No data was found

หยุดกระแสลือ “รองโฆษกรัฐ” แจงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยังจ่ายเหมือนเดิม ยันอนาคตแค่ปรับหลักเกณฑ์ไม่ใช่ยกเลิก เป้าหมายดูแลกลุ่มยากจนให้ทั่วถึง

กดติดตาม TOP NEWS

หยุดกระแสลือ "รองโฆษกรัฐ" แจงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยังจ่ายเหมือนเดิม ยันอนาคตแค่ปรับหลักเกณฑ์ไม่ใช่ยกเลิก เป้าหมายดูแลกลุ่มยากจนให้ทั่วถึง

วันที่ 14 ส.ค. 66 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงมหาดไทยได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 ส.ค 2566 ซึ่งมีสาระหลักเพิ่มเติม คือ เป็นผู้ไม่มีรายได้หรือมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ตามกฏหมายว่าด้วยผู้สูงอายุ ดังนั้น จะต้องมีการออกระเบียบกำหนดรายละเอียดจากนี้อีกโดยคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ซึ่งผู้สูงอายุที่ได้รับเงินเบี้ยยังชีพอยู่ก่อนวันที่ระเบียบใช้บังคับ จะยังมีสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ส่วนที่มีการกล่าวว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าว เป็นเพราะรัฐบาลไม่มีความสามารถในการหาเงิน นางสาวรัชดา ชี้แจงว่า ที่ผ่านมา เศรษฐกิจดีขึ้น รัฐบาลจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น มีการจดทะเบียนการค้าบริษัทต่างชาติ การขอการสนับสนุนการลงทุนต่างชาติเพิ่มต่อเนื่อง มีตัวชี้วัดความสามารถจัดหารายได้ ดูจากตัวเลขการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร 7 เดือนของปีงบประมาณ 2566 (ต.ค.65-เม.ย.66) เก็บรายได้สูงกว่าปีก่อน 6.5% สูงกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 107,101 ล้านบาท หรือ 11.10% ขณะที่ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในช่วง 7 เดือนของปีงบประมาณ 2566 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.4% และสูงกว่าเป้าหมายตามเอกสารงบประมาณ 8.9% นี่คือความสามารถของรัฐบาลในการหารายได้

 

 

ส่วนประเด็นที่มีการดราม่าว่า เป็นการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของพลเมืองไทยหรือไม่นั้น นางสาวรัชดา กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับประชาชนทุกกลุ่ม มุ่งแก้ปัญหาประชาชนอย่างมุ่งเป้า ใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้ข้อจำกัดของงบประมาณ วันนี้เราเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และจะเพิ่มต่อเนื่อง งบประมาณจากเคยตั้งไว้ ห้าหมื่นล้านต่อปี เพิ่มเป็นแปดหมื่นล้าน และแตะเก้าหมื่นล้านแล้ว ในปีงบประมาณ 2567 ดังนั้น หากลดการจ่ายเบี้ยฯแก่ผู้สูงอายุเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้สูงหรือผู้สูงอายุที่ร่ำรวย เพราะงบประมาณที่จ่ายให้ไปอาจจะไม่มีความจำเป็น ถือเป็นการใช้นโยบายการคลังที่พุ่งเป้าเพื่อช่วยเหลือไปยังกลุ่มคนที่มีความจำเป็นและเดือดร้อนกว่า อีกทั้ง คือการสร้างความยั่งยืนทางการคลังระยะยาว ขอฝ่ายการเมืองอย่ามองเป็นการลักไก่ เพราะไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะทำเช่นนั้น

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สาวโปรตุเกส บันทึกคลิปเศษดาวหางได้แบบคูลสุดๆ (คลิป)
สพฐ. เลื่อนเข้าตรวจสอบ "ถังแก๊สโซลีน" ถูกไฟไหม้มาบตาพุด หลังพบสภาพเสียหายหนัก
ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์ได้สิทธิ์อุทธรณ์ ยับยั้งถูกส่งตัวไปสหรัฐ
"ผู้ปกครอง" ขานรับนโยบาย “ยกเว้น-ผ่อนผัน” ใส่เครื่องแบบชุดนร. ขอบคุณศธ.ช่วยแบ่งเบาภาระ
"ธันวา" สวนหน้าหงาย "ธนาธร" หลัง "สกุลธร" น้องชาย ถูกพิพากษาจำคุก คดีติดสินบนเช่าที่ดินสนง.ทรัพย์สินฯ
"กระทรวงดีอี" เร่งระงับเว็บไซต์ "ลอตเตอรี่ พลัส" ล่าสุดผู้ให้บริการโทรมือถือ-อินเตอร์เน็ต เริ่มทยอยปิดกั้นแล้ว
อิหร่านไว้ทุกข์ 5 วัน ประธานาธิบดีถึงแก่อสัญกรรม ปูติน-สีจิ้นผิง อาลัย เสียเพื่อนที่ดี
ชาวเลยแห่ขอเอกสารใบสมัคร สว.นับพันคน แต่มาสมัครวันแรกยังบางตา
คนไทยไม่ทิ้งกัน คุณตาวัย 67 ปี ไม่มีเงินสักบาท ปั่น จยย. จากอุตรดิตถ์ กลับชัยภูมิ พบผู้ใจบุญช่วย
"โฆษกรัฐบาล" แจ้งไทม์ไลน์ขายข้าว 10 ปี หลังผลตรวจของ "กรมวิทย์ฯ" พิสูจน์ตามมาตรฐานครบถ้วน

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น