No data was found

“จุฬาฯ”ชูความสำเร็จ สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 พร้อมเปิดตัว สุนัขทั้ง 6 ตัว

กดติดตาม TOP NEWS

จุฬาฯ ร่วมเอกชน ชูความสำเร็จงานวิจัยใช้สุนัขดมกลิ่นคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 ผ่านการทดสอบและให้บริการตรวจคัดกรองแก่พนง.บริษัทเชฟรอน ฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา รวมทั้งพื้นที่กรุงเทพฯ พบมีความแม่นยำ 96% พร้อมสนับสนุนสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.2564 ที่อาคาร 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีพิธีเปิดตัว “รถดมไว เพื่อนำสุนัขดมกลิ่นคัดกรอง COVID-19 ออกปฏิบัติงานภาคสนาม” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับ บริษัทเชฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด และบริษัทพีคิวเอ แอสโซซิเอส จำกัด พร้อมทั้งภายในงานยังสุนัข ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ 6 ตัว ที่ได้รับการฝึกดมกลิ่นผู้ติดเชื้อ COVID-19 และ ชมการตรวจคัดกรองตัวอย่างเหงื่อบน “รถดมไว” ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยเคลื่อนที่สำหรับการปฏิบัติงานของสุนัข

ผศ.ดร.จุฑามาศ รัตนวราภรณ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้ออกแบบรถดมไว กล่าวว่า รถที่ออกแบบจะคำนึงถึงความสะดวกสบายของสุนัข โดยทำงานในห้องแอร์เย็นสบาย ขั้นตอนการทำงาน คือ เราจะใช้สำลีหนีบไว้ที่รักแร้ของผู้สัมผัสทั้งสองข้างข้างละ 5 นาทีเพื่อเก็บเหงื่อจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนการเตรียมการณ์ให้สุนัขดมเนื่องจากกลิ่นเหงื่อของแต่ละคนจะมีกลิ่นเฉพาะ ซึ่งสุนัขมีความสามารถรับกลิ่นได้มากกว่ามนุษย์ถึง 50 เท่า ขณะที่เชื้อไวรัสโควิดก็มีกลิ่นเฉพาะตัวของมันเช่นกัน หากสุนัขดมกลิ่นเหงื่อแล้วไม่ได้กลิ่นก็จะเดินผ่าน แต่หากดมแล้วมีเชื้อโควิด สุนัขก็จะนั่งลงเราก็จะนำบุคคลนั้นไปตรวจหาเชื้อ โดยวิธีการ RT-PCR อีกครั้ง ทั้งนี้ จากการทดสอบสุนัขดมกลิ่นมีความแม่นยำในการตรวจหาเชื้อถึง 96% วิธีการนี้จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตรวจเชิงรุกได้รวดเร็วขึ้น รวมทั้งลดภาระการสว๊อป โดยแต่ละรอบสุนัขสามารถดมกลิ่นได้รอบละ 12 ตัวอย่างในภาพรวมสามารถตรวจได้วันละ 600 ถึง 1,000 ตัวอย่าง
นพ.วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขอบคุณจุฬาที่คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ และนำมาสนับสนุนการควบคุมโรค ที่ผ่านมาจุฬาฯได้นำรถวิเคราะห์ผลด่วนพิเศษ ช่วยงานของกรมควบคุมโรคได้มากสำหรับรถดมไว จะเป็นอีกนวัตกรรมหนึ่งที่จะช่วยในการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่ โดยจะนำไปใช้ควบคู่กับการตรวจผลเพื่อใช้ทำงานการตรวจเชิงรุกในชุมชนที่เกิดการระบาด โดยทีมกรมควบคุมโรคจะคัดกรองแบ่งกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ จากนั้นจะให้สุนัขช่วยคัดกรองในกลุ่มผู้สัมผัสเสียงต่ำ หากพบสุนัขจะนั่งลง แสดงว่าเป็นผู้ติดเชื้อเราก็จะนำบุคคลนั้นไปสว๊อปหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR เพื่อตรวจหาเชื้อยืนยันผลอีกครั้ง

ทั้งนี้ ในแต่ละวันรถตรวจหาเชื้อจะสว๊อปประชาชนในชุมชนประมาณวันละ 1,000 คน การนำสุนัขมาช่วยดม ซึ่งมีความแม่นยำในระดับที่ใช้ได้ จะช่วยลดการสว๊อป ซึ่งจะช่วยประหยัดทรัพยากรไปได้มาก ส่วนพื้นที่ที่จะลงไปคัดกรองเชิงรุกโดยใช้สุนัขดมกลิ่นนั้นขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของกรมควบคุมโรค
ดร.ชฎิล กุลสิงห์ อาจารย์ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมวิจัย อธิบายการใช้สุนัขดมกลิ่น ว่า สารเคมีระเหยง่ายที่เก็บมาจากผิวหนังมนุษย์อาจมาจากแหล่งกำเนิดหลายแหล่ง ได้แก่ ต่อมใต้ผิวหนังชนิด Eccrine, Sebaceous และ Apocrine โดยต่อม Apocrine นี้จะเป็นต่อมสำคัญที่ผลิตสารระเหยง่าย เป็นกลิ่นตัวเฉพาะของมนุษย์ ส่วนต่อมอีกสองชนิดจะผลิตสารเคมีที่ไม่ระเหยง่ายเป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีผลต่อกลิ่นตัวโดยตรง
อย่างไรก็ตาม สารพวกนี้จะถูกนำไปใช้ต่อโดยแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ใต้ผิวหนังมนุษย์ แล้วเปลี่ยนเป็นสารระเหยง่าย ให้กลิ่นไปปนอยู่กับกลิ่นตัวมนุษย์ ดังนั้นกลิ่นโดยรวมของตัวอย่างเหงื่อที่ดูดซับโดยแท่งสำลี แล้วเก็บมาให้สุนัขดม จะมีคุณสมบัติแตกต่างกันขึ้นกับชนิดและปริมาณของต่อมในแต่ละอวัยวะ การที่ผู้ป่วยโควิด-19 มีกระบวนการเผาผลาญในร่างกายที่แตกต่างออกไปจากก่อนที่จะได้รับเชื้อ ทำให้มีสารเคมีจากต่อมทั้งสามชนิดเปลี่ยนแปลงไปทั้งชนิดและปริมาณ จึงถูกตรวจจับโดยสุนัขได้

หลังรายงานความสำเร็จของโครงการวิจัย “การใช้สุนัขดมกลิ่นตรวจหาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการ” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ในเดือนมีนาคม 2564 สุนัขดมกลิ่นได้ให้บริการตรวจคัดกรองแก่พนักงานบริษัทเชฟรอน ฯ และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา แล้วจำนวนกว่า 500 ราย

เมื่อมีการระบาดของโรคในกรุงเทพฯ สุนัขดมกลิ่นจึงได้เดินทางจากจังหวัดสงขลา มาตั้งจุดตรวจที่คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ให้บริการตรวจคัดกรองแก่บุคลากรจุฬาฯ ผู้ป่วยติดเตียง (โดยความร่วมมือกับกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์) โดยมีอาสา พม. ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างเหงื่อมาส่งตรวจแล้วจำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,500 ราย ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสจากสิ่งแวดล้อมไปบนตัวสุนัขในระหว่างลงพื้นที่คลัสเตอร์ต่าง ๆ จึงได้มีการออกแบบห้องปฏิบัติงานเคลื่อนที่ “รถดมไว” พร้อมอุปกรณ์มาตรฐานตามข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค ซึ่งจะสร้างความปลอดภัยทั้งผู้ที่มารับการตรวจและสุนัขที่ปฏิบัติงาน อีกทั้งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองเชิงรุกในชุมชน และคลัสเตอร์ที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละวัน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ชุมชน อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จับมือ เครือซีพี ชูโมเดลโครงการ "ป่าปลอดเผา" สร้างชุมชนต้นแบบป้องกันไฟป่า ลดฝุ่น PM2.5 แนวเขตชายแดนไทย-พม่า
"อนุทิน" นำทีมมท.1 แถลงจับกุมเครือข่ายยาเสพติดรายใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 4 ล้านเม็ด ผงรออัดเม็ดอีกเพียบ
ชื่นชม "ไทยสมายล์บัส" ประกาศช่วยลดค่าครองชีพ จัดเต็มต้อนรับเปิดเทอม "เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี" ขึ้นฟรี ตลอดปี
"บิ๊กแจ๊ส" ทิ้งเก้าอี้ "นายกอบจ.ปทุมธานี" เหตุอยู่ไปอาจสุ่มเสี่ยงไม่อยากยุ่งเลือกตั้ง "สว." ขอวางตัวเป็นกลางกฎหมายแรงมากโทษหนักถึงขั้นตัดสิทธิตลอดชีวิต
เปิดใจ พ่อพาลูกเล่นอิเล็กโทน เปิดหมวกประทังชีวิต ติดป้ายช่วยพวกเราด้วย "แม่ตาย ลุงโกง พ่อล้มละลาย"
ใครเอี่ยว "นอท" ระวัง! เปิดข้อมูลคดี "สนง.สลากฯ" ลุยฟ้องผิดอาญา-แพ่ง "ลอตเตอรี่พลัส" ทุกรูปแบบ
ฮ่องกง ทุบสถิติเมษาร้อนที่สุดในรอบ 140 ปี
ถนนพังถล่มในกวางตุ้งดับเพิ่มเป็น 48
จีนประสบความสำเร็จทดลองปลูกข้าวแบบเร่งรัดในทะเลทราย
รถไฟสินค้าจีน-ลาว-ไทย-มาเลเซียขบวนแรกออกจากเฉิงตูแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น