“ดร.สามารถ” ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย

“ดร.สามารถ” ชี้คำสั่งศาลปกครองสูงสุดถือเป็นที่สุด แนะกทม.เร่งจ่ายหนี้ค่าจ้าง BTS หยุดผลกระทบดอกเบี้ย – Top News รายงาน

 

 

 

จากการที่ประชุมสภากทม. ได้พิจารณารายงานผลการศึกษาของคณะกรรมการวิสามัญศึกษาระบบขนส่งมวลชนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยนายนภาพล จีระกุล สก.บางกอกน้อย ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้รายงานสรุปในกรณีหนี้สินค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงส่วนต่อขยายที่ 1 และส่วนต่อขยายที่ 2 ซึ่งกทม.โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (KT) ค้างชำระอยู่ ตั้งแต่ปี 2562 ว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้ประชุมพิจารณาปัญหาดังกล่าว พร้อมเชิญผู้เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูลทุกด้าน รวมถึงพิจารณาสัญญา ระเบียบ กฎหมาย คำฟ้อง คำพิพากษาของศาลปกครองกลาง ศาลปกครองสูงสุด และแนวคำพิพากษาที่เกี่ยวข้อง จนได้ข้อสรุปว่ามีความจำเป็นที่ผู้บริหารกทม.ควรเร่งชำระหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC เมื่อพิจารณาจากคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เพื่อลดภาระใช้จ่ายจากอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน

ต่อประเด็นดังกล่าว ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ทีมข่าว ท็อปนิวส์ ถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร อ้างถึงขั้นตอนทางกฎหมาย ในการดำเนินการชำระหนี้ให้กับ บีทีเอสซี ว่า ในส่วนของภาระหนี้ที่เกิดขึ้นนั้น ทางกทม.ควรจะรีบจ่ายหนี้ให้แก่บีทีเอสซี เพื่อลดภาระลดเบี้ยกว่าวันละ 5.4 ล้านบาทที่กทม.จะต้องรับผิดชอบ และควรต้องเร่งจ่ายหนี้ทั้งในส่วนที่อยู่ระหว่างการยื่นฟ้องงวดที่ 2 หรือ ก้อนอื่นๆ เนื่องจากศาลปกครองสูงสุด ได้ตัดสินให้กทม.ชำระหนี้ให้แก่เอกชนแล้ว และ สัญญาได้ครอบคลุมหนี้ทั้งหมด ดังนั้น เมื่อศาลปกครองสูงสุดได้ตัดสินเรียบร้อยแล้ว กทม. ก็ควรที่จะต้องชำระหนี้ให้หมดทุกก่อน

ดร.สามารถ

“ทั้งนี้หากจำนวนหนี้ที่เกิดขึ้นถึงที่สุดตามขั้นตอนศาลปกครอง ส่วนตัวเชื่อว่า กทม.คงไม่มีเงินที่ชำระให้แก่บริษัทเอกชน และต้องเลือกขยายระยะเวลาสัมปทาน(ส่วนไข่แดง) ให้กับบีทีเอสซีที่จะสิ้นสุดสัมปทานในปี 2572 ไปอีก 30 ปี เป็นสิ้นสุดสัมปทานในปี 2602 ดังนั้นทางเลือกของกทม.ขณะนี้จึงมี 2 แนวทางคือการเร่งจ่ายหนี้ให้เอกชน หรือ ขยายสัญญาสัมปทาน ซึ่งหากกทม.มีเงินเพียงพอก็ควรจะเร่งจ่าย เพื่อให้ปี 2572 สัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกลับมาเป็นของกทม. ทำให้กทม.สามารถบริหารจัดการค่าโดยสารในอัตราที่ต้องการได้”

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม. ไม่ตัดสินใจให้เด็ดขาดทำให้กทม.ต้องแบกภาระค่าดอกเบี้ย 5.4 ล้านบาท ดร.สามารถ ระบุว่า ตอนนี้ผู้ว่าฯ กทม. มี 2 ทางเลือกเท่านั้น คือ จ่ายหนี้ หรือ ขยายระยะเวลาสัมปทานให้เอกชน ซึ่งที่ผ่านมาทราบว่าได้มีการเจรจาต่อรองและขยายสัญญาสัมปทานออกไป 30 ปี สิ้นสุดปี 2602

 

“ขณะนี้เอกชนเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายเเทนกทม. เพราะจนถึงปัจจุบัน แม้กทม.จะไม่จ่ายหนี้ แต่เอกชนก็ยังไม่หยุดให้บริการเดินรถเลย ดังนั้น การตัดสินใจทุกอย่างจะอยู่ที่กทม.ว่าจะจัดการอย่างไรกับภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ซึ่งการเป็นหนี้ก็ต้องจ่ายและเป็นงบประมาณที่ทางกทม.จะต้องจัดหามา ซึ่งมาจากภาษีของประชาชน

ผู้สื่อข่าวถามถึงความรับผิดชอบของภาระหนี้ที่เกิดขึ้น ดร.สามารถ มองว่า กทม.ควรเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะผู้บริหารทั้งหมด และผู้บริหารสูงสุด คือ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะต้องรับผิดชอบ

ส่วนกรณีที่ผู้ว่าฯ กทม.ได้มีการทำหนังสือสอบถาม เรื่องการจ่ายหนี้งวดที่ 2 ไปยังอัยการสูงสุด ทั้งที่ศาลปกครองสูงสุด เคยตัดสินให้มีการจ่ายหนี้ เป็นการยื้อความรับผิดชอบ หรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า ต้องดูว่าหนี้ก้อนที่ 2 /3 เป็นหนี้ลักษณะเดียวกับหนี้ก้อนแรก หรือ ไม่ ถ้าใช่ กทม.ก็ควรพิจารณาชำระหนี้ให้แก่บีทีเอสซีทันที ไม่ควรจะรอเพราะจะทำให้หนี้สินพอกพูนขึ้น แ ละหากรู้อยู่แล้วว่า หากให้เอกชนยื่นฟ้องแล้วกทม.ว่า จะแพ้คดี ก็ยิ่งควรจ่าย ซึ่งหากจ่ายวันนี้เป็นการจ่ายที่น้อยกว่า แต่หากการจ่ายในอนาคตจ่ายมากกว่าก็ควรเร่งจ่ายในวันนี้

ส่วนที่นายชัชชาติ รอคำตอบจากอัยการสูงสุดก่อนตัดสินใจนั้น ดร.สามารถ มองว่า นายชัชชาติอาจเห็นช่องทางการสู้คดี หรืออาจจะมีลู่ทางทำให้กทม.ชนะคดีได้ ซึ่งส่วนตัวมองว่า เรื่องนี้ยังไม่เห็นทางที่กทม.จะชนะคดี

 

ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่ผ่านมาหลายหน่วยงานของรัฐ แก้ปัญหาเรื่องหนี้ โดยการขยายอายุสัมปทานออกไปอย่างไร ดร.สามารถ ระบุว่า ที่ผ่านมาโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินของ BEM ได้มีการขยายอายุสัญญาสัมปทานออกไปอีก 20 ปี จาก 2572 ถึงปี 2592 โดยมีการเซ็นสัญญาไปเมื่อปี 2560 ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่ทราบ ขณะที่ทางด่วนดอนเมือง โทลเวย์ รัฐบาลยอมให้ผู้รับสัมปทานปรับขึ้นค่าผ่านทางแทนการขยายอายุสัมปทานที่จะสิ้นสุดในปี 2577

ผู้สื่อข่าวถามต่อว่า ด้วยภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุกวัน กระทรวงคมนาคม รัฐบาลควรจะเข้ามาร่วมแก้ปัญหาและรับผิดชอบหรือไม่ ดร.สามารถ ระบุว่า อยู่ที่ กทม. จะขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งกทม.สามารถทำได้ แต่ที่ผ่านมากทม.เคยขอให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือแต่ไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนแข่ง 'วิ่งส้นสูง' นานาชาติ เด็กไทยร่วมประชันฝีเท้า
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนฉลอง 2,500 ปี คลองใหญ่แห่งปักกิ่ง
ระทึก! "น้องหม่ำ" ลิงเลี้ยงหลุดกรง ไล่กัดเด็ก 2 คน หน้า-แขน-หัวโดนขย้ำเย็บ 14 เข็ม
สุดยื้อ เหยื่อปูนร่วงใส่รถพระราม 2 กระจกแตกยับ เสียชีวิตแล้ว
"อุตุฯ" เตือน 38 จังหวัด รับมือฝนถล่ม-ลมกระโชกแรง กทม.ร้อยละ 30 ของพื้นที่
เที่ยวบินครม.สัญจรระทึก เจออากาศแปรปรวนหนักลงจอดไม่ได้ ต้องบินกลับพิษณุโลก
“พีระพันธุ์” หารือ “รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม” ญี่ปุ่น ขับเคลื่อนความร่วมมือด้านพลังงาน
มาแน่ “กรมอุตุฯ” ประกาศฉบับ 12 เตือนระวังอันตราย "พายุฤดูร้อน" พัดถล่ม จว.ที่ไหนบ้างเช็กเลย
ฝนตกหนัก "อนุทิน" กำชับ "ผู้ว่าฯ เชียงราย" ติดตามสถานการณ์น้ำแม่น้ำสายใกล้ชิด
"รมว.สุดาวรรณ" นำชมนิทรรศการ สาธิตวิถีชีวิต ประเพณีวัฒนธรรมโดดเด่นชาวนครพนม ชูเส้นทางตามรอยศรัทธาธรรม 7 วันสักการะ 8 พระธาตุประจำวันเกิด

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น