งดหรือไม่งด เลื่อนหรือไม่เลื่อนสอบเข้าม.1 และ ม. 4 แต่นักเรียนหายไปแล้ว

สถานการณ์แพร่ระบาดไวรัสโควิด-19  ในหลายพื้นที่ยังไม่น่าไว้วางใจ  ล่าสุดเมื่อวันที่  21 พ.ค. 64  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยผลตรวจเชื้อโควิด-19 ในแคมป์คนงานก่อสร้าง และบริเวณใกล้เคียง จำนวน 80 ตัวอย่าง พบว่าเป็นสายพันธุ์อินเดีย จำนวน 36 ราย  สายพันธุ์ที่ทำให้การติดเชื้อรวดเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น 

แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยืนยันเอาอยู่ โดยสถานพยาบาลได้ดูแลกลุ่มผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดีย เป็นอย่างดีแล้ว  แต่กับข่าวการพบเชื้อสายพันธุ์อินเดียก็ยิ่งสร้างความหวาดวิตกมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบรรดา ”นักเรียนและผู้ปกครอง”

เพราะไม่เพียงกระทรวงศึกษาธิการ ออกประกาศ เลื่อนการเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2564 จากเดิมวันที่  17  พ.ค. พอเจอการระบาดของโควิดระลอกสาม ทำให้ต้องเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 1 มิ.ย. แต่ล่าสุดเจอโรคเลื่อนออกไปอีกเป็นวันที่ 14 มิ.ย. ซึ่งจะเป็นการเลื่อนครั้งสุดท้ายหรือไม่ต้องมีการประเมินสถานการณ์เป์นระยะๆ

ทว่าสถานการณ์ที่กำลังสร้างความกังวลใจให้ผู้ปกครองและนักเรียนภายในระยะเวลาอันใกล้นี้ นั่นคือ กำหนดการสอบเข้าเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ มัธยมศึกษาปีที่ 4  (ภาคปกติ )  

นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีกำหนดสอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในวันเสาร์ที่  22  พ.ค. 64  ขณะที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สอบเข้าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในวันอาทิตย์ที่  23  พ.ค. 64  เป็นการประกาศสอบพร้อมกันทั่วประเทศ  มีนักเรียนมากกว่าพันคน ต่างเดินทางสู่สนามสอบหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบรรดาสถานศึกษาที่อยู่เขตพื้นที่สีแดงเข้ม   “กทม. นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ”

 

โควิด-19 ได้สร้างแรงกระเพื่อมกระบวนการสอบเข้าครั้งนี้ อย่างเห็นได้ชัด พบว่า สถานศึกษาหลายแห่ง ตัดสินออกประกาศการรับนักเรียนใหม่  บางโรงเรียนออกประกาศยกเลิกการสอบเข้า   บางโรงเรียนเลื่อนการสอบ

ขณะที่บางโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีการแข่งขันสูงคงเดินหน้า กำหนดสอบเข้าในวันที่ 22-23 พ.ค. เช่นเดิม  พร้อมกับออกมาตรการคุมเข้ม ในเรื่องของการคัดกรองนักเรียน และการจัดห้องสอบให้ปลอดจากเชื้อโรค   มีการกำหนดเวลาการสอบ  ลดจำนวนข้อสอบ เพื่อให้การสอบเสร็จสิ้นภายในครึ่งวัน เป็นต้น

 

แน่นอนการปรับเปลี่ยนกระบวนการสอบ กระทบไปถึงนักเรียนโดยตรง  ทั้งการเตรียมความพร้อมในการสอบ  เกิดความกังวลใจ กระทบมาถึงบรรดาผู้ปกครองห่วงบุตรหลานในการเข้าสอบจะได้รับความปลอดภัยในสุขภาพพลานามัยหรือไม่  ที่สำคัญกว่านั้น  บุตรหลานจะมีสถานศึกษาเรียนต่อหรือไม่

 

 

อีกปรากฎการณ์หนึ่ง เมื่อสถานศึกษาบางแห่งต้องออกประกาศรับสมัครนักเรียนเพิ่มเติม  เช่น โรงเรียนบางแห่งที่เคยมีการสอบแข่งขันเข้าห้องเรียนGIFTED  หรือ ห้องเรียนที่จัดหลักสูตรให้เหมาะสมเพื่อส่งเสริมศักยภาพของเด็กที่ฉายแววอัจฉริยะ  ไม่ได้นักเรียนตามโคว้ต้าที่กำหนด  ส่งผลให้โรงเรียนต้องประกาศรับสมัครจากนักเรียนสอบติดลำดับสำรอง แต่ทว่า ก็ยังไม่มีนักเรียนแสดงสิทธิ์เข้าเรียน ทำให้โรงเรียนต้องออกประกาศซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ยังไม่นับรวม โรงเรียนที่ไม่มีการแข่งขันสูง ยืดเวลารับสมัครนักเรียนเข้าศึกษาต่อ

เกิดคำถามตามมาว่า กำลังเกิดอะไรขึ้น นักเรียนหายไปไหน !!!!

 

มิพักกล่าวถึง สถานการณ์โควิด-19  ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ปกครองต้องขาดรายได้  ไม่มีเงินส่งเสียบุตรหลานศึกษาต่อ ทำให้นักเรียนหลุดออกจากระบบการศึกษาไปเลย

ทั้งนี้  มีข้อมูลจากองค์การยูนิเซฟ   เมื่อช่วงต้นปี 64   นางเฮนเรียตตา โฟร์ ผอ.บริหารองค์การยูนิเซฟ ออกแถลงการณ์ระบุว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 รอบสอง มีมาตรการปิดโรงเรียน ส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลก โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้ ประมาณการว่าเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง 24  ล้านคน เป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณกำลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ก็กำลังถดถอย

กลับมาที่ประเทศไทย การแพร่ระบาดโควิดระลอกสาม มีการประเมินว่า ยิ่งการปิดเทอมยาวนาน ส่งผลให้ความรู้นักเรียนถดถอย สำคัญกว่านั้นส่งผลให้เด็กอาจหลุดจากระบบการศึกษา

“จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลให้เด็กต้องหยุดเรียน โดยปี 2563 เด็กไทยหยุดเรียนไปนานกว่า 90 วัน ส่วนปี 2564 เลื่อนเปิดภาคเรียนไม่น้อยกว่า 10 วันและอาจมีเหตุการณ์ปิดเรียนอีก หากเรายังควบคุมการระบาดไม่ได้ ที่ผ่านมาจากการติดตามภาวะวิกฤติของนักเรียนยากจนและยากจนพิเศษของ กสศ. พบภาวะวิกฤติที่เป็นปัญหา 4 เรื่องใหญ่ คือ เรื่องแรกภาวะเครียดเงียบ เนื่องจากเด็กเป็นห่วงโซ่สุดท้ายในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ซึมซับปัญหาของครอบครัวที่พ่อแม่ตกงาน ไม่มีเงิน ทะเลาะกัน ใช้ชีวิตยากลำบาก แต่เด็กไม่สามารถระบายออกมาได้ ส่งผลให้เด็กเก็บตัว ไม่ร่าเริง สายตาเศร้าสร้อย สะสมความเครียดในตัวเอง ระยะยาวจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิต และวุฒิภาวะทางอารมณ์ เรื่องที่สอง ภาวะการเรียนรู้ถดถอย”

“พบว่า ยิ่งหยุดเรียนยาวนาน เด็กจะเกิดภาวะถดถอยการเรียนรู้ทุกวิชา เรื่องที่สาม ภาวะทุพโภชนาการพบว่าเด็กยากจนพิเศษ ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า ก่อนเกิดโรคระบาดมากถึงร้อยละ 40-45 จึงตั้งความหวังอาหารกลางวันที่โรงเรียน เมื่อโรงเรียนปิดยาว เด็กจะยิ่งขาดสารอาหารมากขึ้น เรื่องที่สี่ ภาวะหลุดจากระบบการศึกษา โดยเฉพาะช่วงรอยต่อระหว่างช่วงชั้น เช่น ปฐมวัยต่อ ป.1, ป.6 ต่อ ม.1 และ ม.3 ต่อ ม.4 เพราะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเด็กยากจนพิเศษที่ครอบครัวตกงาน ทำให้เด็กกลุ่มนี้ไม่ได้เรียนต่อและต้องทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว “  ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ภาคประชาสังคม กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)  กล่าวไว้เมื่อวันที่ 17  พ.ค. 64

นับเป็นสัญญาณร้ายในระบบการศึกษา ที่ทุกฝ่ายต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เครือข่ายกัญชา" บุก สธ.วันนี้ เตรียมปักหลักค้าง เปิดเวทีอภิปราย "สมศักดิ์" ปมสมุนไพรควบคุม
ประชุมนัดแรกวันนี้ "บช.ก." เดินหน้าสอบคำร้อง "สมชาย" พร้อมคณะ เอาผิด "นายกฯอิ๊งค์" ปมคลิปเจรจา "ฮุน เซน"กระทบความมั่นคงรัฐ
"กรมอุตุฯ" เตือน ฝนตกหนัก เช็ก 39 จว.อ่วม เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก กทม.ก็โดนด้วย
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) “นาจา 2” สร้างสถิติหนังจีนทำรายได้ในต่างประเทศสูงสุดรอบ 20 ปี
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) ชมปรากฏการณ์ 'แม่น้ำสองสี' หลังฝนตกหนักในฉงชิ่ง
(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เจ้อเจียงเปิดตัว 'แพลตฟอร์มท่องเที่ยว' พลัง AI
กกล.บูรพา รวบ 2 สาวไทย อ้างถูกหลอกทำงานปอยเปต เบื้องหลังรับจ้างข้ามแดนเปิด "บัญชีม้า-สแกนหน้า" ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
“50 ปีไม่มีแก่” คำนี้ไม่มีอยู่จริงสำหรับคุณอาร์ต วศิน วรรณพฤกษ์ ผู้บริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ศน. ต่อยอดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร” ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนเข้าวัด น้อมนำหลักธรรมดำเนินชีวิต
รมว.คลัง โต้ลือ "สหรัฐ" ตัดสินใจเก็บภาษีไทย 36% แจงเร่งยื่นข้อเสนอใหม่ก่อน 9 ก.ค. นี้

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น