“ดร.สามารถ” ทวงแรง “โครงการแลนด์บริดจ์” คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ โพสต์ทวงแรง "โครงการแลนด์บริดจ์" คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68

“ดร.สามารถ” ทวงแรง “โครงการแลนด์บริดจ์” คืบหน้าถึงไหนแล้ว รัฐบาลประกาศจะเปิดประมูลปลายปี 68 – Top News รายงาน

 

ดร.สามารถ

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte โดยระบุว่า.. แลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร หรือเรากำลังรอ “ฝันที่ไม่มีวันเป็นจริง”?

“แลนด์บริดจ์” คำสั้นๆ ที่ฟังดูยิ่งใหญ่ ราวกับจะเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ของการขนส่งโลก พลิกแผ่นดินภาคใต้ให้กลายเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระดับสากล ขนส่งสินค้าจากมหาสมุทรอินเดียไปสู่แปซิฟิกโดยไม่ต้องอ้อมช่องแคบมะละกา และดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศสู่ภาคใต้ของไทย
นับตั้งแต่การเปิดตัวโครงการอย่างเป็นทางการเมื่อหลายปีก่อน “แลนด์บริดจ์ระนอง–ชุมพร” เป็นหนึ่งใน “เมกะโปรเจกต์” ที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด เราได้รับฟังคำอธิบายถึงศักยภาพมหาศาลของแลนด์บริดจ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งในแง่การจ้างงาน การสร้างมูลค่าเพิ่ม และการยกระดับประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาค

ข่าวที่น่าสนใจ

รัฐบาลคุยว่ามี “นักลงทุนต่างชาติหลายราย” แสดงความสนใจเข้าร่วมพัฒนาโครงการในรูปแบบ PPP (Public-Private Partnership) ว่าแต่…ใครคือ “นักลงทุนต่างชาติหลายราย” ที่ว่า? หรือว่าคำว่า “สนใจ” ที่รัฐบาลใช้ หมายถึงเพียงแค่มีต่างชาติเข้ามาดูพาวเวอร์พอยต์ แล้วบอกว่า “อืม ก็น่าสนใจดี?”
ถึงวันนี้ คำถามที่สังคมต้องการคำตอบอย่างจริงจังคือ “โครงการคืบหน้าไปถึงไหน?” จะเป็นไปตามไทม์ไลน์ที่กำหนดไว้หรือไม่? กล่าวคือรัฐบาลประกาศอย่างชัดเจนว่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงปลายปี 2568 และมีกำหนดเริ่มก่อสร้างเฟสแรกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2569 โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการเฟสแรกได้ในปลายปี 2573
แผนดูทะเยอทะยาน และเต็มไปด้วยคำสัญญา แต่คำถามสำคัญคือ เราจะเดินไปถึงตรงนั้นได้จริงหรือไม่?
แลนด์บริดจ์ไม่ควรเป็นเพียงวาทกรรม เพราะสิ่งที่อยู่เบื้องหลังคือความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และภูมิรัฐศาสตร์ระดับภูมิภาค หากทำได้ มันคือหมุดหมายใหม่ของความเจริญ แต่หากทำไม่ได้ มันอาจเป็นบทพิสูจน์อีกครั้งว่า ประเทศไทยยังไม่หลุดพ้นจากกับดักแห่งวาทกรรม
ในบริบทของเศรษฐกิจโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เช่นนี้ต้องการทั้ง “วิสัยทัศน์ที่ยั่งยืน” และ “การดำเนินงานที่มีความต่อเนื่อง” มิฉะนั้น จะส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งของประชาชน และนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ
ถึงเวลาแล้วหรือยังที่รัฐบาลจะต้องให้คำตอบอย่างจริงใจ และนำพาแลนด์บริดจ์ “ระนอง–ชุมพร” ออกจากแผ่นกระดาษสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมเสียที?

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"ตร.ไซเบอร์" เชิญสีกากอล์ฟ คนสนิท "ทิดอาชว์" ให้ข้อมูล หลังเปิดปากติดพนัน พบเคยเล่นได้มากกว่า 10 ล้านบาท
2 วัยรุ่น ดักตบสาวท้องวัย 7 เดือน เหตุไม่พอใจ ที่บีบแตร
ยธส.16 ลุยชายแดนไทย-ลาว ศึกษาแนวทางปราบยาเสพติด-ยกระดับความร่วมมือข้ามแดน
รั้วไทยหายลึกลับ! “อดีตแม่ทัพ” เปิดหลักฐานรั้วตาเมือนธม ถ่ายปี 51
จีนชี้บริกส์ไม่ได้แสวงหาการเผชิญหน้ากับใคร
นโยบายภาษีทรัมป์ทำคนอเมริกันไม่กล้าไปต่างปท.
"งิ้วแต้จิ๋ว" สะพานวัฒนธรรมแห่งความทรงจำ ฉลอง 50 ปี มิตรภาพไทย–จีน ซีพี–ไทยเบฟ–สภาอุตฯ - สภาหอฯ ถ่ายทอดความทรงจำ ชวนคนไทยชื่นชมมรดกศิลปะจีนผ่าน ‘มหาอุปรากรสะท้านปฐพี’ 7 วันเต็ม 16 เรื่อง ณ ไอคอนสยาม
“อุปกิต” มอบพระพุทธรูปโบราณกว่า 300 ปี คืนสปป.ลาว พร้อมรูปหล่อครูบาเจ้าศรีวิชัย หนุนโครงการเสนอชื่อบุคคลสำคัญยูเนสโก
เกษตรกรบ่อกุ้ง ยืนยัน "กากชา" ช่วยคุม "ปลาหมอคางดำ" ในบ่อได้จริง
บก.สส.ภ.2 จัดพิธีมงคล! "ผบก.สส.ภ.2" นำฉลองหอพระและหลวงพ่อโสธรจำลอง เสริมสิริมงคลตำรวจภาค 2

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น