ครม ไฟเขียวงบกลาง 440 ล้าน ให้ ก.กลาโหม แก้การแพร่ระบาดของโควิด

คณะรัฐมนตรีอนุมัติ งบกลาง 440 ล้าน สั่งกระทรวงกลาโหมใช้จ่ายแก้ปัญหาแพร่ระบาดโควิด ระยะ 7 สำหรับสถานที่กักกันโรคของรัฐทั้ง รร.เอกชน-สถานที่ราชการ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) วงเงิน 440.97 ล้านบาท ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สป.กห.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระยะที่ 7 (1 มี.ค. 2564 – 31 พ.ค. 2564) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ในส่วนของสถานที่เอกชน ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ

 

ขณะเดียวกัน กระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกันจัดสถานที่ พื้นที่สำหรับสังเกตอาการเพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งที่ผ่านมา ตั้งแต่วันที่ 7 มี.ค. 2563 – 28 ก.พ. 2564) กลาโหมได้ใช้สถานที่ราชการ จำนวน 2 แห่ง และโรงแรมเอกชน จำนวน 25 แห่ง รองรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการกักกันตัวในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จำนวน 113,168 คน

 

ปัจจุบันกระทรวงกลาโหมยังคงดำเนินการจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 1 มี.ค. – 30 เม.ย. 2564 มีผู้เข้าพักในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ จำนวน 15,903 คน และในวันที่ 1 – 31 พ.ค. 2564  สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมได้แจ้งประมาณการจำนวนคนไทยในต่างประเทศที่มีความประสงค์เดินทางกลับประเทศไทยทางอากาศ จำนวน 10,000 คน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยได้จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ในวันที่ 1 มี.ค. – 31 พ.ค. 2564 จำนวน 25,903 คน วงเงิน 528.53 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้พิจารณาค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้วเห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามที่ขอตกลงกับกรมบัญชีกลาง

 

อย่างไรก็ตาม สำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้ กระทรวงกลาโหมใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาฯ วงเงิน 440.97 ล้านบาท (ลดลงจากที่ประมาณการไว้ 87.56 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระยะที่ 7 แบ่งเป็นค่าตอบแทนบุคลากร วงเงิน 17.49 ล้านบาท ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของเจ้าหน้าที่ วงเงิน 46.23 ล้านบาท ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของผู้ถูกกักกันโรค  วงเงิน 371.18 ล้านบาท ค่าวัสดุการแพทย์ วงเงิน 0.33 ล้านบาท ค่าจ้างเหมา วงเงิน 3.91 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายยานพาหนะในภารกิจโควิด 19 วงเงิน 1.83 ล้านบาท รวม440.97 ล้านบาท.

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนเปลี่ยนสนามบินร้างเป็นสนามบินโดรนในเหอเฝย
สภา กทม. มีมติเลือก “เนติภูมิ รุ่งรุจิราลัย” ส.ก.เขตบึงกุ่ม เป็น รองประธานสภา กทม.คนที่ 1 เจ้าตัวขอบคุณเพื่อนสมาชิกที่ไว้วางใจ
วธ.ชื่นชม “เยาวชนคนดี” 6 นักเรียนฮีโร่ ช่วยหลวงตานั่งวีลแชร์ตกน้ำ เตรียมมอบเกียรติเชิดชู 6 เยาวชนคนดีต้นแบบสังคม-สะท้อนจิตสำนึกดีงามเยาวชนไทย
"สุดาวรรณ" อำลาตำแหน่ง รมว.วัฒนธรรม ก่อนรับตำแหน่ง รมว.อว. ด้าน ปลัดวธ. นำ ขรก. ขอบคุณนำทัพขับเคลื่อน Soft Power - เศรษฐกิจวัฒนธรรมเป็นรูปธรรม
"หมอพรทิพย์" จี้แทงใจดำ การเมืองไทยยึดผลประโยชน์ เหตุไร้ผู้นำที่ดีบริหารปท. สวนปาก #ingshin จะตำหนิใคร มองตัวเองก่อน
"วัดดังเพชรบูรณ์" จ้างแบคโฮรื้อ "โรงเจ" ผู้ปฏิบัติธรรมเข้าขวาง เศษกระเบื้องหล่นใส่บาดเจ็บ ปมพิพาทยึดครองพื้นที่วัดนาน 10 ปี
"นกเพนกวิน 3 ตัว" มอบทุนการศึกษาผ่าน "มูลนิธิยังมีเรา-ท็อปนิวส์"
"กองทัพภาคที่ 2" แจงปมคลิปทหารเขมรโวยทหารไทย เป็นคลิปเก่า เหตุเรื่องเวลาเปิด-ปิด "ปราสาทตาเมือนธม" แต่ละฝ่ายไม่ตรงกัน
ต่างชาติจับตาไทยจะมีรัฐประหารอีกครั้งหรือไม่
"กรมวังผู้ใหญ่" ตรวจเยี่ยมโครงการกำลังใจ ณ เรือนจำจังหวัดนครศรีธรรมราช มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังทั้งด้านสุขภาพและอาชีพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น