logo

แยกให้ออก เตือนภัย “แบงก์พันปลอมระบาด” แนะวิธีสังเกต “ของจริง-ของปลอม”

โฆษก ตร. เตือนภัยระวังแบงก์พันปลอมระบาด แนะวิธีสังเกตเบื้องต้นให้ดูแถบสีทองในเนื้อกระดาษ ฝากถึงกลุ่มพ่อค้าแม่ค้า ตรวจสอบธนบัตรมูลค่าสูง กันตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

พล.ต.ต.อาชยน ไกรทอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (โฆษก ตร.) เปิดเผยกรณีบนโลกโซเชียลฯ ได้มีการโพสต์ภาพและข้อความ ระบุให้ระวังแบงก์พันปลอมระบาด จาก 2 พื้นที่ ซอยกำนัน อ.เมืองอุดรธานี ลูกค้าเอาเงินปลอมมาซื้อหมูกระทะที่ร้าน และร้านขายของชำที่ ต.เชียงหวาง อ.เพ็ญ มีลูกค้านำแบงก์พันบาทมาซื้อของภายในร้าน ในกรณีดังกล่าว สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฝากเตือนประชาชนให้ระมัดระวัง โดยเฉพาะกลุ่มพ่อค้า แม่ค้า ขอให้ตรวจสอบธนบัตรที่ได้รับ โดยเฉพาะธนบัตรที่มีมูลค่าสูง จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพแก๊งปลอมธนบัตร

สำหรับวิธีสังเกตในเบื้องต้นว่าธนบัตรใบละ 1000 บาท ปลอมหรือไม่ ให้ดูที่ “แถบสีในเนื้อกระดาษ” ดังนี้ เป็นพลาสติกสีทองที่ฝังไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง ของธนบัตร จึงเรียกว่า “แถบสีทอง”, ในมุมปกติจะมองเห็นเป็นเส้นประแต่เมื่อส่องกับแสงจะเห็นเป็นเส้นตรงและมีข้อความ “1000 บาท 1000 BAHT” เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว และลวดลายในแถบจะกลิ้งเคลื่อนไหวไปมาได้แถบสีอาจมีรอยขูดขีด หลุดลอกชำรุดจากการใช้งานได้ แถบสีที่อยู่ในเนื้อกระดาษธนบัตรแต่ละฉบับสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันได้ โดยอาจเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา ตามระยะที่มาตรฐานกำหนดไว้

ข่าวที่น่าสนใจ

สำหรับโทษฐานปลอมหรือแปลงธนบัตร ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240 ระบุไว้ว่า ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกษาปณ์ ธนบัตรหรือสิ่งอื่นใด ซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้ หรือทำปลอมขึ้นซึ่งพันธบัตรรัฐบาลหรือใบสำคัญสำหรับรับดอกเบี้ยพันธบัตรนั้นๆ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 10 ปี ถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 ถึง 40,000 บาท

สำหรับการใช้เงินปลอมซื้อของโทษสูงสุดติดคุก 15 ปี การใช้ธนบัตรปลอมในการซื้อสินค้าและบริการเป็นการกระทำที่มีความผิดตามกฎหมายอาญาโดยแบ่งความผิดตามเจตนาของผู้ใช้ธนบัตรปลอมออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ 1. ได้ธนบัตรปลอมมาโดยไม่รู้ว่าเป็นของปลอม แต่ต่อมาเมื่อรู้ว่าเป็นของปลอมแล้วยังขืนนำออกไปซื้อสินค้าและบริการต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกิน 10 ปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 245 2. การมีธนบัตรปลอมไว้เพื่อใช้โดยที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นของปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี ถึง 15 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 30,000 บาท ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 244

พล.ต.ต.อาชยน กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีมีความห่วงใยประชาชน เน้นย้ำให้บังคับใช้กฎหมายจัดการกลุ่มมิจฉาชีพปลอมธนบัตรอย่างเคร่งครัด สั่งการให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเร่งปราบปรามและหาทางป้องกันอย่างจริงจัง เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนต่อพี่น้องประชาชน ที่เป็นสุจริตชน และเป็นอันตรายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ หากพี่น้องประชาชนพบการกระทำความผิดสามารถแจ้งเบาะแสและสอบถามข้อมูลได้ที่ สายด่วน 191 หรือสายด่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1599 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

จีน ผู้ประกอบการมุกเจ้อเจียง ใช้การไลฟ์สดดึงดูดลูกค้าใหม่
สอบสวนกลาง ผนึกกำลัง "The United States Secret Service" เสริมความแกร่งชุดสืบสวนในการตรวจพิสูจน์ดอลลาร์ปลอม
"นายกฯ" นำถกครม.เศรษฐกิจนัดแรก ผู้ว่าธปท.ร่วม "พิชัย" แจงภาพรวมศก.ต่ำกว่าคาด เร่งแก้แหล่งทุนช่วย SME เพิ่มงบฯสร้างมาตรการเสริมรายได้ปชช.
รวบหนุ่มอังกฤษ หมัดพิฆาตต่อย หนุ่มรัสเซีย ทีเดียวดับ อ้างแค้นคนตายขอมีเซ็กส์กับลูกสาว
รฟฟท. เฉลิมฉลองการให้บริการก้าวสู่ปีที่ 14 จับมือ ทิพยประกันภัย มอบสิทธิประโยชน์สุดพิเศษให้แก่ผู้โดยสาร
กาซา อิสราเอลถล่มเต๊นท์ผู้ลี้ภัยที่ราฟาห์ดับหลายสิบคน
ไต้หวัน สส.อาวุโสสหรัฐเยือนไทเปย้ำช่วยต้านจีน
เกาหลีใต้-จีน-ญี่ปุ่นลั่นยกระดับสัมพันธ์ไตรภาคี
2 สาว อบต. ขับกระบะฝ่าไม้กั้นทางรถไฟถูกม้าเหล็กขยี้รถพลิกคว่ำหลายตลบล้อชี้ฟ้า เจ็บทั้ง 2 ราย ชาวบ้านเผยเห็นฝ่าไม้กั้นข้ามทางรถไฟขณะที่รถไฟกำลังมา
รัก 6 ปีไม่ได้ช่วยอะไร หนุ่มสุดช้ำ ถูกแฟนสาวขโมยทองกว่า 57 บาท เล่าทั้งน้ำตาเมื่อรู้ว่าคนรักเป็นคนทำ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น