“ดร.สามารถ” ชง 4 คำถามถึงรัฐบาล รฟม.ใช้เกณฑ์ชดเชยเอกชนอย่างไร ลดค่ารถไฟฟ้าเหลือ 20 บาท แผนซื้อคืนสัมปทาน คืบหน้าถึงไหนแล้ว

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ชง 4 คำถามถึงรัฐบาล รฟม.ใช้เกณฑ์ชดเชยเอกชนอย่างไร ลดค่ารถไฟฟ้าเหลือ 20 บาท แผนซื้อคืนสัมปทาน คืบหน้าถึงไหนแล้ว

“ดร.สามารถ” ชง 4 คำถามถึงรัฐบาล รฟม.ใช้เกณฑ์ชดเชยเอกชนอย่างไร ลดค่ารถไฟฟ้าเหลือ 20 บาท แผนซื้อคืนสัมปทาน คืบหน้าถึงไหนแล้ว – Top News รายงาน

 

ดร.สามารถ

 

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2568 ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และอดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte โดยระบุว่า.. รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ระวัง! อย่าแถมเงินให้นายทุน

เป็นข่าวดีสำหรับผู้ใช้รถไฟฟ้าที่รัฐบาลจะเริ่มใช้นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย สำหรับรถไฟฟ้าทุกสายทุกสีตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2568 เป็นต้นไป นั่นคือผู้โดยสารจะจ่ายค่าโดยสารสูงสุด 20 บาท ไม่ว่าจะนั่งใกล้หรือไกล

 

ข่าวที่น่าสนใจ

นโยบายนี้จะทำให้เอกชนผู้รับสัมปทานได้รับรายได้จากค่าโดยสารลดน้อยลง ซึ่งรัฐจะต้องชดเชยรายได้ให้เอกชน พูดได้ว่ารัฐจะช่วยจ่ายค่าโดยสารส่วนหนึ่งแทนผู้โดยสาร แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่ารัฐจะต้องชดเชยรายได้ให้เอกชนเป็นจำนวนเท่าไร และใช้หลักเกณฑ์อะไรในการคำนวณ ซึ่งหากการชดเชย “เกินความจำเป็น” อาจนำไปสู่คำถามว่า นี่คือนโยบายประชานิยมหรือการเอื้อประโยชน์ให้นายทุนทางราง? อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นการเอื้อนายทุนอย่างแยบยล

ที่สำคัญ จะหาเงินจากที่ไหนมาชดเชยให้เอกชน มีการพูดกันว่าจะใช้เงินของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งเป็นเงินส่วนแบ่งรายได้จากการเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยได้รับส่วนแบ่งมาจากเอกชนผู้รับสัมปทาน ก็คงมีพอที่จะใช้ได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น หากไม่มีรายได้ใหม่เข้ามาอย่างยั่งยืน การรักษานโยบายนี้ในระยะยาวจะทำได้ยาก

นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชน ซึ่งจะต้องใช้เงินก้อนใหญ่ โดยจะหาเงินจากการเก็บค่าผ่านทางเข้าย่านธุรกิจซึ่งมีรถติดที่เรียกกันว่าค่าธรรมเนียมรถติด (Congestion Charge หรือ Congestion Pricing) ตามที่กระทรวงคมนาคมได้คิดไว้เป็นแนวทางหนึ่ง ซึ่งก็เงียบหายไป

อย่าลืมว่า เลือกตั้งครั้งหน้าใกล้เข้ามาทุกที ทำให้นโยบายนี้อาจถูกมองได้ว่าเป็นการ “โปรยเสน่ห์ทางการเมือง” มากกว่าจะเป็นการปฏิรูประบบขนส่งอย่างจริงจัง หากไม่มีแหล่งรายได้รองรับอย่างยั่งยืน นี่อาจเป็นเพียง “โปรโมชั่นชั่วคราว” ที่จบลงพร้อมกับวาระของรัฐบาล

 

โดยสรุป ผมเห็นด้วยที่จะทำให้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าถูกลง แต่มีคำถามเกิดขึ้นดังนี้

1. มีหลักเกณฑ์การชดเชยรายได้ให้เอกชนผู้รับสัมปทานอย่างไร? จึงจะไม่ทำให้เอกชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน

2. ใครจะเป็นผู้ตรวจสอบว่าจำนวนเงินชดเชยเหมาะสมหรือไม่? ชดเชยมากเกินไปหรือไม่?

3. นโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย จะใช้แหล่งเงินชดเชยจากที่ไหน? และจะอยู่ได้นานกี่ปี?

4. ยังมีแนวคิดที่จะซื้อสัมปทานรถไฟฟ้าคืนจากเอกชนอีกหรือไม่? และถ้ามี จะหาเงินจากไหนมาซื้อคืน? ยังคงคิดที่จะเก็บค่าธรรมเนียมรถติดอยู่อีกหรือไม่?

ทั้งหมดนี้ด้วยความหวังดี อยากให้นโยบายนี้มีความยั่งยืน ไม่ใช่แค่หาเสียงก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้าเท่านั้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

เจอแล้ว! “รั้วกั้น-หมุดหลักเขต” นับ 100 หมุด ชี้ชัด 3 ปราสาทอยู่ในแผ่นดินไทย
จีน-เมียนมา-ไทยยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์
“ภูมิธรรม” รักษาการนายกฯ ลงนามแบ่งงานรองนายกฯ-รมต.ประจะสำนักนายกฯ ตัวเองคุมกลาโหม-มหาดไทยม "พ่อมดดำ" ดูสำนักพุทธฯ-อสมท.
จนท.เร่งสอบขยายผล เก๋งต้องสงสัยคาร์บอมบ์ ถูกเผาทิ้งกลางดึกที่รือเสาะ นราธิวาส
เปิดข้อมูล "ฮุน เซน" สั่งแบนสินค้าไทย แต่ให้นายทุนนำเข้าจากชายแดนลาว ทำราคาพุ่ง ด้าน "คนเขมร" แห่ข้ามแดนช่องจอม ขอทำงานกลุ่มทุนจีน
ผุ้นำญี่ปุ่นลั่นไม่ยอมอ่อนข้อให้ทรัมป์ง่ายๆปมภาษี
"เทพมนตรี" ตอกหน้า "ฮุน มาเนต" โชว์หลักฐานข้อเขียน-แผนที่ "นักสำรวจชาวฝรั่งเศส" ยัน "ปราสาทตาเมือนธม" เป็นของไทย
ทหารพราน ทพ.1303 สกัดจับชาวกัมพูชา 2 ราย กำลังขนบุหรี่เถื่อนเกือบ 16,000 ซอง ลักลอบข้ามชายแดน
หนุ่มนักตกปลา ตาไม่ดี เดินพลาดตกช่องลิฟท์ ที่จอดรถอัตโนมัติ
"โฆษกภูมิใจไทย" สวนกลับเพื่อไทย ไม่ต้องหวาดระแวง ยัน "อนุทิน" ไม่เคยเสนอตัวแย่งชิงนายกฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น