วธ. น้อมใจ จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงอย่างยิ่งใหญ่ เทิดไท้องค์วิศิษฏศิลปิน ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา “กรมสมเด็จพระเทพฯ”

วธ. น้อมใจ จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมทุกแขนงอย่างยิ่งใหญ่ เทิดไท้องค์วิศิษฏศิลปิน ในการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” และ “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” ผนึกกำลังศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน และเครือข่ายทางวัฒนธรรมร่วมจัดแสดง

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2568 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ 70 พรรษา สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีคณะศิลปินแห่งชาติ นายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายวิเชียร สุขสร้อย เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม นางสาวลิปิการ์ กำลังชัย รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม นางสาววราพรรณ ชัยชนะศิริ รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พร้อมด้วยผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกรมส่งเสริมวัฒนธรรม คณะศิลปินพื้นบ้าน และเครือข่ายทางวัฒนธรรม เข้าร่วมงาน ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย

 

 

 

นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล กล่าวว่า พุทธศักราช 2568 นับเป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะทรงเป็น “วิศิษฏศิลปิน” และ “เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย” ที่ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปิน และศิลปวัฒนธรรมของชาติ ทรงเปี่ยมไปด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพหลายแขนง เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาปวงพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างชาติตลอดมา

 

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อว่ากระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจเพื่อเทิดทูนและธำรงไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ อันเป็นสถาบันอันสูงสุดของปวงชนชาวไทย สร้างความมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการขับเคลื่อนงานทางวัฒนธรรม รวมถึงสร้างจิตสำนึก ความตระหนักถึงคุณค่า อัตลักษณ์ และความเป็นไทย ตลอดจนร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดศิลปวัฒนธรรมไทยให้ดำรงอยู่สืบไป จึงได้ดำเนินการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ขึ้น เพื่อเผยแพร่พระราชจริยาวัตรอันงดงาม และพระปรีชาสามารถเป็นเลิศต่องานทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทย เพื่อเทิดพระเกียรติของพระองค์ให้ปรากฏเป็นเกียรติภูมิแห่งประเทศ รวมถึงเปิดโอกาสให้หน่วยงานทุกภาคส่วนและประชาชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมเฉลิมพระเกียรติในวโรกาสมหามงคลนี้

 

 

 

 

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวอีกว่า การจัดงานในครั้งนี้จะรวบรวมพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระอัจฉริยภาพและการทรงงานด้านวรรณศิลป์ ด้านทัศนศิลป์ และด้านศิลปะการแสดง นำเสนอในรูปแบบนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ การเสวนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ รวมถึงการแสดงดนตรีและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม โดยบูรณาการความร่วมมือจากศิลปินแห่งชาติ ศิลปินพื้นบ้าน และเครือข่ายทางวัฒนธรรมทุกภาคส่วน เพื่อเป็นการเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ให้เป็นที่รับรู้แก่ประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติซึ่งเป็นแนวทางการนำทุนทางวัฒนธรรม มาสืบสาน รักษาและต่อยอด สร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่า ต่อสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม ทั้งนี้ การจัดงานเฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าว กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 มิถุนายน 2568 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย กิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

 

 

 

วันที่ 4 มิถุนายน 2568 : การขับร้องบทเพลง โดย นายชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2541 , การแสดงชุด “จตุรศิลป์แผ่นดินสยาม” โดยคณะคชมุข สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รางวัลการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2562 , การแสดงขับร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ส้มตำ” ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยคุณสุนารี ราชสีมา , การแสดงร่วมกัน (Finale’) นาฏกรรมไทยร่วมสมัย ดนตรี ลีลา ทัศนาศิลป์ ชุด “ยลยินศิลป์วิไล” โดยนายกมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พุทธศักราช ๒๕๔๐ ร่วมด้วยศิลปินพื้นบ้านและศิลปินร่วมสมัย , การเสวนาหัวข้อ “รัตนราชกวีคีตากานนท์” พระอัจฉริยภาพและการทรงงานทางด้านวรรณศิลป์สู่บทเพลงพระราชนิพนธ์ของ “วิศิษฏศิลปิน”

 

 

 

โดย อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2559 อาจารย์วิรัช อยู่ถาวร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) พุทธศักราช 2560 อาจารย์วินัย พันธุรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2562 นายภาสกรณ์ รุ่งเรืองเดชาภัทร์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมด้วยอาจารย์ประยงค์ ชื่นเย็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2552 อาจารย์นคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล – ประพันธ์และขับร้อง) พุทธศักราช 2554 อาจารย์ชมัยภร บางคมบาง ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช 2557

 

 

วันที่ 5 มิถุนายน 2568 : การเสวนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ศิลปินแห่งชาติสร้างสรรค์งานศิลป์เทิดพระเกียรติวิศิษฏศิลปิน” (ด้านทัศนศิลป์และด้านจิตรกรรม) วิทยากรโดย อาจารย์กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พุทธศักราช 2540 ร่วมด้วยอาจารย์ตันติกร โนนกอง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านทัศนศิลป์ ผู้มีผลงานดีเด่น ครุศิลปะสร้างสรรค์งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ รุ่น 8 , การแสดงขับร้องบทเพลง โดย นางสุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล – ขับร้อง) พุทธศักราช 2563 นายชัยชนะ บุญนะโชติ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักร้องเพลงลูกทุ่ง) พุทธศักราช 2541 นางนิตยา รากแก่น (บานเย็น รากแก่น) ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน – หมอลำ) พุทธศักราช ๒๕๕๖ , การแสดงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ชุด “สี่ภาคศรัทธา หนึ่งฟ้าบารมี” โดยคณะสาเกตนคร วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด รางวัลการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2563 และ 2564 , การแสดงดนตรีและวัฒนธรรมพื้นบ้านจากเครือข่ายสมาคมหนังตะลุงปักษ์ใต้ สมาคมหมอลำอีสาน สมาคมลิเกประเทศไทย , การแสดงร่วมกัน (Finale’) ร่วมสมัยหลากรส หลากลีลา วิถีวัฒนธรรม ส้มตำไทย สู่สากล ชุด “ส้มตำ Trendy” และ

 

 

วันที่ 12 มิถุนายน 2568 ณ Avenue A ชั้น G ศูนย์การค้า เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ : การแสดงขับร้องบทเพลง โดย นายวินัย พันธุรักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช 2562 นางรุ่งฤดี แพ่งผ่องใส ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล – ขับร้อง) พุทธศักราช 2563 นางสุดา ชื่นบาน ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล – ขับร้อง) พุทธศักราช 2563, การแสดงชุด “งามตระการทั่วถิ่น ศาสตร์ศิลป์แผ่นดินไทย” โดยคณะคชมุข สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ รางวัลการประกวดดนตรีและการแสดงพื้นบ้าน ถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี พุทธศักราช 2562 , การแสดงดนตรีและวัฒนธรรมพื้นบ้านจากเครือข่ายสมาคมเพลงพื้นบ้านภาคกลางประเทศไทย สมาคมศิลปินพื้นบ้านอีสานใต้ เครือข่ายศิลปินพื้นบ้าน (โนรา) และการแสดงร่วมกัน(Finale’) ร่วมสมัยหลากรส หลากลีลา วิถีวัฒนธรรม ส้มตำไทย สู่สากล ชุด “ส้มตำ Trendy”

สุดท้ายนี้ นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญชวนประชาชนชาวไทยและผู้สนใจทุกท่านเข้าร่วมงานเฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าว โดยเข้าร่วมกิจกรรมได้ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย สำหรับการแสดงดนตรีและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม สามารถสำรองที่นั่งได้ ตามรายละเอียด Facebook กรมส่งเสริมวัฒนธรรม Facebook ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรือสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 247 0013 ต่อ 4113 หรือ 4115

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เพจกองทัพภาคที่ 2" ลั่นดุ ใครคิดร้ายหมายปองแผ่นดินไทย ขอมันจงพินาศ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ครั้งแรก! จีนเก็บเกี่ยว 'ข้าวสาลีกลางทะเลทราย' ในซินเจียง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) 6 โต๊ะจีนชวนน้ำลายสอแห่ง 'ฝูติ่ง' เมืองริมทะเลในฝูเจี้ยน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) นักดับเพลิงจีน 'ปีนอาคาร' มือเปล่าในไม่กี่วินาที
"แพทองธาร" ไหว้หลวงพ่อโสธร พร้อมประณามกัมพูชา ประกาศหนุนทุกมาตรการตอบโต้ของรัฐบาล กองทัพ กระทรวงการต่างประเทศ พร้อมส่งกำลังใจให้เจ้าหน้าที่
"มรภ.สุรินทร์-มรภ.ศรีสะเกษ-ม.อุบล" เปิดศูนย์พักพิงชั่วคราวรับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหตุปะทะชายแดนไทย-กัมพูชา แล้วกว่า 5 พันคน "สุดาวรรณ" ขอความร่วมมือบุคลากร อว. บริจาคเลือดสำรอง-สิ่งของให้ทหารและผู้ป่วยที่ต้องการเลือดเร่งด่วน

ดู LIVE รายการ

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น​