No data was found

“บิ๊กโจ๊ก” มีสิทธิ์ชิงผบ.ตร. “พล.ต.อ.เอก” ระบุไม่เป็นข้อจำกัด

กดติดตาม TOP NEWS

"บิ๊กโจ๊ก" มีสิทธิ์ชิงผบ.ตร. "พล.ต.อ.เอก" ระบุไม่เป็นข้อจำกัด

จากกรณีที่ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. เข้ารับทราบข้อกล่าวหาสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่สองคนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการทำผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และเป็นเจ้าพนักงานร่วมกันฟอกเงิน ที่สน.เตาปูน และได้รับการประกันตัว เมื่อเย็นวันที่ 2 เม.ย.ที่ผ่านมา ต่อมามีกระแสข่าวว่าจะมีการพิจารณาดำเนินการทางวินัยกับพล.ต.อ.สุรเชษฐ์หรือไม่นั้น

 

 

ล่าสุด วันนี้ (4 เม.ย.67) พล.ต.อ.เอก อังสนานนท์ คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) ผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ความเห็นกรณีดังกล่าวว่า มีประเด็นที่จะต้องดำเนินการควบคู่ไป 2 เรื่อง คือ 1.การดำเนินคดี ล่าสุดพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ได้เข้ามอบตัวกับพนักงานสอบสวน เรื่องคดีจะต้องมีการสืบสวนสอบสวนในชั้นพนักงานสอบสวน จะมีการสรุปการสอบสวนและเสนอสำนวนการสอบสวนโดยมีความเห็นว่าจะสั่งฟ้อง หรือไม่สั่งฟ้องไปยังอัยการ หากอัยการสั่งฟ้องก็จะส่งต่อไปที่ศาล หากสั่งไม่ฟ้องจะต้องส่งสำนวนกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเพื่อมีความเห็น ถ้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเห็นแย้งไม่เห็นด้วยกับอัยการที่สั่งไม่ฟ้อง ก็ต้องส่งไปให้อัยการสูงสุดเพื่อสั่งวินิจฉัยชี้ขาด

พล.ต.อ.เอก ระบุว่า หากชี้ขาดประการใดก็ยุติไปตามนั้น หากเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเมื่อมีการฟ้องร้องต่อศาลจะเป็นไปตามกระบวนกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติไว้ ก็ไปดำเนินการในเรื่องของการพิจารณาในชั้นศาล จนศาลมีคำพิพากษาตัดสิน จะศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็อยู่ที่ข้อเท็จจริงของการตัดสินแต่ละศาล ซึ่งเป็นเรื่องที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย ตามกรอบระยะเวลาซึ่งจะใช้เวลาพอสมควรในการพิจารณาคดีนี้

พล.ต.อ.เอก กล่าวอีกว่า อีกส่วนหนึ่งกรณีข้าราชการต้องหาคดีอาญาจะต้องมีการรายงานโดยตัวผู้ถูกกล่าวหาคือพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ จะต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาคือผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ถึงแม้ในขณะนี้จะไปช่วยราชการอยู่ แต่มีรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติอยู่ เพื่อจะให้มีการพิจารณาดำเนินการทางวินัย ซึ่งรายงานดังกล่าวจะประกอบกับรายงานส่วนที่พนักงานสอบสวนที่รับเรื่องที่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์เข้ามอบตัวได้รายงานพฤติกรรมเกี่ยวกับคดี ส่งมาให้ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เพื่อพิจารณาในการตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง หรือตั้งกรรมการพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย ก็อยู่ในดุลยพินิจหรือในอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ส่วนการพิจารณาทัณฑ์ทางวินัย คณะกรรมการที่ดำเนินการสามารถมีความเห็นว่าผิดหรือไม่ผิด จะเป็นวินัยร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง หากวินัยร้ายแรงสามารถเสนอความเห็นให้มีการลงโทษ จะไล่ออก ปลดออก เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่มีการสอบสวน เรื่องวินัยเป็นกระบวนการที่แยกออกมา และสามารถสรุปความผิดทางวินัยได้โดยไม่ต้องรอผลทางคดีอาญา ซึ่งมีกรอบเวลาในการพิจารณา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าจะมีการตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนหรือจะมีการตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัย คาดว่าขั้นตอนการดำเนินการทางวินัยจะรวบรัดได้เร็วว่าการดำเนินการในส่วนของคดีอาญา เพราะว่ากระบวนการในการพิจารณาชั่งน้ำหนัก พยานหลักฐาน ไม่เหมือนคดีอาญาเวลาที่จะกล่าวหากล่าวโทษใครว่าต้องคดีอาญาที่มีโทษจำคุกจะต้องดูพยานหลักฐานให้แน่ชัดให้ชัดเจนถ้ายังไม่ตัดสิน การถูกกล่าวหายังถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์อยู่ มีกฎหมายรัฐธรรมนูญรองรับ ส่วนทางวินัยการสืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานต่างๆ แม้ว่าจะไม่มีพยานหลักฐานชัดเจนจนฟังว่ากระทำความผิดวินัยร้ายแรงถึงลงโทษให้ไล่ออก ปลดออก แต่คณะกรรมการหรือผู้บังคับบัญชาพิจารณาว่าการกระทำทั้งหมดมีมลทินมัวหมอง หากอยู่ไปก็อาจจะทำให้เกิดความเสียหายอาจมีความเห็นให้ออกจากราชการไว้ก่อนได้

 

เมื่อถามถึงกระบวนการพิจารณาพักราชการให้ออกจากราชการ รักษาราชการแทนสามารถดำเนินการได้หรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า เป็นอำนาจของรักษาการ แต่ถ้าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผบ.ตร.อำนาจเป็นของนายกรัฐมนตรี แต่พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ เป็นรองผบ.ตร. ผู้บังคับบัญชาคือคนที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนี้คือรักษาราชการราชการผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ

 

เมื่อถามถึงประเด็นการถูกดำเนินคดีอาญาจะส่งผลต่อการมีชื่อเป็นแคนดิเดตผบ.ตร.คนต่อไปหรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ประเด็นนี้จริง ๆ แล้ว ข้อมูลทั้งหลายมีกระบวนการดำเนินการทั้งทางคดีอาญาและทางวินัย คงต้องมีระยะเวลาในการดำเนินการ หากถามว่าจะเกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งโยกย้ายเหมือนอย่างที่มีข้อสันนิษฐานหรือมีคนสงสัยมาตลอดว่าการดำเนินคดีอาญาเป็นเรื่องของการเตะตัดขา พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ผมขอบอกว่ากระบวนการแต่งตั้งผบ.ตร. เริ่มขึ้นประมาณเดือนต.ค.67 ซึ่งส่วนนี้กฎหมายให้อำนาจนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสามารถใช้ดุลยพินิจพิจารณารองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติที่เป็นแคนดิเดต 4 คน รวมถึงพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ด้วย

เมื่อถามว่าขณะนี้ทางพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ อาจถูกตั้งกรรมการและถูกดำเนินคดีอาญาจะเป็นข้อจำกัดสิทธิ์หรือไม่ พล.ต.อ.เอก กล่าวว่า ขอยืนยันว่ายังไม่เป็นข้อจำกัดสิทธิ์ เพราะนายกรัฐมนตรีสามารถเสนอชื่อของพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ได้ ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งอาวุโส ความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ในการสืบสวนสอบสวน และเรื่องความประพฤติ ก็จะมีประเด็นที่สังคมมีคำถามว่าต้องหาคดีอาญาหรือโดนตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยจะมีความเกี่ยวข้องเป็นข้อพิจารณาได้หรือไม่อย่างไร ทั้งนี้แล้วแต่นายกรัฐมนตรีจะพิจารณาอย่างไร ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาและเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) ให้ความเห็นชอบซึ่งเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ นายกรัฐมนตรีมีสิทธิ์สามารถเสนอได้ ส่วนข้อจำกัดตามที่กล่าวอ้างหรือมีประเด็นที่สอบถามกันจะต้องแล้วแต่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้พิจารณา

 

 

 

ส่วนกรณีของพล.ต.อ.ต่อศักดิ์จะถูกดำเนินการแจ้งข้อกล่าวหาเหมือนกับพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งก็เป็นไปตามกระบวนการ หากข้อเท็จจริงเวลานี้ที่ปรากฏ มีการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคนอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับเงินจากบัญชีม้า พนักงานสอบสวนก็ต้องมีการเปิดคดีดำเนินการสืบสวนสอบสวน ก็จะต้องมีพยานหลักฐานที่จะกล่าวหา หากพยานหลักฐานเพียงพอก็จะมีความเห็นทางคดี หากอัยการฟ้องต่อที่ศาล หากตำรวจฟ้องหรืออัยการไม่ฟ้อง ก็จะถูกตีกลับมาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถทำความเห็นแย้งให้แก่อัยการสูงสุดวินิจฉัยได้

 

 

ณ.เวลานี้มีการเปิดประเด็นที่จะไปร้องเรียนเอาผิดทางวินัยกับ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ การดำเนินการนี้ประชาชนอาจจะยังไม่คุ้นชิน โดยทนายตั้ม ได้นำข้อเท็จจริงที่ร้องคดีอาญา มาร้องเรียนต่อคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ (ก.ร.ตร.) ซึ่งคณะกรรมการชุดดังกล่าวนี้มีจำนวน 9 คน โดย 3 ใน 9 เป็นตำรวจที่ผ่านการคัดเลือกตามระบบ คือ พล.ต.ท. สรศักดิ์ เย็นเปรม ประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ ส่วนอีก 2 ท่าน คือ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน และพล.ต.ท. เรวัช กลิ่นเกษร คณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจ หรือ ก.ร.ตร. นอกจากตำรวจ 3 ท่านแล้วทางกฎหมายก็ยังกำหนด ให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการเสร็จเลือกผู้แทนมา 1 คน ส่วนคนที่ 5 ให้สภาทนายความเลือกทนายความที่ว่าความมีประสบการณ์กว่า 20 ปี คือ เลขาสภาทนายความ ส่วนอีก 2 ท่านเป็นผู้แทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการตุลาการพิจารณาผู้พิพากษาระดับศาลอุทธรณ์ 1 ท่านมาร่วมในคณะนี้ และคณะกรรมการอัยการชั้นผู้ใหญ่ 1 ท่านเข้ามาร่วม แต่ยังขาดอยู่ อย่างไรก็ตามทางกฎหมายระบุว่าเมื่อมี 7 คนก็สามารถดำเนินการได้

 

ตามข่าวที่ปรากฏก็จะพบว่าทนายตั้มได้นำเรื่องไปร้องเรียน และเมื่อวานก็ยังมีกรณีพี่มาเปิดประเด็นกรณีพล.ต.อ.สุรเชษฐ์ ร้องทุกข์กล่าวโทษดำเนินคดีกรณีไปเซ็นชื่อรับเข็มวปอ.ที่สน.สุทธิสาร เช่นเดียวกันนี้ก็นำมาเปิดกับข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏว่าไปเซ็นชื่อแทน ก็จะได้เห็นบทบาทว่าคณะกรรมการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตำรวจจะดำเนินการเรื่องทางวินัย หากไม่พบมูลความผิดก็สั่งยุติตกไป หากมีมูลก็สามารถไต่สวนพิจารณาหลักฐานต่างๆ หากพบการกระทำผิด ก็ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตำรวจลงโทษได้ทันที หากบทโทษร้ายแรง เน้นย้ำให้ใช้คำว่าไต่สวน โดยจะฟังทั้งสองฝ่ายและให้ความเป็นธรรม

และขอย้ำว่าการร้องเรียนเรื่องของตำรวจการมี ก.ร.ตร. ถือเป็นเรื่องสำคัญในการสนับสนุนการทำงาน ไม่ว่าตำรวจจะทำผิด ก็จะมีการพิจารณาลงโทษโดยองค์กรกลาง มีอำนาจกว้างขวาง โดยพล.ต.อ.ต่อศักดิ์ก็จะถูกโทษดำเนินคดีอาญาแล้วก็จะถูกกล่าวหาในทางวินัย และดำเนินการตามกรอบระยะเวลาเดียวกัน ประมาณ 120 วัน หากพบมูลการกระทำผิด ก็จะต่อเวลาขยายได้อีก 270 วัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

"เทพไท" จวกเดือด ผลงานกกต.ครบ 1 ปีเลือกตั้ง 80 สำนวนร้องผิด แจกใบแดง เงียบกริบ
นาทีสลายม็อบนศ.ยึดตึกม.โคลัมเบีย (คลิป)
"สอบสวนกลาง" บุกจับผับสะเดา เปิดเกินเวลา ปล่อยมั่วสุมยาเสพติด
“ทัพพม่า” ซุ่มชิงคืนค่ายผาซอง-ยึดกอกะเร็กได้แล้ว จ่อฟื้นค้าชายแดนกับไทย
"นายกฯ" ย้ำไทยพร้อมเป็นฮับ AI แห่งอาเซียน
DSI ชี้ "นอท-ลอตเตอรี่พลัส" เข้าข่ายผิดกม. แนะสนง.สลากฯเดินหน้าฟ้องเอาผิด
“ธนกร” ซัดแรง “ชัยธวัช-สส.ก้าวไกล” หวังดีประสงค์ร้าย เรียกร้องขึ้นค่าแรงไม่สนไตรภาคี
"นายกฯ" ย้ำ "แรงงานไทย" ต้องได้ค่าแรงเป็นธรรม ให้ความสำคัญช่วยขับเคลื่อนประเทศ
อินเดียเคือง อีลอน มัสก์ ยกเลิกนัดแต่ไปเยือนจีน
ไมโครซอฟท์ทุ่ม 1.7 พันล้าน ลงทุนอินโดฯ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น