พิรุธ! 11 บริษัท ส่งออก “ปลาหมอคางดำ” แต่ไม่เคยขออนุญาตนำเข้า

หลังภาครัฐเร่งหาวิธีกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำธรรมชาติในช่วงที่ผ่านมา พร้อม ๆ กับที่สังคมตั้งคำถามว่า ต้นเหตุของการระบาดมาจากที่ใด โดยนอกจากเอกชนรายเดียวที่ขออนุญาตนำเข้าแล้ว ยังพบว่ามีอีก 11 บริษัทที่ส่งออกปลา Blackchin Tilapia รวมจำนวนหลายแสนตัว โดยที่ไม่เคยขออนุญาตนำเข้ามาก่อน

วิกฤตปลาหมอคางดำ แม้ขณะนี้ยังไม่รู้แน่ชัดถึงสาหตุการระบาด แต่สังคมกลับชี้เป้าไปที่ บริษัทเอกชนเพียงรายเดียว ที่เคยขออนุญาตนำลูกปลาจากประเทศกาน่า เข้ามาเพื่อทำการวิจัย ซึ่งต่อมาก็ต้องยุติโครงการไปตั้งแต่ยังไม่เริ่ม เนื่องจากลูกปลาที่ได้รับมีขนาดเล็ก ไม่แข็งแรง และทยอยตายไปทั้งหมด ตั้งแต่ปี 2553

แต่อีกข้อเท็จจริงหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ นั่นคือหลักฐานของกรมประมง ว่ามีผู้การส่งออกปลา ที่ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Blackchin Tilapia ปลานิลคางดำ หรือ ปลาหมอคางดำ อยู่จำนวน 11 บริษัท ในช่วงปี 2556-2559 ก่อนจะพบการระบาดอย่างหนักเพียงไม่นาน

 

โดย 11 บริษัทนี้ ประกอบด้วย
1. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฉาง ซิน เอ็นเตอร์ไพร์ ส่งออกมากที่สุดถึง 162,000 ตัว
2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ซีฟู้ดส์ อิมปอร์ต-เอ็กซ์ปอร์ต ส่งออก 30,000 ตัว
3. บริษัท นิว วาไรตี้ ส่งออก 29,000 ตัว
4. บริษัท พี.แอนด์.พี อควาเรี่ยม เวิลด์ เทรดดิ้ง 3,638 ตัว
5. บริษัท ไทย เฉียน หวู่ 2,900 ตัว

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนอีก 6 บริษัท คือ บริษัท แอดวานซ์ อควาติก จำกัด, บริษัท เอเชีย อะควาติคส์ จำกัด, บริษัท หมีขาว จำกัด, บริษัท สยาม ออร์นาเมนทอล ฟิช จำกัด, ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี อควอเรียม และห้างหุ้นส่วนจำกัด สมิตรา อแควเรี่ยม ส่งออกแห่งละ 100-900 ตัวต่อราย โดยไปยัง 15 ประเทศ ที่มีผู้นิยมเลี้ยงปลาแปลก ปลาสวยงาม รวม 320,000 ตัว มูลค่าส่งออกรวม กว่าหนึ่งล้านห้าแสนบาท

แต่ทว่าตลอด 4 ปีที่พบการส่งออก กลับไม่พบมีรายใดเลย ที่ยื่นขออนุญาตนำปลาหมอคางดำเข้ามาเพาะเลี้ยง กระทั่งในปี 2560 หลังพบการระบาดแล้ว ภาครัฐจึงออกกฎหมายห้ามนำเข้าอย่างเด็ดขาด

โดยข้อมูลในวงการค้าขายปลาสวยงามระดับโลก ระบุว่าแหล่งใหญ่ในการเพาะพันธุ์อยู่ในย่านอาเซียน สอดรับกับงานวิจัยของเครือข่ายเฝ้าระวังการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระดับโลก TRAFFIC ที่ระบุว่าประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการค้าสัตว์ผิดกฎหมายมานาน

 

 

ต่อมาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษาสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงผลกระทบจากการนำเข้าปลาหมอคางดำเพื่อการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ในราชอาณาจักรไทย ได้เรียก 11 บริษัท รวมทั้งกรมประมง เข้ามาสอบถาม โดยทั้งหมดที่มาให้การพูดตรงกันว่า เกิดจากการกรอกชื่อผิดมาตลอด 4 ปี และปลาที่ส่งออกไปนั้น คือ ปลาหมอเทศข้างลาย ไม่ใช่ปลาหมอคางดำที่เป็นข่าว ซึ่งต่างก็โยนความผิดไปให้ ชิปปิ้ง ผู้มีหน้าที่ดำเนินการส่งออก

ในขณะที่อาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ ในฐานะที่ปรึกษาของคณะอนุกรรมาธิการ ออกมาตั้งข้อสังเกตว่า ในทุกประเทศที่รับซื้อปลา ควรจะต้องยึดที่ชื่อภาษาอังกฤษ คือ Blackchin Tilapia หรือปลาหมอคางดำ ไม่ว่าในประเทศไทยจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม ซึ่งมองว่าเรื่องนี้อาจเป็นการตัดตอนไม่ให้ความผิดมาถึงตัว และควรพิสูจน์ความจริงให้แน่ชัด โดยการย้อนกลับไปถามทั้ง 15 ประเทศปลายทางว่า เป็นปลาชนิดใดกันแน่

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ปปส.ภาค 2 ปลุกพลังนิคมอุตสาหกรรมต้านภัยยาเสพติด
"หมอธีระ" เตือน โควิด-19 ยังน่าห่วง ยอดผู้ป่วยพุ่ง 8 พันราย ชี้ระบาดหนักกว่าไข้หวัดใหญ่ 2 เท่า
“อีสท์ วอเตอร์ โชว์ผลประกอบการ Q1/68 พร้อมแจ้งเปลี่ยนกรรมการ เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจน้ำสู่ความยั่งยืน”
“แบล็คร็อค” บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ที่สุดในโลก เชื่อมั่นไทย หารือนายกฯ เตรียมร่วม “ซีพี-True IDC” ลงทุนเสริมแกร่ง โครงสร้างพื้นฐานไทยสู่ฮับ “กิกะดาต้าเซ็นเตอร์” ระดับภูมิภาค
"สป.สายไหม" พบ.ตร.ไซเบอร์ รับทราบข้อหา ยืนยันไม่ได้โปรโมทเว็บพนัน
“โจรใต้” หมาลอบกัด! กดชนวนบึ้มรถ “ทหารช่าง” พระคุ้มครองรอดทั้ง 21 นาย
"ภูมิธรรม​" โชว์ผลงาน 3 เดือน ​มาตรการ 3​ ตัด​ ปราบแก๊งคอลฯ ประสบความสำเร็จ
"พิชัย" สั่งการพณ.เร่งเคลื่อนนโยบายส่งเสริม ผลักดันสินค้าไทย รุก 7 มาตรการ ระบายสู่ตลาดใน-นอกประเทศ
"นฤมล" ลั่นทุเรียนไทยพร้อมส่งออกจีน ประสานใกล้ชิด GACC การันตีคุณภาพ ผ่านห้องแลป ไร้สาร BY2 
เปิดวาระลับ "แพทยสภา" สอบจริยธรรม กระบวนการรักษา "ทักษิณ" นอนชั้น 14 รพ.ตร. จับตาทีมหมอโดนลงโทษหรือไม่?

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น