logo

เปิด 9 ขั้นตอน กระบวนการ “ศาลรธน.” ชี้ชะตาก้าวไกล หลังกกต.ส่งคำร้องให้พิจารณา

เปิด 9 ขั้นตอน กระบวนการ “ศาลรธน.” ชี้ชะตาก้าวไกล หลังกกต.ส่งคำร้องให้พิจารณา

เป็นประเด็นที่น่าสนในหลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้พิจารณายุบพรรคก้าวไกล และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคจากเหตุมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคก้าวไกลกระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยกกต.ได้ยื่นคำร้องผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-filing ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดเมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา

 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปกติคณะตุลาศาลรัฐธรรมนูญจะมีการประชุมประจำสัปดาห์ทุกวันพุธ จึงทำให้ทุกฝ่ายจับจ้องว่าในวันพุธที่ 20 มี.ค.นี้ จะมีคำร้องที่ กกต.ยื่นต่อศาลรัฐธรรมใก้ยุบพรรคก้าวไกลเข้าสู่ที่ประชุมหรือไม่ และที่สำคัญศาลจะมีคำสั่งรับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัยหรือไม่ โดย “ท็อปนิวส์” ได้นำขั้นตอนการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญในการรับหรือไม่รับคำร้องไปจนถึงการพิจารณาสิ้นสุดคดีว่าจะมีกระบวนการอย่างไรตามกฎหมาย

 

ข่าวที่น่าสนใจ

1.เมื่อคำร้องระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาถึงศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญจะจัดส่งคำร้องมายังกลุ่มวิเคราะห์กฎหมาย และคดีเพื่อดำเนินการต่อไป เมื่อกลุ่มวิเคราะห์กฎหมายและคดีจะสรุปเนื้อหาของคำร้องทั้งข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย รวมถึงประเด็นที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวันเวลาที่รับคำร้อง และความเห็นว่า จะสมควรรับคำร้องไว้ดำเนินการหรือไม่ ซึ่งจะทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 วันทำการ

2.เมื่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญทำความเห็นชอบเสร็จสิ้นว่า จะรับหรือไม่รับคำร้อง จากนั้นจะเสนอต่อประธานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า สมควรรับคำร้องไว้ดำเนินการหรือไม่ ซึ่งที่ประชุมจะมีคณะตุลาการชุดเล็กพิจารณาคำร้องว่ารับหรือไม่รับ ก่อนจะทำความเห็นเสนอไปยังที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อนัดประชุมพิจารณาคำร้อง และมีคำสั่งว่า สมควรรับคำร้องไว้ดำเนินการต่อไปหรือไม่ ซึ่งต้องกระทำภายใน 7 วันทำการหลังจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง

3. กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องจะมีคำสั่งให้ตรวจคำร้อง และมีคำสั่งเกี่ยวกับคำร้อง ในขั้นตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะแต่งตั้งตุลาการไม่น้อยกว่า 3 คน เป็นผู้พิจารณาภายใน 2 วันนับแต่วันที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง โดยคณะตุลาการดังกล่าวจะต้องตรวจและมีคำสั่งรับคำร้องไว้พิจารณาภายใน 5 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องจากสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
4. การส่งสำเนาคำร้องให้ผู้ถูกร้องชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องในคดีที่มีผู้ถูกร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย ก็จะมีการส่งสำเนาคำร้องไปให้ผู้ถูกร้องทำคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องหรือภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด หากผู้ถูกร้องไม่ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากลับมาภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็จะถือว่าผู้ถูกร้องไม่ติดใจที่จะยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา และศาลก็จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป

5. การพิจารณาคดี เป็นขั้นตอนที่สำคัญยิ่งขั้นตอนหนึ่ง โดยการพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญนั้นใช้ระบบไต่สวน ซึ่งการแสวงหาข้อเท็จจริงในคดีไม่ใช่บทบาทของคู่กรณีเท่านั้น โดยศาลรัฐธรรมนูญสามารถลงไปค้นหาความจริง ไม่ว่าจะเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็ได้ ซึ่งศาลมีอำนาจเรียกเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใดหรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้หน่วยงานของรัฐหรือพนักงานสอบสวนดำเนินการใดเพื่อประโยชน์แห่งการพิจารณาได้
อย่างไรก็ตาม หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคดีใดเป็นปัญหาข้อกฎหมาย หรือมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ ศาลรัฐธรรมนูญอาจประชุมปรึกษาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ทำการไต่สวนหรือยุติการไต่สวนก็ได้

6. การแถลงการณ์เปิดคดีหรือปิดคดี คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายมีสิทธิร้องขอให้มีการแถลงการณ์เปิดคดีหรือปิดคดีของตนได้ตามที่ศาลเห็นสมควร และระยะเวลาในการแถลงการณ์ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ
7. การทำคำวินิจฉัยและคำสั่ง เป็นขั้นตอนซึ่งตุลาการที่เป็นองค์คณะทุกคนจะต้องทำความเห็นส่วนตนเป็นหนังสือ พร้อมทั้งแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุม และให้ที่ประชุมหารือร่วมกันแล้วจึงลงมติ ทั้งนี้เป็นหน้าที่ของตุลาการทุกคนที่ต้องร่วมทำคำวินิจฉัย เว้นแต่มีเหตุถูกคัดค้านหรือมีเหตุจำเป็นอื่นอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ โดยตุลาการแต่ละคนต้องทำความเห็นส่วนตนโดยสังเขปนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะตามข้อกำหนดของศาลด้วย

8. การอ่านและเผยแพร่คำวินิจฉัย เป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยกฎหมายกำหนดให้คำวินิจฉัยมีผลในวันอ่าน และจะต้องประกาศคำวินิจฉัยในราชกิจจานุเบกษาภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำวินิจฉัย

9.กรณีที่ศาลรัฐธรรมไม่รับคำร้อง เช่น คำร้องไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญ และข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญกำหนดไว้เบื้องต้น และแม้ว่าจะเป็นคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่อาจรับไว้ดำเนินการ แต่ก็ต้องผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จากนั้นสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยกลุ่มวิเคราะห์กฎหมายและคดีจะจัดทำหนังสือตอบไปยังผู้ร้อง แต่ต้องให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับมอบหมายพิจารณาตรวจแก้เสียก่อน ก่อนที่จะให้เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญลงนามในหนังสือแจ้งผู้ร้อง โดยหนังสือจะจัดส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้ร้องตามชื่อที่อยู่

ทั้งนี้หากพิจารณาตามกระบวนการทางกฎหมายของศาลรัฐธรรมนูญหลังจากกรณี กกต.ยื่นยุบพรรคก้าวไกลตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงจุดจบสุดท้ายเชื่อว่า ไม่น่าจะเกิน 40-60 วันหลังจากนี้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

สุดเศร้า พ่อลูก 2 โพสต์เป็นนัย ก่อนลั่นไก เลือกจบ 3 ชีวิต
เช็กจุด “ทำฟัน” ฟรี เดือนมิถุนายน 2567 เพียงพก บัตรประชาชน ใบเดียว
"รพ.โพนทอง" อัปเดตจำนวนคนบาดเจ็บ เหตุ "บั้งไฟระเบิด" จ.ร้อยเอ็ด วอนอย่าเชื่อข่าวลวง
ชาวบ้านหนองแต้เดือดร้อน ถ่ายคลิปร้องสื่อมวลชน ถนนลูกรังพังเป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องทนทุกข์ทรมาน มาเกือบ 40 ปี
"ก้าวไกล" มอนิเตอร์คดียุบพรรคพรุ่งนี้ที่สภาฯ "ปกรณ์วุฒิ" ยันไร้แผนสำรอง ลุ้นผลคำวินิจฉัย
"เผ่าภูมิ" แจงชัดแนวคิดปรับ KPI ธนาคารออมสิน มุ่งสร้างแรงจูงใจช่วยสังคม เพิ่มโอกาส SME เข้าถึงสินเชื่อ
Chef Cares เปิดประสบการณ์ 'โจ๊กหมูแดง-ข้าวหมูแดงกวางตุ้งฮ่องเต้' สัมผัสความอร่อยสไตล์ฮ่องกง
อุบัติเหตุซ้ำซ้อน ฝนตกถนนลื่น รถชน 3 คันรวด ผู้โดยสารกว่า 30 คน ขวัญกระเจิง พ่อลูกกระโดดหนีตาย
หมูเถื่อน ในมือตำรวจ ต้นแบบดำเนินคดี "ศาลพิพากษา" สำเร็จโทษคนผิด
"พายุ" จัดหนัก ซัด "ก้าวไกล" เน้นปลุกปั่น เตรียมบิดเบือนอภิปรายงบฯปี 68 แฉซ้ำเคยทิ้งนโยบายเพื่อปชช. มุ่งแต่จะแก้ 112

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น