No data was found

เต้าเจี้ยวเกษตร ของขึ้นชื่ออำเภอนาโยง ยอดขายเคยพุ่งสูง

กดติดตาม TOP NEWS

วันที่ 26 ก.ย. 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กลุ่มเต้าเจี้ยวเกษตรวิสาหกิจชุมชน ตั้งอยู่เลขที่ 90 หมู่ 5 อ.นาโยง จ.ตรัง นางอุบล จันทร์เดช อายุ 75 ปี ประธานกลุ่มเต้าเจี้ยวเกษตรวิสาหกิจชุมชน พร้อมสมาชิกวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตเต้าเจี้ยวเกษตร บ้านวัดกลาง นำผู้สื่อข่าวเข้าเยี่ยมชมโรงงานผลิตเต้าเจี้ยว ซึ่งภายในโรงงานมีต้องต่างๆ แบ่งเป็นสัดส่วนในการผลิตในแต่ละขึ้นตอน มีห้องต้ม ห้องหมัก กว่า 100 โอ่ง ห้องเพาะเชื้อ ห้องบรรจุ พร้อมส่งจำหน่ายทั่วประเทศ สำหรับวัตถุดิบ มี ถั่วเหลือง แป้งข้าวจ้าว น้ำตาล เกลือ หัวเชื้อ และ น้ำสะอาด ขั้นตอนการทำ เริ่มจากการนำถั่วเหลืองไปล้างทำความสะอาดและแช่ไว้ 1 คืน จากนั้นนำต้มด้วยไฟแรงให้ถั่วพอสุก นำขึ้นวางให้สะเด็ดน้ำ นำไปคลุกกับแป้งข้าวจ้าวผสมหัวเชื้อให้เข้ากัน จากนั้นนำใส่ตะแกรงหรือถาดนำไปเก็บในห้องหมักเชื้อ 2 คืน ก็สังเกตเห็นว่ามีเชื้อราสีเขียวขึ้น จากนั้นนำถั่วเหลืองไปใส่ภาชนะหรือโอ่งน้ำเกลือ (น้ำเปล่าผสมกับเกลือ) ที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิทหมักไว้ 3 เดือน หรือยิ่งนานยิ่งดี เมื่อครบ 3 เดือน นำถั่วเหลืองที่หมักไว้มากรองด้วยผ้าขาวแยกน้ำออกหมักออก ซึ่งการต้มแตะละครั้ง 1 กระทะใบบัวใช้ถั่วดอง 70 กิโลกรัม หรือ 1 โอ่งครึ่ง จากนั้นนำน้ำหมักและถั่วเหลืองมาต้มด้วยไฟแรง เติมน้ำตาลทรายเพื่อปรุงรส ต้มไปเรื่อย ๆ จนสังเกตเห็นเม็ดถั่วเปลี่ยนสีเป็นสีแดงก็เป็นอันใช้ได้ จากนั้นนำมาพักไว้ให้เย็น ก่อนนำมาบรรจุขวดภาชนะที่ได้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อเรียบร้อยแล้ว ถั่วเหลือง 1 กระทะใบบัว นำมาบรรจุขวดได้ 15 โหล


นางอุบล เล่าว่า กลุ่มเต้าเจี้ยวเกษตรวิสาหกิจชุมชน อ.นาโยง มีสมาชิกที่ถือหุ้นจำนวน 37 คน จำนวนหุ้น 200,000 บาท ครบปี ปันผล 100 ละ 20 บาท โดยเงินปันผลจะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการลงหุ้น ทำมา 30 กว่า ปี แล้ว โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตต้องสั่งเป็นจำนวนมาก ๆ เช่น ถั่วเหลือง เกลือ น้ำตาล แป้งข้าวจ้าว หัวเชื้อ เพื่อให้คุ้มค่ากับราคาขนส่ง ทั้งนี้ทางโรงงานยังคงใช้วิถีชุมชนพื้นบ้านทุกขั้นตอนการทำ เช่น เตาไฟใช้ต้มยังคงใช้ไม้ฟืนเพราะจะทำให้ถั่วมีกลิ่นหอม การจุขวดฆ่าเชื้อด้วยน้ำร้อน ปิดปากขวดพลาสติกเคลือบก็ใช้น้ำร้อนในการปิดปากขวด ใช้มือทำทั้งหมดไม่ได้อาศัยเครื่องจักรแต่อย่างใด


นอกจากนั้น ประธานกลุ่มเต้าเจี้ยวเกษตรวิสาหกิจชุมชน กล่าวด้วยว่า ได้ขยับขยายการตลาดส่งขายทั่วประเทศ โดยเฉพาะก่อนการกระบาดโควิด 19 และช่วงรัฐบาลส่งเสริมสินค้าผลิตภัณฑ์ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เคยทำยอดสูงสุด 100,000 บาท ต่อเดือน ในช่วงเป็นสินค้า แต่ตอนนี้เหลือเพียงเดือนละ 50,000-60,000 บาท ยังไม่หักต้นทุน ขายราคาขวดละ 20 บาท คาดว่ายอดขายน่าจะกลับมาดีขึ้นหลังจากหมดโควิด 19 ระบาด และทราบว่ารัฐบาลจะเปิดท่องเที่ยว เปิดเมือง สามารถส่งสินค้าได้ทั่วประเทศ โดยเฉพาะช่างเร่งผลิตสินค้าเต็มกำลัง เนื่องจากเป็นสินค้าโอทอป สามารถซื้อไปเป็นของฝากได้ ลูกค้าส่วนใหญ่จะติดใจในรสชาติ เพราะที่นี่ไม่ใส่สารวัตถุกันเสีย หรือปรุงแต่งแต่อย่างใด สนใจสินค้า โทร. 075-299169, 089-4751823

ถนอมศักดิ์  หนูนุ่ม    ผู้สื่อข่าวภูมิภาค จ.ตรัง

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"บุ้ง" อดอาหาร 91 วันแล้ว ล่าสุดแน่นหน้าอก ชามือเท้า ปวดขามาก
คดีสะเทือนขวัญ ตร.เร่งล่าตัว 2 หนุ่มญี่ปุ่น ฆ่าหั่นศพเพื่อนร่วมชาติ หนีซุกประเทศเพื่อนบ้าน
มีหนาว! สะเทือน "คณะก้าวหน้า" ทำ "ธนาธร" สะดุ้งโหยง "กกต."จ่อฟันเคมเปญชี้ชวนหาแนวร่วมสมัคร ส.ว. จี้ยุติการกระทำทันที
"วอยซ์ทีวี" ประกาศปิดกิจการทุกแพลตฟอร์ม 31 พ.ค.นี้ เลิกจ้างพนง. 100 กว่าชีวิต
"พิพัฒน์" ห่วงร้อนจัดทำร้ายแรงงาน ฝาก 6 ข้อเตือนระวังคุณภาพชีวิต
กกต.เตือนกลุ่มบุุคคล-องค์กร จูงใจเชิญชวนให้คนลงสมัครสว. เสี่ยงทำผิดกฎหมาย
เปิดคลิปวินาที สุดกร่าง "ผู้บริหารหญิง" บ.ระดับโลก เมาแล้วขับ ด่าตร.ชั้นต่ำ แถมถีบหน้า
"พิพัฒน์" รุกพัฒนาแรงงานโลจิสติกส์ รับธุรกิจขนส่ง-การค้าระหว่างปท.ขยายตัว
เกษตรกร ชี้ซีพีเป็นรายเดียวเข้มนโยบายตรวจสอบย้อนกลับ ไม่รับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ และที่มาจากการเผา รัฐควรบังคับเอกชนใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับทุกรายเท่าเทียม
"สหพัฒน์" จัดการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 อนุมัติจ่ายปันผลหุ้นละ 2.00 บาท

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น