No data was found

เทียบ 10 ข้อ(อ้าง)ปฏิรูปสถาบัน คณะราษฎร vs ปิยบุตร ล้มล้างล้วนๆ

กดติดตาม TOP NEWS

มีแต่เรื่องเซาะกร่อนบ่อนทำลาย คณะราษฎรไฟเขียวให้สภาตัดสินความผิดกษัตริย์ได้ ยกเลิก ม. 112 นิรโทษคดีด่าเจ้า ตัดงบอุดหนุน โล๊ะองคมนตรีรื้อทิ้งหน่วยรักษาความปลอดภัย ส่วนของปิยบุตรหนักกว่ารอนสิทธิ์ด้อยค่ากษัตริย์ ยกรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นเป็นตัวอย่าง กำหนดขอบเขตลดอำนาจเจ้านายสารพัด ให้อำนาจสภาส.ส.ล้นฟ้าสูงกว่าสถาบัน สามารถกำหนดพระราชอำนาจ แต่งตั้งรัชทายาท การให้ความเห็นชอบผู้สำเร็จราชการ การกำหนดเงินรายปี ยกเลิกการลงพระปรมาภิไธยทหาร-ตำรวจ

ย้อนอดีตกลับไปปีที่แล้ว 3 แกนนำสามกีบล้มเจ้า ประกอบด้วย อานนท์ นำภา , ภาณุพงศ์ จาดนอก,ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล ได้ขึ้นเวทีของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม พร้อมประกาศข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ 10 ข้อ ระหว่างจัดการชุมนุมใหญ่ภายใต้ชื่อ “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 10 สิงหาคม 2563 ก่อนที่ต่อมาจะมีการยกระดับการเคลื่อนไหวในนาม “คณะราษฎร2563” โดย 10 ข้อเรียกร้องดังกล่าว ได้กลายเป็น 10 ข้อเรียกร้องทะลุเพดานล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่กลุ่มสามกีบล้มเจ้าใช้เป็นธงในการชุมนุมเคลื่อนไหวเรื่อยมาประกอบด้วย

1.ยกเลิกรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 หมวด 2 พระมหากษัตริย์
ที่ว่าผู้ใดจะกล่าวหาฟ้องร้องกษัตริย์มิได้ ให้สภาผู้แทนราษฎรสามารถพิจารณาความผิดของกษัตริย์ได้
2. ยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เปิดให้ประชาชนใช้เสรีภาพแสดงความคิดเห็นต่อสถาบันกษัตริย์ได้ นิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์
3. ยกเลิกพ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พ.ศ.2561 ให้แบ่งทรัพย์สินออกเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง และทรัพย์สินส่วนพระองค์ที่ของส่วนตัวของกษัตริย์อย่างชัดเจน
4. ตัดลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
5. ยกเลิกส่วนราชการในพระองค์ อาทิ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ให้ย้ายไปสังกัดหน่วยงานอื่น ยกเลิกคณะองคมนตรี
6. ยกเลิกการบริจาคและรับบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทั้งหมด เพื่อกำกับให้การเงินของสถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้การตรวจสอบทั้งหมด
7. ยกเลิกพระราชอำนาจในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในที่สาธารณะ
8. ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และการให้การศึกษาที่เชิดชูสถาบันกษัตริย์แต่เพียงด้านเดียวจนเกินงาม
9. สืบหาความจริงเกี่ยวกับการสังหารเข่นฆ่าราษฎร ที่วิพากษ์วิจารณ์หรือมีความเกี่ยวข้องใดๆ เกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์
10. ห้ามมิให้ลงพระปรมาภิไธยรับรองการรัฐประหารครั้งใดอีก


10 ข้อเรียกร้องที่ว่าถือเป็นข้ออ้างเบื้องต้นที่กลุ่ม “สามกีบ- ล้มเจ้า” ใช้เป็นธงในการต่อสู้เรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ ต่อมาเมื่อ 10 ส.ค. 2564 ปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Piyabutr Saengkanokkul นำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พระมหากษัตริย์ โดยอ้างเหตุผลว่า “หนึ่งปีผ่านไป แม้ประเด็นปัญหาเรื่องสถาบันกษัตริย์จะถูกจุดติด “ช้างในห้อง” ตัวนี้ถูกทำให้เห็นโดยถ้วนทั่ว ไม่มีใครปฏิเสธหรือแกล้งมองไม่เห็นได้อีกแล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่า ข้อเรียกร้องนี้อาจถูกพูดถึงในรายละเอียดน้อยลง และดูท่าจะห่างไกลจากความเป็นไปได้มากขึ้น ในช่วงวิกฤต Covid-19 ส่งผลให้การชุมนุมทำได้ยากลำบาก ในขณะที่ผู้ชุมนุมจำนวนมากก็ถูกตั้งข้อหา ดำเนินคดี จับกุม คุมขัง จากกลยุทธ์นิติสงครามที่ฝ่ายรัฐใช้อย่างเข้มข้น พร้อมกับที่ข้อเรียกร้องขับไล่ประยุทธ์ขึ้นมาเป็นกระแสนำ ในฐานะเป็นความจำเป็นเร่งด่วนและเป็นข้อเรียกร้องที่ดูท่าจะมีโอกาสเป็นไปได้มากที่สุดทั้งหมดนี้เป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ค่อยๆ เลือนหายไป
เพื่อมิให้ความเพียรพยายามของเยาวชนอนาคตของชาติและกลุ่มราษฎรเสียเปล่า จึงได้ยกร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม หมวด 2 พระมหากษัตริย์ ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ในการรณรงค์เรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์

 

1. กำหนดพระราชสถานะประมุขของรัฐ ศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นกลางทางการเมือง
2. กำหนดพระราชอำนาจ ขอบเขตของเอกสิทธิ์และความคุ้มกันพระมหากษัตริย์ในการไม่ต้องรับผิด ไม่ต้องถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในการกระทำใดบ้าง โดยเขียนในภาษาที่เข้าใจง่าย ตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความว่าอำนาจเป็นของพระมหากษัตริย์หรือของคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องถกเถียงกันว่าพระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในทางการเมืองหรือการบริหารราชการแผ่นดินโดยแท้หรือไม่ แต่เขียนชัดเจนเลยว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในเรื่องต่างๆโดยต้องทำตามความเห็นชอบของรัฐมนตรีหรือสภาผู้แทนราษฎร แล้วแต่กรณี โดยนำแบบอย่างมาจากรัฐธรรมนูญญี่ปุ่น
3. เปลี่ยนกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ ให้เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์
4. ยกเลิกองคมนตรี
5. เปลี่ยนแปลงกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งพระมหากษัตริย์ โดยย้อนกลับไปใช้แบบเดียวกันกับกระบวนการก่อนรัฐธรรมนูญ 2534 กล่าวคือ การเสนอพระนามองค์รัชทายาทหรือองค์ผู้สืบราชสันตติวงศ์ให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ
6. กำหนดให้พระมหากษัตริย์และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ต้องปฏิญาณตนก่อนเข้ารับหน้าที่
7. กำหนดกรณีที่พระมหากษัตริย์ต้องแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเปลี่ยนแปลงกระบวนการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เสียใหม่ ให้สภาผู้แทนราษฎรเข้ามามีอำนาจพิจารณาให้ความเห็นชอบเหมือนรัฐธรรมนูญ 2475 และ 2489
8. กำหนดระบบเงินรายปีแก่พระมหากษัตริย์ โดยให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการกำหนดวงเงินและอนุมัติ และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบการใช้จ่ายเงินรายปีและรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรทราบ
9. ยกเลิกการลงพระปรมาภิไธยในพระบรมราชโองการแต่งตั้งข้าราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน ตําแหน่งปลัดกระทรวง อธิบดี และเทียบเท่า ให้คงไว้เพียงการลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรผู้ใช้อำนาจอธิปไตยและอำนาจตามรัฐธรรมนูญเท่านั้น อันได้แก่ รัฐมนตรี ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ผู้พิพากษาศาลยุติธรรม ตุลาการศาลปกครอง และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
10. ยกเลิกพระราชอำนาจในการยับยั้งการลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้กฎหมายที่ผ่านความเห็นชอบจากสภา

 

ทั้งหลายทั้งมวลที่ว่านั้นคือข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันแค่ลมปาก ความจริงสิ่งที่ต้องการคือล้มล้าง ไม่ว่าจะเป็นของกลุ่มคณะราษฎร 2563 หรือของปิยบุตรล้วนแอบแฝงซ่อนเร้น สุดท้ายปลายทางแท้จริงแล้วมุ่งหวังเซาะกร่อนบ่อนทำลายระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทางเป็นประมุข ประเด็นเรื่องนี้ศาลรัฐธรรมนูญได้เขียนคำวินิจฉัยระบุชัดเจนแล้วว่า ” สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยเป็นเสาหลักสำคัญที่จะขาดเสียไม่ได้ ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขดังนั้นการกระทำใดๆที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าจะด้วยวิธีการพูด เขียนหรือการกระทำต่างๆเพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรือทำให้อ่อนแอลง ย่อมแสดงให้เห็นถึงการมีเจตนาเพื่อล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์” จากนี้ก็ตามดูว่านอกจาก “ทนายอานนท์-ไมค์-รุ้ง” ที่เป็น “ตัวการ” ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใช้สิทธิเสรีภาพล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะต้องถูกดำเนินคดีมีโทษหนักยาวเป็นหางว่าวแล้ว ในส่วนของ “องค์กรเครือข่าย” ที่เหลือซึ่งเป็นผู้ให้การสนับสนุน ยุยงปลุกปั่น ล้างสมอง จอมบงการ มีทั้งพรรคการเมือง นักการเมือง นักวิชาการ ดารา ศิลปิน นักธุรกิจ ฯลฯ ก็คงต้องโดนหางเลขถูกดำเนินคดีเผลอๆอาจติดคุกเข้าซังเตตามตัวการทั้ง 3 คนไปด้วย ส่วนใครจะโดนมาตราไหนคดีอะไรอีกไม่นานคงได้รู้กัน แต่ที่แน่ๆ ความผิดเรื่องของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมีแต่โทษหนักๆทั้งนั้น โดยเฉพาะหากถึงขั้นกบฏบทลงโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิตเลยทีเดียว
////////////

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อบต.ตะพง ชวนเที่ยวงานเทศกาลดนตรี สีสัน ผลไม้สไตล์ตะพง ของดีเมืองระยอง เลือกซื้อ ชิม ช้อปผลไม้ขึ้นชื่อเมืองระยอง ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด
น้องชายยิงพี่ชายทนายความรุ่นใหญ่ ดับคาบ้าน เหตุหึงเมีย
เมียนมาห้ามชายวัยเกณฑ์ทหารออกไปทำงานตปท.
สลด "หนุ่มใหญ่" ดกเหล้าขาวดับคาโต๊ะ คาดเป็นฮีทสโตรก หลังร้อนจัด 44 องศาฯ
"มณฑลทหารบกที่ 32" แปลอักษรถวายกำลังใจ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
"สมาคมคนตาบอดฯ" ยืนยันจัดสรรโควต้าสลากฯครบถึงมือสมาชิก ไม่การันตีแทนองค์กรอื่นปล่อยยี่ปั๊ว-ออนไลน์
"ทนายอนันต์ชัย" ยันเอาผิดก๊วนเชื่อมจิต ย้ำลัทธิบิดเบือนหลักพุทธศาสนา รับไม่ได้ใช้เด็กหาผลประโยชน์
กมธ.ศึกษานิรโทษฯ เคาะนิยามบุคคล มีมูลเหตุการเมืองจูงใจทำผิดคดีไม่รุนแรง ตั้งแต่ปี 48 ไม่รวมละเมิด 112
“สงคราม กิจเลิศไพโรจน์” เจ้าของห้างอิมพีเรียล เปิดตัวเป็นแฟนคลับ Top News บอกชอบมานานแล้ว
TopNews เปิดใจครั้งแรก "พระวิระชัย เมตตาธีโร" ละแล้วซึ่งกิเลส พร้อมเตือนสติ 2 บิ๊ก ตร.

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น