กรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งที่1และ 2 เปิดปฏิบัติการเก็บกู้ซากอวน ปกคลุมแนวปะการัง กว่า 700 ตร.ม.น้ำหนักรวม 338กก.พื้นที่เกาะริ้น จ.ชลบุรี เตรียมเร่งฟื้นฟูระบบนิเวศต่อไป

วันที่ 17 มกราคม 2567 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่ 1 (ระยอง)และ 2 (ชลบุรี) นำโดย นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) และเจ้าหน้าที่ชุดฉลามขาว พร้อมด้วย อาสาสมัครนักดำน้ำ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ จำนวน 35 คน นำเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 804 ออกปฏิบัติการภาระกิจเก็บกู้อวนปกคลุมแนวปะการัง เกาะริ้น อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี ตามขอสั่งการจาก ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้ดำเนินการเก็บกูอวน เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศปะการัง นายวุฒิพงษ์ วงศ์อินทร์ ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) เปิดเผยว่า การปฏิบัติงานในครั้งนี้ สืบเนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากนักประดาน้ำในพื้นที่ ที่ลงไปถ่ายภาพใต้น้ำ พบอวนขนาดใหญ่ทับแนวประการังอยู่ กรมทรัพยากรและชายฝั่ง จึงได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ลงไปเก็บกู้ซากอวนทั้งหมดขึ้นมา พร้อมทั้งมีการประเมินความเสียหายทั้งหมด

สำหรับการปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แบ่งนักดำน้ำทั้งหมด 7ทีม รอบแรกได้ส่งนักประดานน้ำสำรวจสภาพของอวน พบว่ามีความยาว 70เมตร กว้าง 10เมตร ครอบคลุมพื้นที่แนวปะการังทั้งหมด 700ตร.ม. ในรอบที่สองได้ส่งนักดำน้ำลงไปตัดอวนออกเป็นผืนย่อยโดยใช่ถุงพลาสติกรัดไว้ที่อวน เพื่อให้ลอยขึ้นมา และจะทำให้เกิดความเสียหายต่อปะการังน้อยที่สุด จากนั้นในรอบสุดท้ายได้ทำการเก็บกู้อวนน้ำรวมหนักประมาณ 338กก. พร้อมซ่อมแซมกิ่งที่แตกหักเสียหาย ส่วนการสำรวจประเมินความเสียหายที่มีต่อแนวปะการังในพื้นที่โดยประมาณ 700ตร.ม.พื้นที่ปะการังเสียหายประมาณ 70 ตร.ม.ลักษณะความเสียหายหลัก คือปะการังซีดจาง ฟอกขาวบางส่วน นอกจากปะการังยังมีผลกระทบอื่นๆ ประกอบด้วย ดอกไม้ทะเล และสัตว์หน้าดิน (ปู, หอยเม่น) ถูกทับและพันเกี่ยว แนวทางการฟื้นฟู คิดเป็นร้อยละ 10ของพื้นที่ที่ถูกปกคลุมทั้งหมด ซึ่งสภาพอากาศในวันนี้ท้องฟ้าค่อนข้างแจ่มใส ทำให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สามารถปฏิบัติได้ตามแผนที่วางไว้หลังจากนี้จะมีการปลูกทดแทนในพื้นที่เสียหาย ประมาณ 100กิ่ง โดยมีแผนติดตามผลการดำเนินการในอีก 2 เดือนข้างหน้า

 

ทั้งนี้จึงขอความร่วมมือผู้ประกอบการประมง ให้ทำการประมงในนอกเขตพื้นที่ที่มีแนวปะการังเพราะหากอวนไป หรือตัดทิ้งปล่อยไว้จะทำให้ปะการังตาย เพราะบริเวณที่โดนคลุมจะได้รับแสงน้อยลง ระบบน้ำหมุนเวียนไม่ดี ปะการังจึงเริ่มมีสีซีด หากปล่อยทิ้งไว้ปะการังจะฟอกขาวหมดก้อน และตายในที่สุด เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก หากพบผู้ประกอบการประมงทำความเสียหายต่อแนวปะการัง ซึ่งถือเป็นสัตว์คุ้มครอง จะมีความผิดตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า 2562 และ พรบ.การประมงอีกด้วย

 

 

อนันต์ กิ่งสร ทิวากร กฤษมณี ผู้สื่อข่าว จ.ชลบุรี

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

(50 ปีสัมพันธ์ไทย-จีน) เจ้อเจียงเปิดตัว 'แพลตฟอร์มท่องเที่ยว' พลัง AI
กกล.บูรพา รวบ 2 สาวไทย อ้างถูกหลอกทำงานปอยเปต เบื้องหลังรับจ้างข้ามแดนเปิด "บัญชีม้า-สแกนหน้า" ให้แก๊งคอลเซ็นเตอร์
“50 ปีไม่มีแก่” คำนี้ไม่มีอยู่จริงสำหรับคุณอาร์ต วศิน วรรณพฤกษ์ ผู้บริหารรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง
ศน. ต่อยอดกิจกรรมเข้าวัดปฏิบัติธรรมวันธรรมสวนะ “ตักบาตรทางน้ำริมคลองข้าวตอก จังหวัดพิจิตร” ส่งเสริมพุทธศาสนิกชนเข้าวัด น้อมนำหลักธรรมดำเนินชีวิต
รมว.คลัง โต้ลือ "สหรัฐ" ตัดสินใจเก็บภาษีไทย 36% แจงเร่งยื่นข้อเสนอใหม่ก่อน 9 ก.ค. นี้
"ศิริโชค" อดีตสส.สงขลา โพสต์อัปเดต จับมือลอบเผารถยนต์ได้แล้ว เร่งขยายผลผู้จ้างวาน ไม่หวั่นอิทธิพลมืด
เหยื่อร้อง Top News ถูกตัวแทนนายหน้าประกัน โกงค่าสินไหมอุบัติเหตุกว่าแสน เชื่อทำเป็นขบวนการ
"จีน-เมียนมา-ไทย" เห็นพ้อง ร่วมมือยกระดับกวาดล้างเครือข่ายคอลเซ็นเตอร์ เมืองเมียวดี
“นันทิวัฒน์” ตอกย้ำเขมร ปราสาท “ตาเมือนธม” เป็นของไทยตั้งแต่อดีต ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ตั้งแต่ยังไม่มีชื่อกัมพูชา
เจอแล้ว! “รั้วกั้น-หมุดหลักเขต” นับ 100 หมุด ชี้ชัด 3 ปราสาทอยู่ในแผ่นดินไทย

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น