อลังการ พิธีซ้อมงานวิถีถิ่น-วิถีไทย ฉลองยูเนสโกขึ้นทะเบียน “โนรา”เป็นมรดกภูมิปัญญา

สุดยิ่งใหญ่อลังการ งานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ที่จังหวัดพัทลุง ฉลองยูเนสโกขึ้นทะเบียน “โนรา”เป็นมรดกภูมิปัญญา

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เดินทางพร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่จากกระทรวงวัฒนธรรม ลงพื้นที่ติดตามการซักซ้อมงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” ที่จังหวัดพัทลุง

โดยนางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เปิดเผยว่ากระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยนโยบายของนายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม มุ่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG และผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทย

เช่น งานฝีมือและหัตถกรรม ศิลปะการแสดง อาหารไทย การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมวัฒนธรรมที่มีศักยภาพ รวมถึงวธ.มีนโยบายสืบสาน รักษาและต่อยอดงานศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

 

ข่าวที่น่าสนใจ

จึงมุ่งส่งเสริมและเปิดพื้นที่ให้ศิลปินศิลปินพื้นบ้านได้มีโอกาสถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมการแสดงและมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่นไปสู่เยาวชนและประชาชน

ดังนั้น วธ.ร่วมมือกับจังหวัด หน่วยงานรัฐ เอกชน เครือข่ายทางวัฒนธรรมจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ “วิถีถิ่น วิถีไทย” 4 ภูมิภาค ได้แก่

ภาคใต้จัดเดือนกุมภาพันธ์นี้ ภาคกลางและภาคตะวันออกจัดเดือนเมษายนนี้ที่ จ.ตราด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเดือนพฤษภาคมนี้ที่จ.กาฬสินธุ์ และภาคเหนือจัดเดือนกรกฎาคมนี้ที่ จ. พิษณุโลก

ซึ่งเป็นการนำทุนทางวัฒนธรรมมาสร้างงานสร้างรายได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและฟื้นฟูการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดของทุกภาค เนื่องจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

ทั้งนี้ ปลัด วธ. กล่าวอีกว่างานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติฯ ภาคใต้จัดขึ้นเป็นพื้นที่แรก ภายใต้ชื่องาน“เสน่ห์เมืองหนังโนรา รังสรรค์ศิลป์ถิ่นใต้” วันที่ 10-13 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ตลาดน้ำทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสที่องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศขึ้นทะเบียน “โนรา” ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ซึ่งผูกพันกับชีวิตและเป็นที่นิยมของคนไทยในภาคใต้

เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ โดยกิจกรรมส่วนหนึ่งจัดพิธีไหว้ครูโนราและการรำโนราฉลอง เนื่องในการจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติฯภาคใต้ จัดขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ ณ วัดท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ทั้งนี้ พิธีไหว้ครูโนราและการรำโนราฉลอง มีครูโนราและนายพรานโนราจากจังหวัดต่างๆในภาคใต้ประกอบพิธีไหว้ครูและพิธีรำถวายครู ได้แก่

รำ 12 คำพรัด เป็นการร่ายรำประกอบการขับบทที่โนราแต่ละคนได้รับการถ่ายทอดมาจากครูอาจารย์แต่ละสายตระกูล อาทิ คำพรัดสรรเสริญครู คำพรัดฝนตกข้างเหนือ คำพรัดไชชาย เป็นต้น

รำ 12 เพลง เป็นการรำประกอบท่วงทำนองดนตรีเพื่ออวดความงดงาม ความมีสมาธิ ความขลังที่เป็นความสัมพันธ์ของการใช้มือ เท้า ใบหน้า ลำตัวในกระบวนการรำต่างๆ

เช่น รำเพลงสอดสร้อย รำเพลงเคล้ามือ รำเพลงครู เป็นต้น และรำจับบท 12 เป็นการแสดงโดยนำเรื่องราวจากนิทานหรือวรรณคดีไทยต่างๆ 12 เรื่องตามที่บูรพาจารย์ของโนราได้กำหนด

และแต่งเป็นบทกลอนของแต่ละเรื่องไว้เพียงสั้นๆเพื่อใช้แสดงมีการเรียงร้อยสัมผัสกันตลอดทั้ง 12 เรื่อง อาทิ พระสุธน-มโนราห์ พระรถเมรี พระลักษณวงศ์ เป็นต้น

รวมทั้งมีการรำโนราฉลองโดยเยาวชนและบุคคลทั่วไปจังหวัดพัทลุง ทั้งนี้ การจัดงานปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิดของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

ฉะเชิงเทรา ประชาชนแห่ส่องเลขประทัดพิธีรับส่งพระราหู
ชาวบ้านสุดทน ประกาศขายบ้าน พร้อมกัน 30 หลัง ซื้อไม่ถึงปี พบปัญหาเพียบ
"ดีเอสไอ" ส่งข้อมูลวิเคราะห์ ปมฮั้วสว.67 ให้ “กกต.” พิจารณากฎหมายเลือกตั้ง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) นักเรียนจีน 100 คน 'แกว่งเชือกยักษ์'ให้เพื่อนโดด
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “Adora Flora City” เรือสำราญจีนผ่านทดสอบการลอยน้ำ
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) จีนพัฒนาบ้านคอนเทนเนอร์สำหรับทีมสำรวจขั้วโลก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) หมู่ดอก 'พิลาปขาว' ในเสฉวน เบ่งบานราวนกสยายปีก
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน)เทคโนโลยีอัจฉริยะเสริมการเรียนรู้ 'โรงเรียน' ในฝูเจี้ยน
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) โรงพยาบาลจีนใช้ 'AI' บอกทาง-แนะนำผู้ใช้บริการ
มาเลเซียเตรียมเปิดเส้นทางขนส่งสินค้าเชื่อมกรุงเทพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น