No data was found

อีอีซี เตรียมเสนอท่าเรือแหลมฉบัง เข้าครม.-ปรับแผนลงทุน 2.2 ลลบ.ใน 5 ปี

กดติดตาม TOP NEWS

"คณิศ" เผยเตรียมเสนอโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3  เข้าครม. และลงนามสัญญา พร้อมปรับแผนลงทุนอีอีซีใน 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) วงเงินลงทุนรวมราว 2.2 ล้านล้านบาท  หวังช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5 – 5% ต่อปี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือ อีอีซี  เปิดเผยว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 ตุลาคม 2564 ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดสำคัญ ดังนี้

 

  1. ท่าเรือแหลมฉบังฯ สำเร็จ พร้อมเสนอ ครม. อนุมัติ : โครงสร้างพื้นฐานหลักอีอีซี ได้เอกชนครบ 4 โครงการ

ที่ประชุม กพอ. พิจารณาผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการตาม มติ ครม. เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 โดยผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐจะได้รับจากโครงการฯ เป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาด 20 ฟุต)

 

โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ได้มีมติให้กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับ เป็นไปตามเอกสารการคัดเลือกเอกชน และมติ ครม. ที่ได้อนุมัติไว้

นอกจากนี้ ยังได้เจรจาผลตอบแทนเพิ่มเติม อาทิ เอกชนตกลงเพิ่มเงื่อนไขการสร้างท่าเรือ F2 ให้เร็วขึ้น หากแนวโน้มตู้สินค้าเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เอกชนจะสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหาย ในอัตรา 5,000 บาท/ไร่/ปี นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบการท่าเทียบเรือ เป็นต้น

โดย กพอ.ได้เห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และจะนำเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติ พร้อมลงนามสัญญาต่อไป

โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ฯ จะสามารถรองรับความจุตู้สินค้าจาก 11 ล้านตู้/ปี เป็น 18 ล้านตู้/ปี หรือเพิ่มตู้สินค้าไม่ต่ำกว่า 7 ล้านตู้/ปี รับการขยายตัวของปริมาณเรือขนส่งสินค้าทางทะเลเพิ่มขึ้น เชื่อมต่อการพัฒนาสู่ท่าเรือบก (Dry port) เป็นศูนย์กลางการค้าบริการขนส่ง ยกระดับไทยเป็นประตูการค้าเชื่อมภูมิภาคเอเชียไปสู่ระดับโลก

ทั้งนี้ โครงการฯ นี้นับเป็นโครงการร่วมลงทุนรัฐ – เอกชน (PPP) ที่ประสบผลสำเร็จต่อจาก 3 โครงการหลัก ซึ่งได้เอกชนเดินหน้าก่อสร้างแล้ว โดยมูลค่าการลงทุนรวมทั้ง 4 โครงการสูงถึง 633,401 ล้านบาท เป็นการลงทุนภาคเอกชน 387,018 ล้านบาท (61%) และเป็นการลงทุนของภาครัฐ 196,940 ล้านบาท (39%)

 

  1. ปรับแผนลงทุนอีอีซี 2.2 ล้านล้านบาทใน 5 ปี เสริมแกร่งเศรษฐกิจไทย แข่งขันได้ในยุค New Normal

ที่ประชุม กพอ. พิจารณา เห็นชอบการปรับแผนลงทุนอีอีซีในระยะ 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) มีเป้าหมายการลงทุนให้ได้มากกว่าเป้าหมายเดิม จากแผนแรกของอีอีซี (2561-2565) กำหนดเงินลงทุนไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ปัจจุบัน  เกิดเงินลงทุนแล้ว รวม 1,605,241 ล้านบาท หรือคิดเป็น 94% คาดว่าสิ้นปี 2564 จะได้ตามเป้าที่วางไว้

 

โดยแผนลงทุนอีอีซีระยะ 2 ขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศ มีวงเงินลงทุนรวมประมาณ 2.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่

1) ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท จากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กม. รอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงฯ (TOD)

2) ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีละ 400,000 ล้านบาท  แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ (1) การลงทุนในระดับฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท และ (2) การลงทุนส่วนเพิ่มที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ การขนส่งโลจิสติกส์ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG) รวมปีละ 150,000 ล้านบาท

3) ยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนาตลาดสด/ e-commerce สร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่ม ยกเครื่องการศึกษา สาธารณสุขพื้นฐาน สิ่งแวดล้อมและสาธารณูปโภคที่สะดวกสบายให้ชุมชน

 

แผนอีอีซีใน 5 ปีข้างหน้า จะทำให้มูลค่าการลงทุนในอีอีซี เพิ่มขึ้น 500,000 ล้านบาท/ปี (จากเดิม 300,000 ล้านบาท/ปี) ถือเป็นกลไกหลักช่วยผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5 – 5% ต่อปี และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมส่งผลให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572

 

  1. วางกรอบสิทธิประโยชน์ เน้นความต้องการผู้ประกอบการ จูงใจนักลงทุน ใช้นวัตกรรมเคียงคู่สิ่งแวดล้อม

ที่ประชุม กพอ. พิจารณา แผนการดำเนินงานด้านสิทธิประโยชน์ โดยขยายมาตรการสนับสนุนการลงทุนจากโครงการที่เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล สู่การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ

โดยเริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมฯ เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) ให้เป็น พื้นที่ต้นแบบ (Sandbox) “การปฏิรูปและยกระดับประเทศไทย ก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด” และที่ประชุมได้มอบหมายให้ สกพอ. จัดทำ (ร่าง) ประกาศสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ที่ครอบคลุม สิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากรและที่มิใช่ภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ อีอีซี โดยมุ่งเน้นกลุ่มนักลงทุนที่มีศักยภาพ ใช้นวัตกรรมขั้นสูงและเป็นมิตรสิ่งแวดล้อม ภายใต้การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ (Demand Driven Customization) เป็นต้นแบบการปฏิรูประบบราชการที่ใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในการลงทุน และเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน

 

  1. เดินหน้าแผนพัฒนาเกษตร เร่งรัดโครงการ EFC ช่วยเกษตรกรเงินเก็บเพิ่ม ผลไม้ไทยสร้างรายได้ยั่งยืน

ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบ ร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตรในอีอีซี (พ.ศ.2566 -2570) และแผนงานโครงการ ภายใต้แผนฯ ที่ สกพอ. จัดทำร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีกรอบแนวคิด เน้นตลาดนำการผลิต(Demand Pull) ใช้เทคโนโลยีสร้างรายได้ (Technology Push) สร้างโอกาสการตลาดให้กับสินค้าเกษตรคุณภาพดี พร้อมเป็นต้นแบบการพัฒนาภาคเกษตรเข้าถึงตลาดสินค้ามูลค่าสูง จาก 5 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ ทุเรียน มังคุด มะม่วง

ประมงเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำทดแทนนำเข้า พืชอุตสาหกรรมชีวภาพ มันสำปะหลัง พืชสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร และเกษตรมูลค่าสูง โคเนื้อพรีเมียม ตั้งเป้าหมายยกระดับรายได้ให้ชุมชนเกษตรกรในพื้นที่ อีอีซี เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรม-บริการ พร้อมให้ GDP ภาคเกษตรในอีอีซี เพิ่มขึ้น

 

รวมทั้ง ที่ประชุมกพอ. ได้พิจารณาเห็นชอบให้ สกพอ. ศึกษาการจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ร่วมทุนกับเอกชน ท้องถิ่น เน้นสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้เกษตรกรด้วยการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลประกอบการ ด้วยแนวคิด การตลาดนำการผลิต วางระบบการค้าสมัยใหม่ E-commerce และ E-auction พัฒนาระบบห้องเย็น-โลจิสติกส์ทันสมัย ที่สกพอ.จะเร่งสร้างโรงงานห้องเย็นให้ทันช่วงหน้าทุเรียนปี 2565 และจัดระบบสมาชิกชาวสวนผลไม้ที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

 

โดยโครงการ EFC จะสร้างรายได้ 20-30% มูลค่าประมาณ 10,000-15,000 ล้าน/ปี คืนสู่เกษตรกรชาวสวนผลไม้ ระบบห้องเย็นช่วยคงคุณภาพผลผลิต ลดปัญหาขาดแคลนและล้นตลาด ขายได้ราคาเป็นธรรมไม่ถูกกดราคา ส่งออกได้มูลค่าสูง ได้รับเงินจากการขายทันที ให้เกษตรกรไทยมีรายได้ดีมั่นคงอย่างสมดุล

 

  1. พัฒนาตลาดลานโพธิ์นาเกลือ พลิกโฉมพัทยา สู่แหล่งท่องเที่ยวโลก สร้างเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน

ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบให้ สกพอ. ร่วมกับ เมืองพัทยา ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ (Old Town นาเกลือ) เพื่อพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนควบคู่ไปกับการเป็นตลาดอาหารทะเลชั้นนำในพื้นที่อีอีซี พร้อมเป็นโครงการนำร่อง แผนพัฒนาเมืองพัทยาตามแนวทาง NEO PATTYA ที่มีแนวคิด ให้พัทยาก้าวสู่ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวของอีอีซี โดยขับเคลื่อนให้ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ เป็นต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว กลุ่มรายได้ดีและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพซึ่งมี 13 โครงการย่อยที่จะดำเนินการที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ปรับปรุงตลาดขายอาหารทะเลสด ก่อสร้างเส้นทางเดินชมธรรมชาติ จุดชมทัศนียภาพปากคลองนาเกลือ ก่อสร้างเส้นทางธรรมชาติป่าโกงกางคลองนกยาง และก่อสร้างตลาดใหม่ลานโพธิ์นาเกลือ เป็นต้น ซึ่งหากดำเนินการแล้วเสร็จ คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่า 1.5 ล้านคน/ปี และเกิดรายได้ให้คนในพื้นที่กว่า 1,000 ล้านบาท/ปี

 

  1. ยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 เป็น Sandbox ต่อยอดระบบบริการสาธารณสุข สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี

ที่ประชุม กพอ. พิจารณาเห็นชอบให้ “โครงการการยกระดับโรงพยาบาลปลวกแดง 2 ให้มีศักยภาพเป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (M1) และมีมาตรฐานโรงพยาบาลคู่สัญญาของประกันสังคม” เป็นหนึ่งในโครงการ EEC Project List โดยให้

สกพอ. และกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการ เร่งศึกษารูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (PPP) และให้เป็นโครงการ Sandbox ยกระดับการบริการสาธารณสุข โดยความร่วมมือกับภาคเอกชน ต่อไป

 

โครงการโรงพยาบาลปลวกแดง 2 จะรองรับผู้ประกันตนประมาณไม่ต่ำกว่า 200,000 คน ในอำเภอปลวกแดง ให้ได้รับบริการสาธารณสุขอย่างทันการ สะดวก ปลอดภัยและมีคุณภาพ  ลดการเดินทางไปรักษาพยาบาลนอกพื้นที่ ทำให้สถานประกอบการในพื้นที่มีความมั่นใจว่าพนักงานได้รับบริการอย่างทันท่วงทีจากโรงพยาบาลที่มีมาตรฐานในพื้นที่

 

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ผู้ว่าชลฯ บูรณาการ ทุกหน่วยงานเร่งแก้ปัญหาภัยแล้งบนเกาะล้าน พร้อมแจกจ่ายน้ำให้ประปาให้ชาวบ้านบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้น
อบต.ตะพง ชวนเที่ยวงานเทศกาลดนตรี สีสัน ผลไม้สไตล์ตะพง ของดีเมืองระยอง เลือกซื้อ ชิม ช้อปผลไม้ขึ้นชื่อเมืองระยอง ทั้งทุเรียน เงาะ ลองกอง มังคุด
น้องชายยิงพี่ชายทนายความรุ่นใหญ่ ดับคาบ้าน เหตุหึงเมีย
เมียนมาห้ามชายวัยเกณฑ์ทหารออกไปทำงานตปท.
สลด "หนุ่มใหญ่" ดกเหล้าขาวดับคาโต๊ะ คาดเป็นฮีทสโตรก หลังร้อนจัด 44 องศาฯ
"มณฑลทหารบกที่ 32" แปรอักษรถวายกำลังใจ "กรมสมเด็จพระเทพฯ"
"สมาคมคนตาบอดฯ" ยืนยันจัดสรรโควต้าสลากฯครบถึงมือสมาชิก ไม่การันตีแทนองค์กรอื่นปล่อยยี่ปั๊ว-ออนไลน์
"ทนายอนันต์ชัย" ยันเอาผิดก๊วนเชื่อมจิต ย้ำลัทธิบิดเบือนหลักพุทธศาสนา รับไม่ได้ใช้เด็กหาผลประโยชน์
กมธ.ศึกษานิรโทษฯ เคาะนิยามบุคคล มีมูลเหตุการเมืองจูงใจทำผิดคดีไม่รุนแรง ตั้งแต่ปี 48 ไม่รวมละเมิด 112
“สงคราม กิจเลิศไพโรจน์” เจ้าของห้างอิมพีเรียล เปิดตัวเป็นแฟนคลับ Top News บอกชอบมานานแล้ว

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น