“ดีเอสไอ” เปิดข้อมูลชุดสอบสวน ลุยตรวจสอบ 152 องค์กร “สภาองค์กรของผู้บริโภค” พบพิรุธตั้งรายชื่อคกก. 17 องค์กร ฟันงบฯ 350 ล้าน

“ดีเอสไอ” เปิดข้อมูลชุดสอบสวน ลุยตรวจสอบ 152 องค์กร “สภาองค์กรของผู้บริโภค” พบพิรุธตั้งรายชื่อคกก. 17 องค์กร ฟันงบฯ 350 ล้าน

“ดีเอสไอ” เปิดข้อมูลชุดสอบสวน ลุยตรวจสอบ 152 องค์กร “สภาองค์กรของผู้บริโภค” พบพิรุธตั้งรายชื่อคกก. 17 องค์กร ฟันงบฯ 350 ล้าน

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ความคืบหน้าการตรวจสอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการจัดตั้ง “สภาองค์กรของผู้บริโภค” ที่เกิดจากการรวมตัวของ 152 องค์กรผู้บริโภคในแต่ละจังหวัด เพื่อจัดตั้งเป็น “สภาองค์กรของผู้บริโภค” แต่การจัดตั้ง 152 องค์กรผู้บริโภคดังกล่าวเกิดความไม่ชอบมาพากล เนื่องจากพบว่ามีหลายองค์กรถูกจัดตั้งเป็น “องค์กรทิพย์” ที่ไม่มีอยู่จริง โดยก่อนหน้านี้เมื่อปี 2564 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้ยื่นคำร้องต่อนายสมศักดิ์ เทพสุทิน รมว.ยุติธรรมในขณะนั้นเพื่อขอให้ตรวจสอบ 152 องค์กรผู้บริโภคที่ร่วมตัวจัดตั้งเป็นสภาองค์กรของผู้บริโภค เพื่อขอรับเงินสนับสนุนงบประมาณแผ่นดินจากรัฐบาล 350 ล้านบาทว่า เป็นองค์กรที่มีคุณลักษณะเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากตรวจสอบพบว่าเกือบ 20 องค์กรผู้บริโภคไม่ได้มีอยู่จริง ซึ่งภายหลังรับคำร้องกระทรวงยุติธรรมได้ส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการสอบสวน โดยมอบหมาย พ.ต.ท.ธนวัฒน์ วงศ์อนันต์ชัย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านคดีพิเศษ ดีเอสไอ เป็นหัวหน้าชุดสืบสวนสอบสวน

 

 

 

 

 

ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2568 ที่ผ่านมา แหล่งข่าวระดับสูงในชุดสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอ เปิดเผยกับ “ท็อปนิวส์” ว่า หลังจากดีเอสไอได้รับการมอบหมายให้สืบสวนสอบสวนคำร้องเรียนของนายศรีสุวรรณกรณีให้ตรวจสอบรูปแบบการจัดตั้ง 152 องค์กรผู้บริโภคบ่างแห่งเป็นองค์กรทิพย์หรือไม่นั้น พ.ต.ท.ธนวัฒน์ หัวหน้าชุดได้ตั้งแนวทางการสืบสวน และได้ประสานขอข้อมูล 151 องค์กรผู้บริโภคจากสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะนายทะเบียน กระทั่งได้รับข้อมูลรอบด้าน จากนั้นจึงลงไปสอบสวนหาข้อเท็จจริงในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดสมุทรสงคราม ,ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว

แหล่งข่าวระดับสูงในชุดสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอ เปิดเผยต่อว่า จากการลงพื้นที่ในจังสมุทรสงคราม ชุดสืบสวนได้ลงไปตรวจสอบองค์กร “สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคสมุทรสงคราม” ซึ่งเป็น 1 ใน 152 องค์กรผู้บริโภค โดยมีน.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสภาองค์กรของผู้บริโภคดำรงตำแหน่งประธานสมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคสมุทรสงครามมาให้ข้อมูล จากการพูดคุยปรากฏว่า มีเรื่องโต้เถียงไม่เข้าใจกันพอสมควร กระทั่งเกิดเรื่องร้องเรียนว่าดีเอสไอตรวจค้นโดยไม่ชอบ แต่จากการตรวจสอบไม่พบความผิดปกติแต่อย่างใด ขณะเดียวกันเมื่อชุดสืบสวนสอบสวนดีเอสไอลงพื้นที่จังหวัดสระแก้ว โดยตรวจสอบข้อมูลจากเจ้าหน้าที่นายทะเบียนจังหวัดสระแก้วพบว่า องค์กรผู้บริโภคในจังหวัดสระแก้วค่อนข้างตรวจเข้มในการคัดกรองสมาชิกที่เป็นเครือข่าย จึงไม่พบความผิดปกติเช่นกัน

 

อย่างไรก็ตามเมื่อชุดสืบสวนดีเอสไอลงพื้นที่ตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดฉะเชิงเทราพบเบาะแสที่เป็นข้อสงสัยหลายจุด เช่น การจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคกว่า 40 องค์กรมีชื่อคล้าย หรือซ้ำกันหลายแห่ง แต่จะแตกต่างกันแค่ประเด็นเท่านั้น เช่น ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค อ.ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตรกรรม), ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จ.ฉะเชิงเทรา (ประเด็นคนพิการ) , ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จ.ฉะเชิงเทรา(อำเภอราชสาส์น) (ประเด็นเด็กและเยาวชน), ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา (ประเด็นผู้พิการ),ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพ จ.ฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตรกร)

นอกจากนี้จากการตรวจสอบองค์กรผู้บริโภคในจังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 17 องค์กร มีรายชื่อคณะกรรมการซ้ำกันไปมาอย่างน่าสงสัย โดยองค์กรบางแห่งพบว่ามีรายชื่อคณะกรครมการซ้ำกันครบถึง 10 คน เช่น ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค อ.ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตร) มีคณะกรรมการจำนวน 10 คน อาทิ 1.นางชาติกานต์ วงศ์ชุติมาวสุ 2.นางสังวาลย์ คำแก้ว 3.น.ส.พรเพ็ญ สีหราช 4.น.ส.ปานทิพย์ ยันนาวา 5.น.ส.ศราวดี นรสาร 6. นายสุวัฒน์ รุ่งโรจน์ 7.นางสมไหม ห้วยขันทอง 8.นางมีนา ดวงแสง 9. น.ส.ธนพร แบแพร่ง และ10.นางจินดา ศรประเสริฐ

ขณะเดียวกันเมื่อตรวจสอบไปยังองค์กร “ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชนจังหวัดฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตรกร) พบว่ามีชื่อ 1.นายสุวัฒน์ รุ่งโรจน์ 2.นางสังวาลย์ คำแก้ว 3.น.ส.พรเพ็ญ สีหราช 4.น.ส.ปานทิพย์ ยันนาวา 5. น.ส.ศราวดี นรสาร 6.นางชาติกานต์ วงศ์ชุติมาวสุ 7.นางสมไหม ห้วยขันทอง 8.นางมีนา ดวงแสง 9.น.ส.ธนพร แบแพร่ง และ 10.นางจินดา ศรประเสริฐ ซึ่งรายชื่อคณะกรรมการดังกล่าวซ้ำกับองค์กร “ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค อ.ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา (ประเด็นเกษตร) ทุกคน

นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบองค์กร “ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จ.ฉะเชิงเทรา (ประเด็นคนพิการ) ยังปรากฎชื่อ นายสุวัฒน์ รุ่งโรจน์ และนางสมไหม ห้วย ขันทองร่วมเป็นคณะกรรมการอีกด้วย โดยทั้ง 2 คนมีชื่อเป็นคณะกรรมการทั้ง 2 แห่งที่กล่าวมาข้างต้น และเมื่อตรวจสอบเครือข่ายทั้ง 17 องค์กรก็พบชื่อคณะกรรมการซ้ำกันไปมาอย่างนี้

อย่างไรก็ตามแม้การตั้งชื่อองค์กรผู้บริโภคกว่า 40 องค์กรที่มีชื่อคล้ายกัน รวมถึงการที่มีรายชื่อคณะกรรมการซ้ำกันไปมาใน 17 องค์กรนั้นในทางกฎหมายเรื่องการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคจะไม่ได้ห้ามไว้ แต่ทางดีเอสไอตั้งข้อสังเกตว่า ข้อพิรุธทั้ง 2 อย่างอาจเป็นการจัดตั้ง “องค์ทิพย์” เพื่อรวมตัวให้ครบ 150 องค์กรตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะรับเงินงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลปีละ 350 ล้าน หรือไม่

แหล่งข่าวระดับสูงในชุดสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอ ให้ข้อมูลต่อว่า จากการตรวจสอบเชิงเลิก เจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนสอบสวนของดีเอสไอได้สอบปากคำและบันทึกถ้อยคำพยานโดยระบุว่า การลงลายมือชื่อ ในแบบ อกผ.1 ( เอกสารคำขอแจ้งสถานะความเป็นองค์กรของผู้บริโภค) พบมีหลายคนที่ไม่ได้เซ็นชื่อ และไม่เคยเห็นแบบฟอร์ม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวได้ทางชุดสืบสวนเชื่อว่ามีการปลอมลายเซ็นในการจดแจ้งหรือไม่ จึงได้ส่งให้สำนักปลัดนายกรัฐมนตรีตรวจสอบ

ทั้งนี้หลังจากรวบรวมผลการสืบสวน เบาะแส บันทึกคำให้การของพยาน ชุดสืบสวนดีเอสไอพบว่า หลายองค์กรผู้บริโภคเข้าข่ายการกระทำความผิด แต่ไม่ถึงเข้าองค์ประกอบเป็นคดีพิเศษ จึงส่งผลการสอบสวนไปให้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะนายทะเบียน เพื่อดำเนินการตามกฎหมายในเดือนพฤศจิกายนปี 2565 จากนั้นต่อมาในเดือนธันวาคมปี 2565 สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีส่งหนังสือขอข้อมูลเพิ่มเติมจากชุดสืบสวนสอบสวนดีเอสไอ กระทั่งต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2566 พนักงานสอบสวนดีเอสไอส่งพยานหลักฐานเพิ่มเติมไปให้ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีตามที่ร้องขอเข้ามาดังกล่าวแล้ว

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

MEA ร่วมลงนาม MOU กับ Bhutan Power Corporation Limited (BPC) หน่วยงานการไฟฟ้าของประเทศภูฏาน ผนึกความมั่นคงระบบจำหน่ายไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ
รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ติดตามแผนอนุรักษ์ “โลมาอิรวดี’’ เครือซีพี-มูลนิธิซีพี ร่วมฟื้นฟู “ทะเลสาบสงขลา” ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 5 แสนตัว พร้อมร่วมสร้างเครือข่ายชาวประมง-เยาวชน รักษ์ทรัพยากรทางทะเล
"คลีนเล้าด้วยใจ ปันไข่ให้น้อง" มูลนิธิซีพี จับมือ ซีพีเอฟ เดินหน้ายกระดับสุขอนามัยโรงเรียน ต่อยอด "โครงการเลี้ยงไก่ไข่เพื่ออาหารกลางวันนักเรียน"
ตร.บุกรวบ 4 นอมินีทุนจีน ลอบเปิดกิจการโรงเลื่อยไม้ก่อมลพิษกระทบชุมชน ยึดเลื่อยโซ่ยนต์เถื่อน 5 เครื่อง
"ผอ.เขตป้อมปราบฯ" เผยเตรียมส่งชุดปฏิบัติการโรยตัวกู้ร่างผู้สูญหาย เหตุคนงานพลัดตกหลุมเจาะเสาเข็ม
"พาณิชย์" ประกาศรางวัล Agri Plus Award 2025 มุ่งต่อยอดเกษตรนวัตกรรมไทย ดัน SMEs สู่ตลาดโลก
เกษตรกร ชวนชาวบ้านเร่งจับ "ปลาหมอคางดำ" แนะรัฐฯ รับซื้อต่อเนื่อง
"นอภ." บุกตรวจวัดดัง หลังโซเชียลแฉหลักฐานลอบซุก "กัญชา" ล็อตใหญ่
เกษตรกร ยันใช้ "ปลานักล่า" กำจัด "ปลาหมอคางดำ" ได้ผลดี
เจอแล้วร่างผู้สูญหาย เหตุคนงานตกหลุมเจาะเสาเข็ม กู้ภัยเร่งวางแผนลำเลียงขึ้นมา

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น