No data was found

ปธ.ศาลฎีกา ยันทิ้งขนบธรรมเนียมเก่า ไม่ใช้อำนาจสั่งอย่างเดียว

กดติดตาม TOP NEWS

เน้นทำงานภายใต้หลักบริสุทธิ์ยุติธรรม พร้อมเปิดบ้านยอมรับการตรวจสอบ มีความพยายามใกล้ชิดชาวบ้านมากขึ้น ยอมรับโควิดมีผลกระทบทำให้คดีเลื่อนพิจารณา 2-3 แสนคดี เผยเอาระบบวีดีโอคอนเฟอเรนส์มาใช้พิจารณาคดี

10.00 น. วันที่ 13 พฤษภาคม สำนักงานกิจการยุติธรรมจัดการประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 18 ในหัวข้อ “การอํานวยความยุติธรรมในยุควิถีใหม่สู่ประชาชน” โดยมี นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกา กล่าวปาฐกถาในหัวข้อการปรับกระบวนทัศน์ใหม่ของศาลยุติธรรมในยุคนิวนอร์มอลล์ ผ่านระบบคอนเฟอร์เลนซ์ ว่า ในฐานะที่รับราชการเป็นผู้พิพากษามา 40 ปี เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมในช่วงหลังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ภาพของศาลในความคิดของคนข้างนอกจะมองว่าศาลอนุรักษนิยม มีขนบ มีธรรมเนียม มีพิธีรีตอง หรือมีอะไรที่เป็นของตัวเองค่อนข้างมาก หรือเป็นองค์กรที่ถามไม่ตอบสั่งอย่างเดียว แต่อันนั้นมันเป็นภาพในอดีต ถ้ามองศาลในปัจจุบันจะพบว่ามีความพยายามเข้ามาใกล้ชิดกับประชาชน เข้ามารับฟัง และเปิดบ้านออกไปเพื่อรับการตรวจสอบ แสดงความโปร่งใสได้มากขึ้น คิดว่าวิธีคิดของศาลในปัจจุบันเปลี่ยนไปมากเปลี่ยนไปนานแล้ว แต่เราไม่ได้เปิดสิ่งที่คิดในใจออกไปสู่สาธารณะ …….ในนโยบายประธานศาลฎีกา ปี 2563 ถึง 2564 อยู่ภายใต้หลักการ บริสุทธิ์ ยุติธรรม มีนโยบายอยู่ 5 ด้าน เช่น ความเสมอภาค ที่ศาลพยายามทำอยู่ก่อนที่จะมี โควิด-19 คือการทำให้คนที่เข้ามาติดต่อในศาลมีความเท่าเทียมกัน ไม่เลือกปฏิบัติต่อใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ

ประธานศาลฏีกากล่าวว่า มีการพูดว่าศาลพิจารณาคดีล่าช้า เรียนว่าปัจจุบันศษลยุติธรรมได้ก้าวข้ามผ่านการพิจารณาคดีที่ล่าช้าไปแล้ว ปีที่แล้วในศาลชั้นต้นมีคดี 1.4 ล้านคดี คดีค้างเก่าอีก 2 แสนกว่าคดี สรุปเราต้องทำคดีราว 1.7-1.8 ล้านคดี แต่เรามีผู้พิพากษาแค่ 3,000 ท่านเท่านั้น เรามีการวางมาตรฐานระยะเวลาพิจารณาคดีตั้งแต่ปี 2546 กำหนดแนวทางปฏิบัติแต่ละคดีไว้ชัดเจน อาทิ คดีไม่ยุ่งยากต้องแล้วเสร็จภายใน 3 เดือนนับตั้งแต่มีการรับฟ้อง คดีทั่วไปที่มีการต่อสู้ไม่ว่าแพ่งหรืออาญาต้องไม่เกิน 12 เดือน คดีอาญาที่จำเลยต้องขังระหว่างการพิจารณา ต้องพิจารณาให้เร็วเสร็จไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่ศาลออกหมายขังระหว่างการพิจารณา คดีศาลแขวงทุนทรัพย์ไม่สูงไม่เกิน 6 เดือน คดีผู้เสียหายเป็นเด็กไม่เกิน 6 เดือนนับตั้งแต่การตรวจพยานหลักฐาน ปีก่อนคดีราว1.8 ล้านคดี เราสามารถพิจารณาคดีส่วนใหญ่เสร็จได้ถึง 80 % คดีทั่วไปเราพิจารณาแล้วเสร็จไม่เกิน 12 เดือนด้วยซ้ำไป แต่บางคดีก็พิจารณาเกินเวลามาตราฐานแต่นั้นเป็นกรณีพิเศษหรือกรณีเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้อนาคตจะปรับปรุงการพิจารณาคดีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามในช่วงโควิดระบาดหนักๆ ในปี2563 รวมประมาณ 3 เดือน มีการเลื่อนคดีไปแล้ว 163,620 คดี แต่พอมาถึงปัจจุบันนี้ไม่รู้คดีที่ถูกเลื่อนอาจเลยไปถึง 2-3 แสนคดี

นางเมทินีกล่าวว่า ปัจจุบันศาลได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการพิจารณาคดีอย่างที่สุด โดยมีการนำการพิจารณาคดีทางอิเลคทรอนิกส์มาใช้ ปัจจุบันคดีที่ถูกเลื่อนลดไปจากเดิมมากกว่าครึ่ง เพราะทุกฝ่ายให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี จะมีอุปกรณ์ของตำรวจบางแห่ง และบางเรือนจำเท่านั้นที่ยังมีปัญหาเรื่องเทคโนโลยีอยู่ซึ่งได้เรียนรมว.ยุติธรรมไปแล้ว ตอนนี้เราพยายามใช้วิกฤติให้เป็นโอกาสในการทำงาน มีไกล่เกลี่ยออนไลน์ การยื่นฟ้องอีไฟริ่งจัดการมรดกทางวีดีโอทางคอนเฟอเรนส์ สอบคำให้การจำเลยตรวจพยานหลักฐานคดีอาญาผ่านจอภาพ อ่านคำพิพากษารวมถึงคำสั่งปล่อยตัวชั่วคราวทางวีดีโอคอนเฟอเรนส์ซึ่งทำให้การปล่อยตัวทำได้เร็ว มีบัลลังก์พิารณาคดีทั้งภาพและเสียง

////////////////////

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"แฟรงค์ 3 นิ้ว" นอนคุกต่อ ศาลอาญาไม่อนุญาตประกันตัว
ชาวบางแสนไม่ปลื้ม หนุ่ม-สาว คู่ดัง ใช้ริมหาดบางแสน ถ่ายโอรี่แฟน เผยโรงแรมก็มีตั้งเยอะทำไมไม่ใช้
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการประสานงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง (ศปร.)
ชุมชน อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่ จับมือ เครือซีพี ชูโมเดลโครงการ "ป่าปลอดเผา" สร้างชุมชนต้นแบบป้องกันไฟป่า ลดฝุ่น PM2.5 แนวเขตชายแดนไทย-พม่า
"อนุทิน" นำทีมมท.1 แถลงจับกุมเครือข่ายยาเสพติดรายใหญ่ ยึดยาบ้ากว่า 4 ล้านเม็ด ผงรออัดเม็ดอีกเพียบ
ชื่นชม "ไทยสมายล์บัส" ประกาศช่วยลดค่าครองชีพ จัดเต็มต้อนรับเปิดเทอม "เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี" ขึ้นฟรี ตลอดปี
"บิ๊กแจ๊ส" ทิ้งเก้าอี้ "นายกอบจ.ปทุมธานี" เหตุอยู่ไปอาจสุ่มเสี่ยงไม่อยากยุ่งเลือกตั้ง "สว." ขอวางตัวเป็นกลางกฎหมายแรงมากโทษหนักถึงขั้นตัดสิทธิตลอดชีวิต
เปิดใจ พ่อพาลูกเล่นอิเล็กโทน เปิดหมวกประทังชีวิต ติดป้ายช่วยพวกเราด้วย "แม่ตาย ลุงโกง พ่อล้มละลาย"
ใครเอี่ยว "นอท" ระวัง! เปิดข้อมูลคดี "สนง.สลากฯ" ลุยฟ้องผิดอาญา-แพ่ง "ลอตเตอรี่พลัส" ทุกรูปแบบ
ฮ่องกง ทุบสถิติเมษาร้อนที่สุดในรอบ 140 ปี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น