว 2564/2565 มีจำนวนเที่ยวบินที่จัดสรรไปยังสนามบินภูเก็ตแล้วประมาณ 320 เที่ยวบินต่อวัน จากขีดความสามารถในการรองรับ 360 เที่ยวบินต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 89

ทั้งนี้ เที่ยวบินระหว่างประเทศที่ได้รับการจัดสรรขณะนี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิกและยุโรป (ข้อมูล Slot ณ วันที่ 11 มิ.ย. 2564 ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง)

 

สำหรับเดือนกรกฎาคม คาดว่าจำนวนเที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งประเทศ จะเพิ่มจาก 5,698 เที่ยวบิน (พ.ค. 2564) เป็น 13,354 เที่ยวบิน ส่วนจำนวนผู้โดยสารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 79,226 คน (พ.ค. 2564) เป็น 146,448 คน และคาดว่าในเดือนธันวาคม 2564 ประเทศไทยจะมีผู้โดยสารเที่ยวบินระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 1,469,805 คน หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่า จากในเดือนกรกฎาคม 2564

กบร. จึงได้เน้นย้ำให้สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ตรวจสอบความพร้อมด้านการบินให้ครอบคลุมทุกมิติก่อนเปิดประเทศเพื่อเตรียมการให้เป็นไปอย่างราบรื่น หลังจากที่ผ่านมาจำนวนเที่ยวบินอยู่ในระดับต่ำมาเป็นเวลานาน

 

ทั้งนี้ เป้าหมายการฟื้นฟูระยะยาวของอุตสาหกรรมการบินไทย สถิติเดิมของผู้โดยสารระหว่างประเทศในช่วงปี 2562 ก่อนการระบาดของโควิด-19 มีจำนวนราว 89 ล้านคน แต่ในปี 2563 ลดลงเหลือเพียงราว 16 ล้านคน ลดลงร้อยละ 81.7 ซึ่งหากการเปิดประเทศเป็นไปตามเป้าหมายและอุตสาหกรรมการบินมีการฟื้นตัว ในระยะยาวคาดว่าไทยจะกลับมามีผู้โดยสารระหว่างประเทศในจำนวนที่ใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดสถานการณ์การระบาดได้ ก่อนปี 2568

  1. การเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยของสนามบินสายการบิน เครื่องบินและนักบิน

ตามปกติแล้ว CAAT มีแผนในการตรวจสอบด้านความปลอดภัยตามวงรอบในทุกประเภทของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่อง แต่เพื่อการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ รองรับการกลับมาเปิดประเทศ CAAT จึงมีทั้งวิธีการออกตรวจแบบเดิม (Onsite audit) และปรับวิธีการตรวจเป็นแบบระยะไกล (Remote audit) เพื่อให้เหมาะสมตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19

ในส่วนของสนามบิน โดยกรมท่าอากาศยาน บริษัทท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) การท่าอากาศยานอู่ตะเภาและบริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ต้องส่งรายการตรวจสอบและหลักฐานการดำเนินงานของสนามบินภายในเดือนมิถุนายนนี้ เพื่อประเมินความพร้อมด้านมาตรฐานความปลอดภัยก่อนเปิดให้บริการ ซึ่งเป็นรายงานฉบับปรับปรุงโดยเฉพาะเพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19  โดย CAAT จะตรวจสอบรายงานและหลักฐานที่ส่งมาให้หากพบประเด็นความไม่พร้อมจากสนามบินนั้น ๆ สนามบินจะต้องเร่งแก้ไขก่อนที่จะสามารถเริ่มกลับมาให้บริการระหว่างประเทศได้อย่างเต็มรูปแบบ

ด้านสายการบินของไทยและเครื่องบิน ต้องได้รับการตรวจสอบการปฏิบัติงานในฐานะผู้ได้รับใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ ตรวจสอบแผนการบำรุงรักษาและสภาพเครื่องบิน  ซึ่งที่ผ่านมา CAAT ตรวจตามแผนและวงรอบที่กำหนดอย่างต่อเนื่องทั้งวิธีการตรวจแบบ Onsite และ Remote แต่เพื่อทดสอบความพร้อมเป็นกรณีพิเศษ สายการบินจะต้องได้รับการตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแบบฟอร์มที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะสำหรับสถานการณ์โควิด-19 และในส่วนของเครื่องบินหากจอดเป็นระยะเวลานานต้องตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้พร้อมนำกลับมาให้บริการผู้โดยสารอย่างปลอดภัย เช่น เครื่องบินของการบินไทย จะต้องได้รับการตรวจสอบก่อนนำกลับไปให้บริการระหว่างประเทศในเดือนกรกฎาคมนี้เป็นสายการบินแรก ส่วนเครื่องบินของสายการบินอื่น ๆ หากมีความพร้อมสามารถขอเข้ารับการตรวจได้เช่นกัน

สำหรับนักบินและพนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศ แม้เที่ยวบินระหว่างประเทศจะลดลง แต่ที่ผ่านมาได้กำหนดให้ปฏิบัติงานในห้องจำลองอย่างต่อเนื่อง เพื่อรักษาชั่วโมงและเตรียมพร้อมการกลับมาปฏิบัติหน้าที่อยู่เสมอ

  1. การป้องกันการแพร่ระบาดของโรคของผู้โดยสารและบุคลากรทางการบิน

ได้จัดให้บุคลากรด้านการบินที่ปฏิบัติหน้าที่ในด่านหน้า ฉีดวัคซีนเข็มแรกเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2564 ส่วนบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินโดยรวม ขณะนี้ฉีดวัคซีนเข็มแรกไปแล้วประมาณ 48,351 คน (13 มิ.ย. 2564) และกำลังทยอยเข้ารับวัคซีนเข็มที่ 2 อย่างต่อเนื่อง

ในการกลับมาเปิดให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ ผู้ให้บริการต้องปฏิบัติตามกรอบการดำเนินงานระหว่างสถานการณ์โควิด-19 ขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) Guidance for Air Travel through the COVID-19 Public Health Crisis และคำแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งกำหนดไว้เป็นมาตรฐานสากลรวมถึงต้องปฏิบัติตามประกาศของ CAAT ที่ปรับปรุงเป็นระยะให้ทันต่อสถานการณ์อย่างเคร่งครัด และประกาศแต่ละจังหวัด เพื่อให้สามารถป้องกันโรคอย่างรัดกุม ถูกต้อง และส่งเสริมให้บรรลุตามเป้าหมายที่ประเทศไทยได้วางไว้

  1. เร่งศึกษาแนวทางการนำเทคโนโลยีมาช่วยพัฒนาการจัดการสนามบินภายในประเทศ

กบร. ได้ให้นโยบายเร่งศึกษาการนำเทคโนโลยีการจัดการระบบข้อมูลผู้โดยสารและบริการมาใช้สำหรับสนามบินภายในประเทศ และให้กระทรวงคมนาคมเชิญหน่วยงานที่ดูแลสนามบินร่วมหารือเดินหน้า เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้โดยสารจากทั่วโลกที่คาดว่าจะเดินทางมายังประเทศไทยเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศภายในสิ้นปีนี้ และมีการท่องเที่ยวภายในประเทศ โดยเทคโนโลยีที่พิจารณาให้นำมาใช้ มีดังนี้

  1. ระบบรายงานข้อมูลผู้โดยสารล่วงหน้าสำหรับผู้โดยสารภายในประเทศ (Domestic API) สายการบินจะสามารถส่งรายงานข้อมูลส่วนบุคคลแบบอิเล็กทรอนิกส์ของผู้โดยสารภายในประเทศให้กับสนามบินต้นทาง ปลายทาง และสนามบินที่มีเที่ยวบินแวะผ่าน (Transit/Transfer) เพื่อใช้สำหรับการเช็คอินขึ้นเครื่องบิน (Check-in) ได้ ทำให้ขยายขีดความสามารถการเชื่อมโยงและติดตามข้อมูลของผู้โดยสารภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมถึงเตรียมรองรับการใช้งานหนังสือเดินทางสุขภาพ (Health Passport) ในอนาคต
  2. ระบบบริการผู้โดยสารขึ้นเครื่อง CUPPS (Common Use Passenger Processing System) หรือระบบเช็คอินด้วยตนเองอัตโนมัติ ผู้โดยสารจะสามารถเช็คอินด้วยตนเองโดยกรอก Booking Number จากนั้นระบบจะพิมพ์บัตรโดยสารและป้ายติดสัมภาระ (Baggage Tag) โดยอัตโนมัติ รวมถึงมีระบบพิสูจน์อัตลักษณ์ที่แม่นยำ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการผู้โดยสารในสนามบินภายในประเทศให้เป็นมาตรฐานทัดเทียมสนามบินนานาชาติ และช่วยลดจำนวนเจ้าหน้าที่ ลดขั้นตอนการตรวจสอบเอกสาร ลดการสัมผัสและลดความแออัดภายในสนามบิน เพื่อรองรับการเดินทางทางอากาศในรูปแบบใหม่ในอนาคต (ปัจจุบันสนามบินนานาชาติของประเทศไทย มีการใช้งานทั้ง 2 ระบบอยู่แล้ว)

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์เพลิงไหม้โรงงานเก็บการสารเคมีอุตสาหกรรมวินโพรเสส สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งควบคุมสถานการณ์ไฟที่ปะทุ และจัดทำแผนการเยียวยา ปชช.
กองทัพเรือ ร่วมมูลนิธิ รพ.สิริกิติ์ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ทอดผ้าป่าสามัคคีการกุศล
"บีทีเอส" แจงปมผู้โดยสารติดลิฟต์ สถานีแบริ่ง จนท.เร่งช่วยเหลือปลอดภัย
"ตร.ไซเบอร์" บุกทลาย 2 เหมืองบิทคอยน์ ภาคตะวันตก ลักไฟหลวง 2 เดือน กว่า 5 ล้านบาท
"กกต." เตือน จูงใจ ชี้ชวนให้คนลงสมัครสว.เสี่ยงผิดกฎหมาย
ข่าวดี "นายกฯ" เผยยางพาราแตะ กก. 100 บาทเร็วๆนี้ ลั่นมาจากการทุ่มเททำงาน ไม่ใช่โชคช่วย
สอบสวนกลาง รวบ "หนุ่มดาวทวิต" ลวงเด็กชายถ่ายคลิปสร้างคอนเทนต์ ขายในกลุ่มลับ
จนท.ชุดลาดตระเวนกว่า 20 นาย เร่งติดตาม "แก๊งผ้าเหลือง" ลอบล่าสัตว์ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
สอบสวนกลาง บุกค้นโรงงานรีไซเคิลพลาสติกเถื่อน ชลบุรี สร้างความเดือนร้อนให้ชุมชน
เปิดเบื้องลึก "รมว.ปุ๋ง" ถูกโยกนั่งวธ. รับงานใหญ่ ลุย Soft Power

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น