No data was found

กรมอุตุฯ เตือนพายุโซนร้อน “โนรู” กระทบภาคอีสาน 27-29 ก.ย. มีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

กดติดตาม TOP NEWS

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศ ฉบับที่ 1 เตือน พายุโซนร้อน “โนรู” โดยจะกระทบภาคอีสาน ระหว่างวันที่ 27-29 ก.ย. 2565 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรง

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง “พายุ“โนรู”” ฉบับที่ 1 ลงวันที่ 23 กันยายน 2565

โดยเมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 23 กันยายน 2565 พายุดีเปรสชันบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกหรือด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ได้ทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน“โนรู (NORU)”แล้ว และจะเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงทะเลจีนใต้ตอนกลางในช่วงวันที่ 25 – 26 กันยายน 2565 คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 27-28 กันยายน 2565 ส่งผลทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกหนักถึงหนักมากกับมีลมแรงในช่วงวันที่ 27-29 กันยายน 2565 ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย

ประกาศ ณ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น.

 

และสำหรับพยากรณ์สภาพอากาศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ตั้งแต่  เวลา 12:00 น.วันนี้ (24 ก.ย. 2565)  ถึงเวลา 12:00 น.วันพรุ่งนี้ (25 ก.ย.2565)  มีดังนี้

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดหนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-32 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จะมีเมฆมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-32 องศาเซลเซียสลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณจังหวัดมุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-31 องศาเซลเซียส ลมแปรปรวน ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

 

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา เมื่อเวลา 10.00 น. ร่องมรสุมกำลังแรงพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จะมีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่าน และพื้นที่ลุ่ม ระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากรวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกัน และระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย.

อนึ่ง พายุโซนร้อนกำลังแรง “โนรู(NORU)” บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนกลางในวันที่ 25-26 กันยายน และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลาง ในช่วงวันที่ 27-28 กันยายนนี้.

 

ขอบคุณข้อมูล / กรมอุตุนิยมวิทยา

ศูนย์ข่าวภาคอีสาน สำนักข่าว TOP NEWS

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"สุชาติ" เปิดบ้านชื่นมื่น ชาวชลบุรีแห่ยินดี รับตำแหน่งรมช.พาณิชย์ ลั่นมุ่งมั่นทำงานเพื่อประชาชน สถาบันหลักชาติ
รอง ผอ.ศรชล.จว.สป. เป็นประธานจัดกิจกรรม "วันอาภากร"
ยายวัย 82 โชคดีหวิดดับ หลังมายืนรดน้ำต้นไม้
ผู้กำกับพัทยาจัดพิธีบวงสรวง เสด็จเตี่ย เนื่องในวันอาภากร
สพป.ขอนแก่น สั่งเด้ง "ผอ." ซื้อบริการเด็ก 12 ปี ตั้งคกก.สอบ เข้าข่ายผิดวินิยร้ายแรง
"โฆษกศธ." ย้ำนโยบายลดภาระเปิดเทอม ผ่อนผัน ยกเว้นแต่งชุดนร.ไม่ใช่ยกเลิก
"ทนายด่าง" เตรียมนำทีมครอบครัว ทวงถามรพ.ราชทัณฑ์ ขอเอกสารก่อน "บุ้ง" เสียชีวิต 5 วัน ยังคาใจใส่ท่อผิดจุด
เตรียมพิธีรับมอบ "Golden Boy–สตรีพนมมือ" หวนคืนแผ่นดินไทย 21 พ.ค.นี้
"นักโบราณคดี" ยืนยัน "โกลเด้นบอย" ถูกค้นพบที่ จ.บุรีรัมย์ ถือเป็นหลักฐานใหม่ พลิกหน้าประวัติศาสตร์
คลิปนี้ชัดมาก “แม่น้องไนซ์” พูดเต็มปากเต็มคำ เชื่อมจิตมีในพระไตรปิฎก โซเชียลจับตาส่อผิด พ.ร.บ.คอมพ์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น