“น้ำผึ้ง” สุดหอมหวาน แต่กับเด็กทารกอาจถึงตาย แพทย์เตือนระวัง

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

"น้ำผึ้ง" รู้หรือไม่? รสชาติหอมหวาน ของโปรดของใครหลายคน เป็นพิษต่อเด็กทารกนะรู้ยัง? แพทย์ย้ำ ฝืนทานต่อเสี่ยงติดเชื้อถึงตายได้ ระวังด่วนก่อนสาย

“น้ำผึ้ง” TOP News รสชาติหอมหวาน แสนคุ้นเคย ไม่ว่าจะอยู่ในเมนูไหนก็สามารถชูรสชาติโดดเด่นได้ไม่ซ้ำใคร จนกลายเป็นของโปรดในดวงใจของใครหลายคน จนทำให้หลายคนหวังดี อยากให้ลูกน้อยทานของอร่อยบ้าง มิกซ์เมนูให้เด็กทานเพลิน ๆ โดยที่ไม่รู้เลยว่า ผลสะท้อนกลับจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ แพทย์เตือน ระวังด่วนก่อนสาย

ข่าวที่น่าสนใจ

ใครจะรู้ว่า รสชาติหอมหวานนี้ จะเคลือบไปด้วยพิษร้ายต่อเด็กน้อย จนทำให้หลายคนอาจจะพลาดไป เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เราจะพาคุณพ่อคุณแม่ป้ายมาทำความเข้าใจกันก่อน เพราะอะไร ของหวานชนิดนี้ถึงไม่เป็นพิษกับผู้ใหญ่ แต่ส่งผลกับเด็กทารกเท่านั้น? นั่นก็เป็นเพราะว่า เด็กทารก เป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้ง่าย ยังมีภูมิคุ้มกันต่ำ และอวัยวะบางอย่างยังพัฒนาและทำงานไม่ได้เต็มที่  ดังนั้น เวลาที่คุณพ่อคุณแม่จะให้ลูกน้อยทานอะไร ควรระวังระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะวัยทารกอายุไม่เกิน 1 ปี

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ซึ่งก่อนหน้านี้ เคยมีเคสทารกน้อยเคราะห์ร้ายหลายราย ต้องเสียชีวิตลง เนื่องจาก ทาน “น้ำผึ้ง” เข้าไป ทำให้เกิดโรคโบทูลิซึม หรือภาวะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากการได้รับสารพิษจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ที่ปนเปื้อนในอาหารเข้าไปนั่นเอง

โดยเชื้อนี้เจริญเติบโตได้ดี และสร้างสสารพิษในภาวะที่มีออกซิเจนน้อย มักพบใน

  • อาหารกระป๋องที่มีการจัดเก็บไม่ได้มาตรฐาน เช่นมีรอยบุบ รั่ว หรือแตก
  • หน่อไม้ปี๊ป ที่ไม่ได้ปรุงด้วยความร้อนนานพอ หรือปรับค่าความเป็นกรดที่เหมาะสม
  • น้ำ ผึ้ง

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

อาการของโรคโบทูลิซึม 

  • ท้องเสียหรือท้องผูก
  • กลืนน้ำ และอาหารลำบาก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • อาจมีอาการหายใจลำบาก หรือหัวใจหยุดเต้น
  • หากไม่รีบไปพบแพทย์อาจเกิดอันตรายจนเสียชีวิตได้

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ประกอบกับร่างกายของเด็กทารกมีการพัฒนาการของระบบย่อยอาหารยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ เหมาะต่อการเจริญของเชื้อด้วยพัฒนาการเคลื่อนไหวยังไม่ดีและความเป็นกรดต่ำ แบคทีเรียซึ่งเข้าสู่ทางเดินอาหารจึงแบ่งตัวสร้างสปอร์ และสารพิษได้ แตกต่างจากเด็กโต หรือผู้ใหญ่ ลำไส้จะกำจัดเชื้อออกไปจากร่างกายได้ก่อนที่เชื้อจะเพิ่มจำนวน จึงทำให้สามารถบริโภคได้โดยไม่สร้างอันตรายต่อร่างกาย นอกจากนี้ ยังทำให้เด็กทารกติดหวาน ฟันผุ เป็นโรคอ้วนหรือขาดสารอาหารที่มีประโยชน์ได้อีกด้วย

 

 

 

น้ำผึ้ง,​เด็กทารก,​ โรคโบทูลิซึม

 

 

 

ข้อมูล : oryor, pobpad และ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สวธ. จัดประกวด Cosplay World Thailand 2025 หนุนคนรุ่นใหม่ แสดงพลัง Soft Power ผ่านศิลปะไทยประยุกต์ ต่อยอดสู่อาชีพในอนาคต
หลายหน่วยงาน เข้าช่วยเหลือ เด็กออทิสติก หลังแม่ผูกคอหนีปัญหาหนี้สิน ก่อนฟื้นคืนชีพต่อหน้าเจ้าหน้าที่
ด่านผ่านแดนถาวรบ้านเขาดิน อ.คลองหาด จ.สระแก้ว เงียบเหงา คนกัมพูชาทำงานในไทยรอดูสถานการณ์หลังไทยผ่อนปรน
"กรมบังคับคดี" ร่วมงานมหกรรมการเงินหาดใหญ่ MONEY EXPO 2025 เดินหน้าจัดงานไกล่เกลี่ยหนี้ ช่วยประชาชนเข้าถึงความยุติธรรมอย่างเป็นธรรม
"นิพนธ์" สวนเดือดผู้บริหารปชป. ลั่นเลือดแท้รับได้มติพรรค แต่รับไม่ได้พวกใช้อำนาจสั่ง ขู่ไล่คน เพื่อบังคับยัดเยียด ยอมรับมติโจร
RBSO ร่วมกับ สวธ. จัดการแสดงคอนเสิร์ต Royal Concert “A Celebration of Thai Masters” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี
"วิโรจน์" หยันสุด "พิชัย" บินเจรจาภาษีการค้าสหรัฐไร้ข้อสรุป หยันเหมือนมวยโดนจระเข้ฟาดหาง จะฟื้นตัวทันเดดไลน์หรือไม่
ปิดประตูตีมาร! หยุดอนุญาตธุรกิจรักษ์โลกจอมปลอม ปูพรม ฟาดรีไซเคิล EEC เถื่อน
ลือ ! เปิดชายแดนหาดเล็ก 7 หรือ 10 กรกฎาคมนี้
"เอกนัฏ" เอาจริง จัดการบริษัทลักลอบนำกากอุตสาหกรรมม ไปฝั่งใต้ดินในพื้นที่โซน EEC

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น