“ม.นเรศวร” สั่งเลิกจ้าง “ดร.พอล” โดนร้องทำผิดคดี 112 ตม.ยึดหนังสือเดินทาง เหตุถูกเพิกถอนวีซ่า

ม.นเรศวร สั่งเลิกจ้าง “พอล แชมเบอร์ส” – ตม.พิษณุโลกยึดพาสปอร์ตที่เพิ่งได้คืน แม้ยังรอคอยผลอุทธรณ์คำสั่งกรณีเพิกถอนวีซ่า

“ม.นเรศวร” สั่งเลิกจ้าง “ดร.พอล” โดนร้องทำผิดคดี 112 ตม.ยึดหนังสือเดินทาง เหตุถูกเพิกถอนวีซ่า – Top News รายงาน

ม.นเรศวร

หลังจากที่นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค ผู้ตรวจการอัยการ ในฐานะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานอัยการสูงสุด ได้รับสำนวนจากพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองพิษณุโลกคดีระหว่าง พ.อ.มงคล วีระศิริ ผู้กล่าวหา ดร.พอล แซมเบอร์ส (Dr.Paul Chambers) ผู้ต้องหา ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 6 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (2) , 20 ซึ่งพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาตามข้อกล่าวหา โดยผู้ต้องหาจะครบกำหนดฝากขัง ครั้งที่ 2 ในวันที่ 1 พ.ค.2568

เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีสำคัญตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุด อธิบดีอัยการภาค 6 มีคำสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 6 ตามความเห็นและมติของคณะทำงานกำหนดแนวทางการบังคับใช้กฎหมายในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

และสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) , 20

และพนักงานอัยการจังหวัดพิษณุโลกจะได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวผู้ต้องหาต่อศาลจังหวัดพิษณุโลก พร้อมทั้งดำเนินการส่งสำนวนพร้อมความเห็นและคำสั่งไม่ฟ้องไปยังผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 6 เพื่อพิจารณาว่าจะมีความเห็นแย้งในคำสั่งไม่ฟ้องหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145/1 ต่อไป

 

ข่าวที่น่าสนใจ

ต่อมาวันนี้ เพจศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้โพสต์ข้อความว่า ได้รับแจ้งจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ว่า ผศ.ดร.ภาณุ พุทธวงศ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดี ได้ออกคำสั่งยกเลิกการจ้างงาน ดร.พอล แชมเบอร์ส (Dr.Paul Chambers) อาจารย์ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญพิเศษของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 ซึ่งเป็นวันที่ถูกแจ้งคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร

นอกจากนั้น ล่าสุดเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองพิษณุโลก ยังมีการยึดหนังสือเดินทางที่ ดร.พอล เพิ่งได้คืนจากศาล หลังจากอธิบดีอัยการภาค 6 มีคำสั่งไม่ฟ้องในคดีมาตรา 112 ทำให้ยังต้องติดตามปัญหาการถูกเพิกถอนวีซ่าต่อไป

ยังรอผลอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนวีซ่า
หลังจาก ดร.พอล ถูกกล่าวหาในคดีมาตรา 112 และศาลจังหวัดพิษณุโลกไม่อนุญาตให้ประกันตัว เมื่อวันที่ 8 เม.ย. 2568

เพียงหนึ่งวันถัดมา (9 เม.ย. 2568) ในขณะที่ ดร.พอล ยังถูกคุมขัง ร.ต.อ.ชยพล ธรรพรังษี รองสารวัตรตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพิษณุโลก ได้เข้าแจ้งคำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (วีซ่า) โดยอ้างเหตุผลว่ามี “พฤติการณ์ต้องหาว่ากระทำความผิด” ตามมาตรา 112 ซึ่งเข้าลักษณะต้องห้ามมิให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 12 (8) แห่ง พ.ร.บ.คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522

11 เม.ย. 2568 หลังได้รับการประกันตัว ดร.พอล เดินทางไปที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพิษณุโลก เพื่อยื่นอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ต่อคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง โดยยืนยันว่าพฤติการณ์ไม่เข้าข่ายตามที่ ตม. อ้าง และกระบวนการไม่ชอบด้วยกฎหมาย

วันที่ 18 เม.ย. 2568 ดร.พอล พบหนังสือคำสั่งของ ตม.พิษณุโลก อีกฉบับหนึ่งติดไว้ที่หน้าที่พัก โดยแจ้งขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงเรื่อง “พฤติการณ์ต้องห้าม” โดยอ้างว่า “มีข้อผิดพลาดที่ผิดหลง” ของเจ้าหน้าที่ จากเดิมที่อ้างมาตรา 12 (8) (เช่น การค้าประเวณี ยาเสพติด หรือกิจการที่ขัดต่อศีลธรรม) ไปเป็น มาตรา 12 (7) คือ “น่าเชื่อว่าเป็นบุคคลที่เป็นภัยต่อสังคม หรือจะก่อเหตุร้ายให้เกิดอันตรายต่อความสงบสุขหรือความปลอดภัยของประชาชน หรือความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร”

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ ตม. ยังขอแก้ไขเนื้อหาเรื่องคำสั่งที่ใช้เป็นฐานอ้างอิงอำนาจในการเพิกถอนวีซ่า แก้ไขเป็นคำสั่งที่ใหม่กว่า

วันที่ 21 เม.ย. 2568 ดร.พอล ได้เข้ายื่นอุทธรณ์คำสั่งอีกครั้งที่ ตม.พิษณุโลก โดยระบุว่าการแก้ไขคำสั่งและกระบวนการแจ้งการเพิกถอนไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ทำมิได้ตามกฎหมายปกครอง ทั้งตนไม่มีพฤติการณ์ต้องห้ามตามที่แจ้ง คดีมาตรา 112 ยังเป็นเพียงข้อกล่าวหาเท่านั้น

ปัจจุบันเรื่องดังกล่าวยังอยู่ระหว่างรอผลคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง

 

มน.สั่งเลิกจ้าง ดร.พอล – ตม.ยึดพาสปอร์ต ที่เพิ่งได้คืนจากศาล
กรณีการถูกเพิกถอนวีซ่าดังกล่าว ยังทำให้ ดร.พอล ต้องประกันตัวต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองโดยวางหลักประกันไว้ 300,000 บาท และต้องเข้ารายงานตัวต่อเจ้าพนักงานเดือนละ 1 ครั้ง

แม้ยังรอผลการอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว แต่ล่าสุดมหาวิทยาลัยนเรศวรได้มีคำสั่งที่ 1586/2568 ลงวันที่ 21 เม.ย. 2568 แจ้งยกเลิกการจ้างผู้มีความรู้ความสามารถพิเศษเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย โดยยกเลิกการจ้างงาน ดร.พอล แชมเบอร์ส

เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้รับแจ้งจากกองบังคับการตำรวจตรวจคนเข้าเมือง 5 ว่า ดร.พอล ถูกเพิกถอนการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร ทำให้เป็นบุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติในการทำงานในประเทศไทย จึงให้ยกเลิกการจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย. 2568 และต่อมาแก้ไขเป็นให้มีผลตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 ส่งผลให้สถานะอาจารย์ของ ดร.พอล สิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ 9 เม.ย. 2568 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ แม้ล่าสุด อธิบดีอัยการภาค 6 จะมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีมาตรา 112 ของ ดร.พอล แล้ว พร้อมได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอปล่อยตัวต่อศาลจังหวัดพิษณุโลก ทำให้ ดร.พอล ออกจากการควบคุมตัวของศาลแล้ว รวมทั้งได้รับคืนหนังสือเดินทาง

แต่วันที่ 2 พ.ค. 2568 เมื่อเข้าแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดพิษณุโลก เจ้าพนักงานได้ขอยึดหนังสือเดินทางไว้ โดยชี้แจงว่าเป็นไปตามเงื่อนไขสัญญาประกันห้ามออกนอกราชอาณาจักร และให้วางหนังสือเดินทางไว้ที่เจ้าพนักงานตรวจคนเข้าเมือง มิฉะนั้นอาจขัดต่อเงื่อนไขประกันตัวในกรณีการถูกถอนวีซ่า

สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้จนกว่าจะมีคำสั่งของกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง ดร.พอล ยังอยู่ในสถานะที่ “ไม่มีวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน” ซึ่งหากคณะกรรมการมีความเห็นว่าควรให้เพิกถอนวีซ่าเช่นเดิม จะทำให้ ดร.พอล ตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกผลักดันออกนอกราชอาณาจักรด้วย

สถานการณ์ดังกล่าว ยังสะท้อนปัญหาการถูกกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 นอกจากจะสร้างผลกระทบในภาระทางคดีแล้ว ในกรณีของชาวต่างชาติกลับมีความซับซ้อน ด้วยกระบวนการสั่งเพิกถอนวีซ่า ทั้งกระทบต่อชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพภายในประเทศไทย แม้ในท้ายที่สุดจะไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาเลยก็ตาม

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"รองอ้อม ลลิตา" มั่นใจโค้งสุดท้าย คว้าชัยเลือกตั้งนายกเมืองป่าตอง
"สันติสุข" ชี้มั่วมากอ้างอำนาจ"ราชทัณฑ์" พา"ทักษิณ" นอนชั้น 14 ไม่เกี่ยวศาล ไล่ไปหามา เคสไหนเข้าคุกไม่ถึงคืน ออกไปพักห้องหรู รพ.ตร.
"นฤมล" แจงผลสำเร็จโครงการจ้างแรงงานชลประทาน กระจายรายได้เกษตรกร ลุยเป้าหมายให้ครบกว่า 8 หมื่นตน
ตร.รวบมือปาหินใส่รถ "ย่านบางนา-ตราด" พร้อมคุมตัวทำแผน อึ้งสารภาพเคยก่อเหตุมาแล้ว 12 ครั้ง
"น.1" สั่งล่า 2 มือปืนก่อเหตุอุกอาจ บุกยิงหนุ่มเพิ่งพ้นคุก 9 นัด ดับสลด
"เทพไท" เชื่อถ้าศาลฏีกาฯไต่สวนครบ 5 ประเด็น จากปากพยานสำคัญ รวม"วิษณุ" มั่นใจ "ทักษิณ" ต้องกลับนอนคุกจริงๆ
"เสธ.ต๊อด" ยันเอกสารกอ.รมน. ไร้เนื้อหากล่าวหา "อนุทิน" แอบอ้างสถาบันฯ เจ้าตัวโพสต์ติงสื่ออย่าออกข่าวชุ่ยๆ อย่าดึงฟ้าลงต่ำ
ผู้ว่าตราดเปิดโครงการ เทศกาลเรือใบ ดันตราดศูนย์กลางเมืองเรือใบและกิจกรรมทางทะเลเชื่อมโลก เผยสร้างรายได้ท่องเที่ยวยั้งยืน
ดีอี เตือน ข่าวปลอม “จะเกิดแผ่นดินไหวที่ภาคอีสาน” หลอกลวงให้ ปชช.ตื่นตระหนก- เข้าใจผิด
ไม่มีคำประณาม "ชาวเน็ต" ถาม "รอมฏอน" โพสต์แค่เสียใจโจรใต้ สังหารโหดชาวบ้าน เร่งรัฐเจรจาสันติภาพ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น