ศบค. สธ. เห็นชอบฉีดสูตรไขว้ ปลอดภัย สร้างภูมิเร็ว

ศบค. สธ. เห็นชอบ การเพิ่มวัคซีนสูตรไขว้ แอสตร้าเซเนก้า-ไฟเซอร์ ใช้ในช่วงเดือนตุลาคม ต่อจาก ซิโนแวค-แอสตร้าเซเนก้า ส่วนเข็มกระตุ้นผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็ม ให้ใช้ แอสตร้าเซนเนก้า

วันที่3 ก.ย. 2564 ที่ ศูนย์แถลงข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวว่า จากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด สายพันธุ์เดลต้า ทำให้วัคซีนทุกตัวที่ใช้ มีประสิทธิภาพลดลง จึงมีการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพวัคซีนและกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อสู้กับสายพันธุ์เดลตา

 

โดยการวิจัยของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ได้ผลสอดคล้องกันว่า การฉีดวัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวค ตามด้วย แอสตร้าเซเนก้า ทำให้ภูมิคุ้มกันสูงในเวลารวดเร็ว ต่อสู้กับ สายพันธุ์เดลตาได้ ซึ่งหลายประเทศ เช่น เยอรมนีและอิตาลี ก็มีการฉีดสูตรไขว้แอสตร้าเซเนก้าตามด้วยไฟเซอร์

 

สำหรับการฉีดไขว้ในประเทศไทยนั้น วันนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด 19 หรือ ศบค.สธ. ได้เห็นชอบการฉีดวัคซีนสูตรไขว้ คือ

 

1.วัคซีนสูตรไขว้ซิโนแวคและแอสตร้าเซเนก้า ระยะห่าง 3-4 สัปดาห์ เป็นสูตรหลักของประเทศไทย และเพิ่มสูตรไขว้แอสตร้าเซเนก้าตามด้วยไฟเซอร์ ระยะห่าง 4-12 สัปดาห์  ซึ่งสูตรนี้จะใช้แพร่หลายในเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เนื่องจาก จะมีวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์จำนวนมาก

 

2.การฉีดกระตุ้นในผู้ที่ฉีดซิโนแวค 2 เข็มด้วยแอสตร้าเซเนก้า

 

3.ผู้ที่หายป่วยโควิดในช่วง 1-3 เดือน ซึ่งยังไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือฉีดวัคซีนยังไม่ครบ 2 เข็ม หรือครบ 2 เข็มแต่ไม่ถึง 14 วันแล้วติดเชื้อ ให้ฉีดกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วยแอสตร้าเซเนก้าหรือไฟเซอร์ 1 เข็ม

 

นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนโควิด 19 ให้ประชาชนในประเทศไทยตามความสมัครใจตามนโยบายรัฐบาล ตั้งแต่ปี 2563 ได้ติดต่อกับบริษัทต่าง ๆ เพื่อสั่งจองซื้อวัคซีน ขณะนั้น ยังไม่มีวัคซีนชนิดใดที่ผลิตได้สำเร็จ การจัดซื้อวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า มีการลงนามสัญญาจองซื้อตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ยังไม่มีมีวัคซีนออกมา จึงไม่ได้กำหนดเวลาส่งมอบชัดเจน แต่มีการหารือมาเป็นระยะ และจากการที่โรงงานผลิตวัคซีนอยู่ในประเทศไทย เมื่อผลิตสำเร็จจึงมีการส่งมอบให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกและได้รับอย่างต่อเนื่องตามที่ตกลงกัน โดยเดือนกันยายนนี้ส่งมอบอย่างน้อย 7.3 ล้านโดส ตุลาคม 10 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคมเดือนละ 13 ล้านโดส

 

ส่วนวัคซีนไฟเซอร์นั้น กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติ มีการติดต่อประสานงานพูดคุยกับตัวแทนของทางไฟเซอร์เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง จนมีการลงนามในสัญญา 2 ฉบับ รวมวัคซีน 30 ล้านโดส ส่งมอบล็อตแรกปลายกันยายน 2 ล้านโดส ,  ตุลาคม ประมาณ 8 ล้านโดส และพฤศจิกายน-ธันวาคม เดือนละ 10 ล้านโดส จนครบ และก่อนหน้านี้ ได้รับบริจาค 1.5 ล้านโดส จาก สหรัฐอเมริกา ได้กระจายให้กลุ่มเป้าหมายแล้ว ซึ่งทำให้ วัคซีนแอสตร้าเซเนก้าและไฟเซอร์ จะเป็นวัคซีนที่มีมากที่สุดใน 3-4 เดือนข้างหน้า ทำให้เกิดความมั่นคง และคนไทยเข้าถึงวัคซีนอย่างทั่วถึง

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"GLO" จัด Kid Dee Roadshow ภาคเหนือ เสริมพลังคนรุ่นใหม่รู้เท่าทันภัยพนันออนไลน์
“ภูมิธรรม” ชี้ชายแดนไทย-กัมพูชายังตึงเครียด ยันยึดมาตรการตามเดิม ไม่มีผ่อนปรนเข้า-ออก ข้ามแดน
"บิ๊กเล็ก" แจงเข้าใจคลาดเคลื่อน ยันคุยทางออกขัดแย้งกัมพูชา ไม่ได้หมายถึง "เตีย เซียฮา" ขอเชื่อมั่น ไว้ใจนำสงบสุขกลับคืน
"อ.ไชยันต์" ซัด "ไอติม พริษฐ์" อ้างเหตุปชน.ไม่ร่วมยื่นซักฟอก "นายกอิ๊งค์" ทำปชช.เสียโอกาส สวนเจ็บ รัฐสภาอังกฤษ เขียนชัด จริยธรรมนักการเมือง อย่าทำไม่รู้เห็น 
ปั๊มน้ำมันระเบิดดังสนั่นทั่วกรุงโรมของอิตาลี
"โฆษกทบ." แจงเหตุ "ทหารพรานไทย" ปะทะคารม "ทหารกัมพูชา" จุดชมวิวภูผี ไม่ถึงขั้นรุนแรง ย้ำต่างฝ่ายต่างยึดข้อตกลง
"จุลพันธ์" อ้างเหตุครม.ใหม่ เตรียมถอนร่างพ.ร.บ.เอ็นเตอร์เทนเมนต์-กาสิโน พิจารณาซ้ำ ยันไม่เกี่ยวปมขัดแย้งกัมพูชา
ดร.เฉลิมชัย ปิดหลักสูตร ปธส. 12 มุ่งสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ท่ามกลางวิกฤตโลกเดือด
"มูลนิธิหัวใจบริสุทธิ์" ร่วมกับสถานีตำรวจภูธรทุ่งหลวง ราชบุรี มอบรถเข็นวีลแชร์ผู้สูงอายุ-ผู้ป่วย ถวายเป็นพระราชกุศลวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2568
"หมอวรงค์" สรุปแยกเป็นข้อๆ ไต่สวนแพทย์-พยาบาล รักษา "ทักษิณ" พิรุธหนัก แพทย์อ้างส่งไปรพ.ตร. เพราะ "พยาบาลเวร" วินิจฉัยอาการ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น