No data was found

“เอนก” รมว.อว.ชู มรภ.อุดรฯ ตัวอย่างพัฒนาผ้าและสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์

กดติดตาม TOP NEWS

“เอนก” รมว.อว.ชู มรภ.อุดรตัวอย่างพัฒนาผ้า และสิ่งทอเชิงสร้างสรรค์ เผยไวรัสโควิด-19 ที่กระทบการศึกษา มันเหมือนกับเด็กเรียนหนังสือช่วงสงคราม

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ห้องประชุม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผวจ.อุดรธานี ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล รักษาราชการแทน อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน

โอกาสนี้ ได้เยี่ยมชมความก้าวหน้าของศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center โดยมี ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ในนามประธานศูนย์ FTCDC เป็นผู้บรรยายสรุป สำหรับแบบผ้าไทย Circular design ซึ่งออกแบบตัดเย็บ โดยศูนย์ฯ ในปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผ้าทอชุมชนสู่สากล อาทิ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอ “พิพิธภัณฑ์ผ้าทออีสาน” และการถอดรูปแบบลวดลายขิดดั้งเดิมจากม้วนผ้าขิดที่ยาวที่สุดในโลก 600 ลาย , พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติดอกดาวเรืองคำชะโนด, ส่งเสริมปลูกฝ้ายสี ,พัฒนานวัตกรรมมาตรฐานสีย้อมผ้าธรรมชาติจากดอกบัวแดง ดอกจาน , การพัฒนาการผลิตเนื้อคราม จากครามพื้นเมืองจังหวัดอุดรธานี , และการออกแบบพัฒนาลวดลายผ้าขิดดั้งเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าขิดอุดรธานี เป็นต้น

จากนั้น รมว.อว.และคณะ ได้เยี่ยมชมบูทนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยฯ อาทิ นิทรรศการ “การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ” ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล : U2T ซึ่งในปี 2564 ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ และร่วมพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและบริหารจัดการด้านอาหารสำหรับโคเนื้อ และไก่ไข่ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือเก็บมากยิ่งขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีมรดกทางผ้า ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ เพราะอุดรฯ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมากตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งเมื่อก่อนไม่รู้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะเอาไปทำอะไร แต่ตอนนี้รู้แล้วว่านำมาทำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อีกอย่างได้พบความร่วมมืออย่างดีจากทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี การพัฒนาจากนี้ไป นอกจากรัฐร่วมมือกับเอกชนที่เราคุ้นเคยมา 40-50 ปีแล้ว ต่อไปเราจะคุ้นเคยการร่วมมือระหว่างรัฐกับมหาวิทยาลัย

รัฐในที่นี้หมายถึง องค์กรส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา เพราะว่าการพัฒนาต่อจากนี้ไป ต้องพัฒนา 2 เรื่องหลักคือ เศรษฐกิจเชิงวิทยาศาสตร์ กับเทคโนโลยี เพราะว่ามูลค่าเพิ่มสูง 2 เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างมาจากศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี อารยะ สุนทรียะ ขอประชาชนเราเอง คิดว่าอุดรธานีเป็นตัวอย่างจะต้องทำเป็นแบบอย่างให้จังหวัดอื่นๆ ซึ่งมาเห็นที่อุดรธานีแล้ว ก็จะได้พูดให้ประชาชนเข้าใจว่า เรามีมหาวิทยาลัยไว้ทำไม ไม่ใช่มีไว้สอนเท่านั้น ไม่ใช่มีไว้วิจัยเท่านั้น แต่เอาความรู้ นวัตกรรม ศิลปะ วิทยาการ มาพัฒนาท้องถิ่น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ตอบข้อซักถาม ในส่วนเรื่องการระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการศึกษาจะแก้ไขอย่างไรนั้น บอกว่า มันเหมือนกับเด็กเรียนหนังสือช่วงสงคราม ในอดีต ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เด็กจำนวนหนึ่งเรียนไปหลบลูกระเบิดไป หรือเรียนอยู่กรุงเทพฯ ต้องย้ายไปเรียนที่ศรีราชา จันทบุรี เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องปรับตัว เราตะหนักว่าบางเรื่องต้องซ่อม ต้องเสริม แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่มีเรื่องดีด้วย สำหรับเด็กที่อยู่ในยุคโควิด ปรับตัวอยู่กับเทคโนโลยีได้เร็วเหลือเกิน ก่อนเกิดโควิด เราคาดการณ์ว่าอีก 5 ปี ชาวไทยถึงจะตามทันเทคโนโลยี สื่อสังคมทัน แต่ปรากฏว่าโควิดมาทีเดียว เราทันเลย ก็เป็นมุมมองที่อยากให้ได้มองเห็นว่า โควิดไม่ได้มีอะไรร้ายแรงกับเราจนรับไม่ได้

ส่วนเรื่องที่เป็นปัญหา คนตกงาน ทำให้ธุรกิจล้มละลาย มันเป็นเรื่องจริง ในขณะเดียวกันเราก็ปรับตัวได้ดีมาก เราเอาตัวรอดมาได้หลายระรอกแล้ว ส่วนโอมิครอนก็ไม่ได้ติดเชื้อกันเป็นหมื่นเป็นแสน เหมือนที่บางคนคาดคะเนเอาไว้ ทั้งประเทศประมาณ 8000 คน คนเสียชีวิตก็ไม่ได้มาก เหมือนที่วาดภาพเอาไว้ว่า มหากลียุคมาแล้ว เราก็จัดการปัญหาได้ ทุกจังหวัดเป็นหน่วยงานรัฐเป็นองค์กรรัฐที่สำคัญที่ทำให้เกิดความมั่นคงและสงบ มหาวิทยาลัยก็เกิดภูมิใจที่ได้ช่วยจังหวัด มันตอบคำถามได้ว่า ทำไมมหาวิทยาลัยราชภัฎถึงมีตึกเยอะ มีสถานทีเยอะ มีหอประชุมใหญ่ หลายที่ นอกจากงานปกติแล้ว ในยามคับขันเป็นแหล่งที่พึ่งสุดท้าย ที่จังหวัดและประชาชนสามารถมาขอความช่วยเหลือได้ และมหาวิทยาลัยได้แสดงจิตใจร่วมเป็นร่วมตายสมกับตั้งอยู่ในจังหวัด

ส่วนการเรียนระบบออนไลน์ จะมีผลกระทบทำให้นักศึกษาลดลงนั้น ไม่ต้องไปกังวล มหาวิทยาลัยก็ต้องปรับตัวไปตามสภาพอาจจะมีคนมาเรียนน้อยลง ไม่ต้องตกใจว่าเราจะหมดงาน เพราะสังคมยังต้องการการศึกษาที่สั้นลง เรียนจบแล้วมีงานทำ มีอาชีพดีๆ เราก็เปิดหลักสูตรไม่มีปริญญาบัตร( Non degree) ซึ่งเราได้ทำ MOU กับหลายสถาบัน ที่จะหลักสูตร Non degree อาจจะเรียนแค่ 3 เดือน 6 เดือน ก็จะปรับตัวได้ไม่ใช่เรื่องน่าตกใจ เพราะเราคิดเรื่องพวกนี้มาตลอด และปรับตัวมาตลอด ซึ่งเมื่อคืนได้ดูการออกแบบ การเดินแบบ ถ้าฝึก 3-6 เดือนก็สามารถออกไปเป็นอาชีพนางแบบได้ ซึ่งสามารถเอาไปสอนเป็นหลักสูตรระยะสั้นได้.

ภาพ/ข่าว กฤษดา จันทร์ดวง ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.อุดรธานี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้ว่าชลฯ บูรณาการ ทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งบนเกาะล้าน พร้อมแจกจ่ายน้ำให้ประปาให้ชาวบ้านบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
อบต.ตะพง ชวนเที่ยวงานเทศกาลดนตรี สีสัน ผลไม้สไตล์ตะพง ของดีเมืองระยอง เลือกซื้อ ชิม ช้อปผลไม้ขึ้นชื่อเมืองระยอง ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด
น้องชายยิงพี่ชายทนายความรุ่นใหญ่ ดับคาบ้าน เหตุหึงเมีย
เมียนมาห้ามชายวัยเกณฑ์ทหารออกไปทำงานตปท.
สลด "หนุ่มใหญ่" ดกเหล้าขาวดับคาโต๊ะ คาดเป็นฮีทสโตรก หลังร้อนจัด 44 องศาฯ
"มณฑลทหารบกที่ 32" แปรอักษรถวายกำลังใจ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
"สมาคมคนตาบอดฯ" ยืนยันจัดสรรโควต้าสลากฯครบถึงมือสมาชิก ไม่การันตีแทนองค์กรอื่นปล่อยยี่ปั๊ว-ออนไลน์
"ทนายอนันต์ชัย" ยันเอาผิดก๊วนเชื่อมจิต ย้ำลัทธิบิดเบือนหลักพุทธศาสนา รับไม่ได้ใช้เด็กหาผลประโยชน์
กมธ.ศึกษานิรโทษฯ เคาะนิยามบุคคล มีมูลเหตุการเมืองจูงใจทำผิดคดีไม่รุนแรง ตั้งแต่ปี 48 ไม่รวมละเมิด 112
“สงคราม กิจเลิศไพโรจน์” เจ้าของห้างอิมพีเรียล เปิดตัวเป็นแฟนคลับ Top News บอกชอบมานานแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น