เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี แจงดราม่า ปมสัตว์ป่าตายปริศนา เดือนเดียวมากถึง 13 ตัว

เชียงใหม่ ไนท์ซาฟารี แจงดราม่า ปมสัตว์ป่าตายปริศนา เดือนเดียวมากถึง 13 ตัว

(15 มกราคม 2567) จากกรณีเกิดกระแสดราม่า สัตว์ป่าในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีตายปริศนา 13 ตัว ภายในเดือนธันวาคม 2566 เพียงเดือนเดียว สร้างความตกใจให้กับผู้ที่ทราบข่าว และมีการตั้งคำถามถึงมาตรการในการดูแลสัตว์ป่าของเชียงใหม่ และซาฟารี นั้น

ไม่มีคำอธิบาย

ไม่มีคำอธิบาย

ล่าสุดเวลาประมาณ 13.30 น.วันนี้ นายกฤษดา ลาพิมล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ปฎิบัติหน้าที่แทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิงคนคร ชี้แจงประเด็นข่าวที่เกิดขึ้น โดยระบุว่าเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2548 มีการนำสัตว์เพื่อเข้ามาแสดง ซึ่งสัตว์ที่นำมาแสดงในช่วงแรก ๆ ปัจจุบันสัตว์กลุ่มนี้อยู่ในวัยชรา และอยู่ภายใต้การดูแลเป็นอย่างดีและอยู่จนสิ้นอายุขัยของสัตว์แต่ละประเภทนั้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ทุกสวนสัตว์ต้องเจอและไม่ใช่การตายปริศนาแต่อย่างใด

ข่าวที่น่าสนใจ

ทั้งนี้ สำนักงานมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนหาสาเหตุการตายของสัตว์เบื้องต้น และเมื่อทราบถึงสาเหตุก็ได้รายงานให้คณะกรรมการบริหารการพัฒนาพิงคนครทราบ และการดำเนินงานของสำนักงานฯ ได้มีมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์ ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal Welfare) ตามมาตรการ WAZA (World Association of Zoo and Aquarium s ) และ SEAZA (South East Asian Zoo Association)

ไม่มีคำอธิบาย

จากการตรวจสอบการตายของสัตว์เดือนธันวาคม 2566 พบตายเพียง 4 ตัว ไม่ใช่ 13 ตัว ตามที่เป็นข่าว ประกอบด้วย หมาจิ้งจอก ตายด้วยสาเหตุเนื้องอกตับอ่อน , ค่างห้าสี ตับอักเสบ , หมาป่าฟินิกส์ ตับอักเสบ และ แมวดาว สิ้นอายุขัย โดยสาเหตุที่ทำให้สัตว์ป่าเป็นโรคเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นได้ในสัตว์ที่อายุมากไม่ต่างจากมนุษย์และส่วนหนึ่งอาจจะมาจากสัตว์ภายนอก อย่างเช่นนกพิราบที่บินเข้ามาเป็นพาหะนำโรคมาแพร่ได้

โดยสำนักงานมีกระบวนในการชันสูตรซาก มีการผ่าชันสูตรทุกตัวและเก็บตัวอย่างขึ้นเนื้อและอวัยวะส่งตรวจต่อไปยังห้องปฏิบัติการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และกรมปศุสัตว์ และ สำนักงานจะรายงานสัตว์เกิดสัตว์ตาย ต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประจำทุกเดือนยกเว้นสัตว์ป่าคุ้มครองประเภทเสือโคร่ง ที่ต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเป็นไปตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562

ส่วนการตายของลีเมอร์ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2566 พบสาเหตุจากถูกงูเหลือมกิน เนื่องจากเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี มีพื้นที่ส่วนใหญ่ที่เป็นป่าค่อนข้างสมบูรณ์ ในช่วงฤดูฝนมีเลื้อยคลานประเภทงูจำนวนมากและมีบางตัวที่เล็ดลอดเข้าไปในส่วนจัดแสดงลีเมอร์ได้ โดยเรื่องนี้ได้เร่งดำเนินการจัดทำมาตรการในการป้องกันและปัจจุบันไม่พบปัญหานี้แล้ว

เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีมีสัตว์ประมาณ 130 ชนิด ประมาณกว่า 1,000 ตัว มีทีมเจ้าหน้าที่คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีสัตว์ป่วยที่อยู่ในระหว่างการรักษามีประมาณ 10 ตัว ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤตแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่เกิดขึ้น ไม่เกี่ยวข้องกับการดิสเครดิต ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่านการบริหารสำนักงานพัฒนาพิงคนครแต่อย่างใด

ไม่มีคำอธิบาย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

“ภูมิธรรม” เผยผลหารือ GBC ไทย-กัมพูชา เลี่ยงปะทะปมปราสาทตาเมือนธม ให้กำลัง 2 ฝ่ายถอยกลับจุดเดิม หาข้อตกลงร่วมกัน
ระทึกจริง "อดีตสว.สมชาย" กาง ป.วิอาญา 246 ชี้ชัดอำนาจศาล วินิจฉัยเหตุ สั่งทุเลาจำคุก "ราชทัณฑ์" ให้ "ทักษิณ" นอนชั้น 14 เสี่ยงทำผิด
สธ.สั่งเด้งทันที "ผอ.รพ." เมาแล้วขับชน 2 ช่างภาพ เจ็บสาหัส ยันพร้อมดูแลให้ความเป็นธรรมเต็มที่
สหรัฐขอเจรจาภาษีกับจีนแล้ว
"โฆษกกองทัพบก" แจงกมธ.มั่นคง ยืนยัน ทบ. ไม่มี IO ปัดทำเพจด้อยค่า "นักการเมือง" ย้ำหากเจอแจ้งดำเนินคดีได้เลย
"พิพัฒน์" ร่วมวันแรงงานฯ มอบของขวัญ โครงการ “ทุนอาชีพ”ดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 1.2 แสนล้าน เอื้อนายจ้าง-ลูกจ้าง สร้างโอกาส อาชีพใหม่ เพิ่มรายได้
"ไทย-กัมพูชา" ประชุมจีบีซี ครั้งที่ 17 สานสัมพันธ์ 2 ประเทศ ส่งเสริมเศรษฐกิจ ใช้มาตรการเข้มแนวชายแดน ร่วมมือแก้ปัญหาคอลเซ็นเตอร์
"เบนซ์ เรสซิ่ง" แจ้งจับมือดีตัดต่อคลิป ชักชวนเล่นพนัน
ตร.จ่อแจ้ง 2 ข้อหาหนัก "ผอ.รพ." เมาซิ่งชน "2 ผู้ช่วยช่างภาพทีวี" เจ็บสาหัส
"เครือข่ายปชช." ยื่นหนังสือถึงกองทัพ ก่อนประชุม GBC แนะเจรจาปมเขตแดนก่อน ขอรบ.ยึดมั่นประโยชน์ประเทศ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น