logo

“นักวิชาการอิสระ”เชื่อ ไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะต้องเพิ่มมูลค่า

"นักวิชาการอิสระ"เชื่อ ไม่มีใครค้านพัฒนาหัวลำโพง แนะต้องเพิ่มมูลค่า ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ ปชช.รายได้น้อย

เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. นายกิตติธัช ชัยประสิทธิ์ นักวิชาการอิสระและอาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ​ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) เชี่ยวชาญด้านทฤษฎีและประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม กล่าวถึงกรณีที่นายวินท์ สุธีรชัย อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล เสนอให้มีการพัฒนาหัวลำโพงให้เทียบเท่ากับ Landmark ในต่างประเทศว่า ประเด็นนี้ไม่มีใครคัดค้านที่การรถไฟฯ จะนำพื้นที่ว่างไปพัฒนาให้เกิดประโยชน์ หรือปล่อยให้เอกชนเช่าเพื่อพัฒนา เพราะคงเป็นเรื่องดีที่การรถไฟจะมีรายได้ ปลดหนี้ และมีเงินมาพัฒนาสวัสดิภาพของพนักงานและการให้บริการสาธารณะ แต่สิ่งที่ประชาชนคาดหวังคือ การพัฒนานั้นต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย ในขณะเดียวกันก็ต้องสามารถนำคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของหัวลำโพง มาสร้างเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจให้เกิดขึ้นไปพร้อมกับการเพิ่มพื้นที่กิจกรรมและพื้นที่สีเขียวให้กับผู้คนในเมืองด้วย

นายกิตติธัช กล่าวต่อว่า การจัดการพื้นที่หัวลำโพงควรแบ่งเป็น 2 ประเด็น ประการแรก คือการเดินรถ ซึ่งในอนาคตชุมทางรถไฟจะต้องย้ายไปอยู่บางซื่อ และหัวลำโพงจะกลายมาเป็นเพียงสถานีรถไฟในเมืองแห่งหนึ่งเท่านั้น แต่ด้วยการที่เส้นทางระหว่างบางซื่อ-หัวลำโพงยังอยู่ในขั้นตอนประมูลเท่านั้น ทำให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยต้องลำบากกับค่าใช้จ่ายและเวลาเดินทางที่เพิ่มเข้ามา ดังนั้นในระหว่างที่ Missing Link ยังไม่เสร็จ การรถไฟฯ ควรบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนด้วยการให้มีการเดินรถบนดินเข้าไปยังหัวลำโพง โดยเน้นที่ขบวนรถไฟชั้น 3 เพื่อไม่สร้างภาระให้กับผู้มีรายได้น้อยที่ต้องอาศัยรถไฟเข้ามายังหัวลำโพง และประการที่สอง คือเรื่องการนำพื้นที่หัวลำโพงไปบริหารจัดการ ซึ่งมีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ 1. รูปแบบแรกคือ การเปลี่ยนกิจกรรมภายใน จากสถานีรถไฟ กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่ศิลปะและวัฒนธรรม หรือลานกิจกรรมของคนเมือง เพื่อเปิดโอกาสให้คนได้เข้ามาใช้พื้นที่ในการสร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดในการผลักดันย่านสร้างสรรค์ (Creative District) ซึ่งรูปแบบนี้การรถไฟอาจประสานความร่วมมือกับทาง TCDC ซึ่งอยู่ในบริเวณนั้น นอกจากนี้ควรจะนำใช้พื้นที่บางส่วนให้เช่าสำหรับทำกิจกรรมหรือร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านค้า ที่นำเอาเอกลักษณ์ของหัวลำโพงมาเป็นจุดขายเพื่อหารายได้มาใช้สำหรับบริหารจัดการอาคารและพื้นที่ในส่วนรูปแบบที่สอง คือ การรักษาความเป็นสถานีไว้ ในขณะที่ชุมทางหลักไปอยู่บางซื่อ หัวลำโพงก็จะมีรถเข้ามาน้อยลง และมีผู้ใช้งานน้อยลง หัวลำโพงจึงอาจเปลี่ยนจากสถานีแบบเดิม ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียว ลานกิจกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร ผสมไปกับพื้นที่สถานีเดิม เช่นกรณีสถานีรถไฟ Atocha ในประเทศสเปน ซึ่งลักษณะนี้จะทำให้หัวลำโพงยังคงทำหน้าที่เป็นสถานี พร้อมกับปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตคนเมืองมากขึ้น อีกทั้งยังทำให้การรถไฟฯมีรายได้เพิ่มขึ้น และประชาชนก็ได้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นจากพื้นที่สาธารณะที่เพิ่มเข้ามาในบริเวณนั้น

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ญาติร้อง "สายไหมต้องรอด" หลานชายพลัดตกตึก อาการโคม่า หลังไปพบสาวที่รู้จักผ่านแอปหาคู่
หนุ่ม 26 เคราะห์ร้าย นายจ้างเอะใจทำไมมาสายจึงโทรตามกู้ภัยรับสายแจ้งว่าถูกหกล้อทับเสียชีวิตแล้ว
ครูพี่เลี้ยง "ร้องสายไหมต้องรอด" หลังทนมานานเกือบ 5 ปี เพื่อนบ้านเพี้ยน กลั่นแกล้ง ด่าทอ ข่มขู่เช้า-เย็น
"กกต." ออกระเบียบเลือก สว.ฉบับ 3 เพื่อความเหมาะสม แก้ปมอำเภอมีผู้สมัครกลุ่มเดียว
"นายกฯ" สวมเสื้อลายช้าง เปิด “เมืองน่าเที่ยว” ปลุกท่องเที่ยวไทย รับฟังแนวทางส่งเสริมท่องเที่ยว
“สมศักดิ์” รุดให้กำลังใจ บุคลากร รพ.ขอนแก่น หลังเหตุยิงผู้ป่วยในรพ. พร้อมเร่งเยียวยาครอบครัวผู้เสียชีวิตเต็มที่
ตร.เร่งแกะรอย "สาวจีน" หายตัวปริศนา หลังมาเที่ยวไทย ด้านพ่อเผยโดนขู่เรียกเงิน 25 ล้าน แลกปล่อยตัวลูก
วงจรปิดรถพ่วง 18 ล้อหลับในชนท้ายรถบัสเจ็บ
“กระทรวงการคลัง” เปิดตัว “หวยเกษียณ” ลุ้นรางวัลใหญ่ 1 ล้านบาท ทุกวันศุกร์
ชลบุรี เจ้าของหอพัก ผงะ หลังสาวประเภทสองมาเช่าอาศัยอยู่เกือบสี่ปี ติดต่อไม่ได้ ตัดสินใจมาเปิดห้องดูพบขยะเต็มห้อง

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น