22 กันยายน “วันแรดโลก” วิกฤตการณ์สัตว์โลกใกล้สูญพันธุ์

22 กันยายน "วันแรดโลก" วิกฤตการณ์สัตว์โลกใกล้สูญพันธุ์ ช่วยอนุรักษ์ประชากรแรด ต่อต้านการนำนอแรดมาทำเครื่องประดับ และความเชื่อผิด ๆ ที่ว่านอแรดรักษาโรคได้

22 กันยายน 2566 “วันแรดโลก” วัน อนุรักษ์ แรด โลก วิกฤตการณ์สัตว์โลกใกล้สูญพันธุ์ ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งมีชีวิตสำคัญที่มีจำนวนลดลงทุกวัน ติดตามต่อได้ที่นี่ TOP News

ข่าวที่น่าสนใจ

จุดเริ่มต้นของ “วันแรดโลก”

  • ถือกำเนิดขึ้นในปี 2553 โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (World Wide Fund for Nature – WWF) แห่งแอฟริกาใต้
  • จากการริเริ่มของผู้หญิง 2 คน คือ ลิซ่า เจน แคมป์เบล และ ซิงห์ ที่มีความต้องการเหมือนกันในการก่อตั้งวัน แรดโลกขึ้นมา เพื่อเฉลิมฉลองให้กับแรดทั้ง 5 สายพันธุ์
  • และผลักดันจนสามารถเกิดเป็นวัน แรดโลกได้สำเร็จ จนกลายเป็นที่ยอมรับของทั่วโลกและองค์กรต่าง ๆ ที่หันมาร่วมกันอนุรักษ์แรด 5 สายพันธุ์ ได้แก่

1. แรดขาว (Ceratotherium simum)

  • เป็นแรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก พบในทวีปแอฟริกา

2. แรดดำ (Diceros bicornis)

  • เป็นแรดที่มีความใหญ่รองมาจากแรดขาว พบในทวีปแอฟริกาเช่นกัน

 

22 กันยายน 2566, วันแรดโลก, วัน อนุรักษ์ แรด โลก, แรดขาว, แรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก, แรดดำ, แรดอินเดีย, แรดชวา, กระซู่, แรด 2 นอ, แรดสุมาตรา, แรดขน, แรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก, นอแรด

 

3. แรดอินเดีย (Rhinoceros unicornis)

  • พบในภูมิภาคเอเชียใต้ จัดเป็นแรดที่มีเพียงนอเดียว
  • ลักษณะเด่น : ผิวหนังหนาและมีรอยย่นเห็นได้ชัดเจน

4. แรดชวา (Rhinoceros sondaicus)

  • พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • มีลักษณะคล้ายคลึงกับแรดอินเดีย เป็นแรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก
  • และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดที่หายากที่สุดในโลกอีกด้วย

5. กระซู่ หรือแรด 2 นอ

  • หรือ แรดสุมาตรา, แรดขน (Dicerorhinus sumatrensis)
  • ลักษณะเด่นที่สุด : มี 2 นอ นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง
  • จัดเป็นสัตว์ตระกูลแรดที่มีขนาดเล็กที่สุด พบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน
  • ลักษณะเด่น : มีขนปกคลุมทั้งลำตัว เป็นแรดที่หายากมากอีกชนิดหนึ่ง

โดยกำหนดให้วันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันแรดโลก และเป็นอีกหนึ่งหนทางเพิ่มความตระหนักถึงการลดจำนวนลงของประชากรแรดทั่วโลก จนเกือบจะกลายมาเป็นสัตว์สูญพันธุ์ในปัจจุบัน ร่วมรณรงค์ต่อต้านการล่าเอานอแรด และตระหนักถึงความสำคัญของประชากรแรดที่กำลังลดจำนวนลงอย่างน่าเป็นห่วง

 

22 กันยายน 2566, วันแรดโลก, วัน อนุรักษ์ แรด โลก, แรดขาว, แรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก, แรดดำ, แรดอินเดีย, แรดชวา, กระซู่, แรด 2 นอ, แรดสุมาตรา, แรดขน, แรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก, นอแรด

 

วิกฤตการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของแรด

ปัจจุบัน แรดกลายเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์เข้าไปทุกขณะ โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้แรดใกล้สูญพันธุ์นั้นเกิดจากการ

  • ตัดไม้ทำลายป่าที่ทำลายที่อยู่อาศัยของแรด และการล่าของมนุษย์ ที่ต้องการนำนอแรดไปขายแปรรูปเป็นเครื่องประดับต่าง ๆ
  • รวมถึงการนำนอแรดไปปรุงเป็นยา ตามความเชื่อของชาวจีนว่า นอแรดสามารถรักษาโรคได้บางโรค
  • ซึ่งในความเป็นจริงแล้วส่วนประกอบทางเคมีของนอแรดไม่ต่างอะไรไปกับเส้นผมของคนเลย
  • ซึ่งการสำรวจการลับลอบฆ่าแรดในแอฟริกาใต้ พบว่า 7 ปีที่ผ่านมา มีการลักลอบฆ่าแรด เพื่อเอานอเพิ่มสูงขึ้นกว่า 9,300 ตัว จาก 13 ตัว ในปี 2550 เพิ่มขึ้นเป็น 1,215 ตัว ในปี 2557

 

จากวิกฤตการณ์ใกล้สูญพันธุ์ของแรด ส่งผลให้ก่อนหน้านี้มีข่าวการปกป้องสัตว์สายพันธุ์นี้อย่างจริงจัง  เช่น กรณีของซูดาน แรดขาวเหนือ (northern white rhino) เพศผู้วัย 42 ปี ที่คาดว่าน่าจะเป็นแรดขาวเหนือตัวผู้ตัวสุดท้ายของโลก ในวัยชรา ที่มีความหวังในการผสมพันธุ์กับตัวเมียริบหรี่ เพราะ อสุจิอ่อนแอ

แม้จะพยายามผสมพันธุ์กันมาหลายครั้งก็ประสบความล้มเหลว ส่งผลให้ทางศูนย์อนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าต้องออกมาตรการปกป้องคุ้มครองแบบถึงที่สุด โดยให้เจ้าหน้าที่ถือปืนคอยปกป้องดูแล 24 ชั่วโมง เพราะ เกรงว่าหากคลาดสายตา ซูดานอาจจะตกเป็นเหยื่อของนักล่าสัตว์ได้ ซึ่งหมายถึงการสูญสิ้นของสายพันธุ์แรดขาวเหนือ

 

22 กันยายน 2566, วันแรดโลก, วัน อนุรักษ์ แรด โลก, แรดขาว, แรดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก, แรดดำ, แรดอินเดีย, แรดชวา, กระซู่, แรด 2 นอ, แรดสุมาตรา, แรดขน, แรดชนิดที่หายากที่สุดในโลก, นอแรด

 

การหายไปของแรดในเอเชีย

การลักลอบฆ่าแรด เพื่อเอานอนั้น พบว่า ตลาดที่มีการค้าขายใหญ่ที่สุดในเอเชีย คือ ประเทศเวียดนาม รวมทั้งพบว่า แรดชวาตัวสุดท้ายของเวียดนามถูกพบเป็นซากเมื่อเดือนเมษายน 2553

ขณะที่ประเทศไทยในอดีตสามารถพบสัตว์ตระกูลแรดในประเทศไทยได้ 2 ชนิด คือ

  • แรดชวา
  • กระซู่
ซึ่งปัจจุบันแรดชวาและกระซู่มีสถานภาพสูญพันธุ์ไปจากเมืองไทยแล้ว แต่ยังคงอยู่ในบัญชีสัตว์ป่าสงวน และได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 เพราะ ต้องการคุ้มครองซาก หนัง นอ และผลิตภัณฑ์จากซากของสัตว์ทั้ง 2 ชนิด

ข้อมูล : สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร


Studio7 : Gentlewoman x Studio7

Gentlewoman x Studio7 Accessories for iPhone 15 Series เริ่มต้นเพียง 790.- : ช้อปที่นี่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ศิริโชค" อดีตสส.สงขลา โพสต์อัปเดต จับมือลอบเผารถยนต์ได้แล้ว เร่งขยายผลผู้จ้างวาน ไม่หวั่นอิทธิพลมืด
เหยื่อร้อง Top News ถูกตัวแทนนายหน้าประกัน โกงค่าสินไหมอุบัติเหตุกว่าแสน เชื่อทำเป็นขบวนการ
"จีน-เมียนมา-ไทย" เห็นพ้อง ร่วมมือยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ เมืองเมียวดี
“นันทิวัฒน์” ตอกย้ำเขมร ปราสาท “ตาเมือนธม” เป็นของไทยตั้งแต่อดีต ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตั้งแต่ยังไม่มีชื่อกัมพูชา
เจอแล้ว! “รั้วกั้น-หมุดหลักเขต” นับ 100 หมุด ชี้ชัด 3 ปราสาทอยู่ในแผ่นดินไทย
จีน-เมียนมา-ไทยยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์
“ภูมิธรรม” รักษาการนายกฯ ลงนามแบ่งงานรองนายกฯ-รมต.ประจะสำนักนายกฯ ตัวเองคุมกลาโหม-มหาดไทยม "พ่อมดดำ" ดูสำนักพุทธฯ-อสมท.
จนท.เร่งสอบขยายผล เก๋งต้องสงสัยคาร์บอมบ์ ถูกเผาทิ้งกลางดึกที่รือเสาะ นราธิวาส
เปิดข้อมูล "ฮุน เซน" สั่งแบนสินค้าไทย แต่ให้นายทุนนำเข้าจากชายแดนลาว ทำราคาพุ่ง ด้าน "คนเขมร" แห่ข้ามแดนช่องจอม ขอทำงานกลุ่มทุนจีน
ผุ้นำญี่ปุ่นลั่นไม่ยอมอ่อนข้อให้ทรัมป์ง่ายๆปมภาษี

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น