กรมควบคุมโรคเตือน! เฝ้าระวังติดเชื้อ “แอนแทรกซ์” หลังคร่าชีวิตชาวมุกดาหาร 1 ราย เจอกลุ่มเสี่ยงอีก 247 คน

กรมควบคุมโรคเตือน! เฝ้าระวังติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" หลังคร่าชีวิตชาวมุกดาหาร 1 ราย เจอกลุ่มเสี่ยงอีก 247 คน

กรมควบคุมโรคเตือน! เฝ้าระวังติดเชื้อ “แอนแทรกซ์” หลังคร่าชีวิตชาวมุกดาหาร 1 ราย เจอกลุ่มเสี่ยงอีก 247 คน

 

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1 พ.ค.2568 นายแพทย์ภาณุมาศ ญาณเวทย์สกุล อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึง กรณีพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคแอนแทรกซ์ 1 ราย ในจังหวัดมุกดาหาร ว่า ผู้ป่วยเป็นเพศชาย อายุ 53 ปี โรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน อาชีพรับจ้างก่อสร้าง เริ่มมีตุ่มแผลขึ้นบริเวณมือข้างขวาเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลวันที่ 27 เมษายน 2568 ด้วยอาการแผลที่มือเริ่มมีสีดำชัดเจนขึ้น ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ข้างขวาโต และมีอาการหน้ามืด ชักเกร็ง ก่อนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ขณะเข้ารับการรักษาแพทย์สงสัยโรคแอนแทรกซ์ จึงเก็บตัวอย่างส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสถาบันบำราศนราดูร ผลพบเชื้อแบซิลลัส แอนทราซิส

 

จากการสอบสวนโรคเบื้องต้นคาดว่า ปัจจัยเสี่ยงมาจากการชําแหละโคในงานบุญผ้าป่า และมีการนำเนื้อโคที่ชําแหละไปแจกจ่ายให้รับประทานกันภายในหมู่บ้าน ขณะนี้ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค กรมควบคุมโรค ร่วมกับทีมสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และทีมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่สอบสวนโรคเบื้องต้นพบผู้สัมผัสจำนวน 247 คน แบ่งเป็นผู้ที่ชำแหละโค 28 คน และผู้ที่บริโภคเนื้อโคดิบ 219 คน ได้ให้ยาในกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง อยู่ระหว่างดำเนินมาตรการป้องกันการควบคุมโรคในพื้นที่

สำหรับโรคแอนแทรกซ์เป็นโรคติดต่อร้ายแรงจากสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียแบซิลลัส แอนทราซิส ซึ่งสปอร์ของเชื้อมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและสามารถก่อให้เกิดโรคได้แม้เวลาจะผ่านไปหลายปี

 

แหล่งรังโรคหลักของเชื้อ คือ สัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ และแกะ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อสู่คนได้โดยตรง การติดเชื้อในคนส่วนใหญ่เกิดจากการสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ เช่น การชำแหละเนื้อสัตว์ การบริโภคเนื้อสัตว์ดิบหรือปรุงไม่สุก หรือการสัมผัสกับหนังสัตว์หรือขนสัตว์ที่มีเชื้อ หลังได้รับเชื้อประมาณ 1–5 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องรุนแรง มีแผลคล้ายบุหรี่จี้ หายใจขัด หายใจลำบาก หากมีอาการรุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 80

ข้อมูลจากกองระบาดวิทยา พบผู้ป่วยในประเทศไทย ปี พ.ศ.2543 รวม 15 ราย แบ่งเป็น พิจิตร 14 ราย และพิษณุโลก 1 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ซึ่งการระบาดที่พิจิตรมีความเป็นไปได้ว่าสัตว์ได้รับเชื้อก่อนที่จะเคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่จังหวัด ส่วนในจังหวัดพิษณุโลกพบว่า ผู้ชำแหละมีบาดแผล โดยนำซากแพะเข้ามาชำแหละรับประทานเอง ล่าสุดในปี พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วย 2 ราย ในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ทั้งคู่ได้ชำแหละซากแพะที่นำมาจากประเทศเมียนมาโดยถลกหนังแพะด้วยมือเปล่า

ส่วนสถานการณ์ในประเทศที่มีพื้นที่ติดชายแดนไทย เมื่อปี พ.ศ.2567 สปป.ลาวพบผู้ติดเชื้อแอนแทรกซ์รวม 129 ราย และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และเมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 ประเทศเวียดนาม พบการระบาดโรคแอนแทรกซ์ จำนวน 3 เหตุการณ์ พบผู้ป่วยรวม 13 ราย และผู้สัมผัสอีก 132 ราย จากการรับประทานเนื้อโคและกระบือเช่นกัน

สำหรับวิธีการป้องกันโรคแอนแทรกซ์ นายแพทย์ภาณุมาศ ให้คำแนะนำ ดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโค กระบือ แพะ แกะ

2. ล้างมือ ชำระล้างร่างกายหลังสัมผัสสัตว์

3. เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองอาหารปลอดภัย

4. หากพบสัตว์ป่วยตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ทันที

5. หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

กรุงไทยนำเทรนด์! จับมืออินฟลูฯสายท่องเที่ยว สร้างปรากฏการณ์ TOURIST สู่ TOURICH ผ่าน Krungthai Travel Debit Card
สสจ.มุกดาหาร ยืนยันพบผู้ติดเชื้อ "แอนแทรกซ์" เพิ่ม 1 ราย รอผลตรวจกลุ่มเสี่ยงอีก 3 ราย
TPIPL จัดงานประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568
เพราะทะเลคือชีวิต ซีพีร้อยเรียงความดีผนึกชุมชน ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ 76 ล้านตัว สร้างความยั่งยืนให้ชายฝั่งตราด
ไม่รอด จนท.จับรถบรรทุกแตงกวา ยัดไส้ขน "แรงงานต่างด้าว" ชาวเมียนมา ลอบเข้าประเทศ
ศาลอุทธรณ์ให้ประกัน "ประยุทธ มหากิจศิริ" แล้ว วางหลักประกัน 1 ล้าน ห้ามออกนอกประเทศ
แนะนำ 10 ศูนย์กายภาพบำบัดในกรุงเทพ 2025 เลือกที่ไหนดี
"สมศักดิ์ แสงสุริยา" กับเทคนิคเลี้ยงกุ้งให้รอด ณ สมุทรสงคราม
‘อธิบดีโยธาฯ’ มั่นใจแบบจำลองโมเดล พิสูจน์หาสาเหตุ ‘ตึกสตง.’ถล่มได้ คาด 90 วันรู้ผล
สนง.สลากฯ เปิดตัว ‘ยูนิฟอร์ม’ จำหน่ายสลาก N3 เพิ่มความสะดวกให้ผู้ซื้อ ยันไม่กระทบยอดขาย L6

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น