No data was found

“อ.เจษฏา” ร่ายยาว “ไฮเปอร์ลูป” แค่ล้มเหลวธุรกิจ ชี้โครงการวิจัยพัฒนายังไม่จบ

กดติดตาม TOP NEWS

"อ.เจษฏา" ร่ายยาว "ไฮเปอร์ลูป" แค่ล้มเหลวธุรกิจ ชี้โครงการวิจัยพัฒนายังไม่จบ

วันที่ 23 ธ.ค. 66 รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant”  กรณีบริษัทไฮเปอร์ลูปวัน ล้มเหลวทางธุรกิจ โดยระบุว่า…

“น่าเสียดายว่า บริษัทไฮเปอร์ลูปวัน ล้มเหลวทางธุรกิจ… แต่โครงการวิจัยพัฒนาระบบไฮเปอร์ลูปของทีมอื่นๆ ยังดำเนินต่อไปครับ”

สำหรับท่านที่สนใจติดตามข่าวความคืบหน้าของการพัฒนาระบบ ‘ไฮเปอร์ลูป hyperloop’ ที่จะเป็นนวัตกรรมใหม่ในการใช้ยานขนส่งระบบลอยตัวด้วยแม่เหล็ก ที่วิ่งด้วยความเร็วสูงมากๆ ในท่อลดความดันให้ใกล้สุญญากาศ ซึ่งจะช่วยลดกระแสลมต้านทานทางอากาศพลศาสตร์ลง และทำให้รถมีความเร็วสูงขึ้นมาก…

วันนี้มีข่าวน่าเสียดาย ที่หนึ่งในบริษัทที่แข่งขันกันพัฒนาระบบนี้ กำลังจะปิดตัวเองลงครับ ด้วยความล้มเหลวทางธุรกิจ (แต่ทีมวิจัยอื่นๆ ทั่วโลก ก็ยังคงแข่งขันกันทำอยู่ต่อไปครับ)

บริษัทดังกล่าวคือ ‘บริษัท Hyperloop One ไฮเปอร์ลูป’ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ในการสนับสนุนของเครือ เวอร์จิ้นกรุ๊ป (Virgin Group) ของมหาเศรษฐี ‘Richard Branson’ กำลังจะหยุดประกอบการในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ ตามรายงานของสำนักข่าว Bloomberg (ดู >> https://www.bloomberg.com/…/hyperloop-one-to-shut-down…) โดยรายงานข่าว ระบุว่าทางบริษัท Hyperloop One

ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Los Angeles จะปลดคนงานทั้งหมดออก และขายทรัพย์สินทั้งหมดที่มี ระบบไฮเปอร์ลูป เป็นไอเดียที่มหาเศรษฐี ‘Elon Musk’ ซีอีโอของบริษัท Tesla และ SpaceX ได้เคยเสนอแนวทางเอาไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 และหลังจากนั้น บริษัท Hyperloop One ก็ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2014 และระดมทุนได้ถึง 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และลงทุนไปแล้วหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

บริษัทนี้เป็นหนึ่งในอีกหลายบริษัทและองค์กรของรัฐบาลทั่วโลก ที่พยายามพัฒนาระบบขนส่งคนและสินค้า ที่อาศัยยานขนส่งซึ่งอยู่ในท่อลดความดันจนใกล้สุญญากาศ และจะทำความเร็วได้ถึง700 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ในปลายปี ค.ศ. 2020 บริษัท Hyperloop One ประสบความสำเร็จในการวิ่งทดสอบครั้งแรกพร้อมกับมีผู้โดยสารอยู่ในรางทดสอบด้วย และทำความเร็วได้ที่ 172 กม/ชม. แต่หลังจากนั้น สาธารณชนเริ่มเห็นปัญหาทางธุรกิจของบริษัท เมื่อบริษัทได้ลดจำนวนคนงานลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 และประกาศเปลี่ยนเป้าหมายจากการขนส่งคน ไปเน้นที่ขนส่งสินค้าแทน และในปลายปี 2022 ก็มีข่าวว่าชื่อ ‘Virgin’ ได้ถูกนำออกจากชื่อของบริษัท

จริงๆ แล้ว มีการเปลี่ยนแปลงวุ่นวายเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งแล้ว กับบริษัท Hyperloop One เช่น การฟ้องร้องกันเองระหว่างเหล่าผู้ก่อตั้งบริษัท จนบริษัทมาอยู่ในมือของ Richard Branson ในปี ค.ศ. 2017 และเปลี่ยนชื่อเป็น ‘Virgin Hyperloop One’

และเมื่อ Richard Branson ไปวิพากษ์วิจารณ์ประเทศซาอุดีอาราเบีย จากกรณีการฆาตกรรม ‘นาย Jamal Khashoggi’ ในปี ค.ศ. 2018 ทางราชวงศ์ของซาอุดีอาราเบียก็ได้แสดงความไม่พอใจโดยออกมายื้อโครงการเอาไว้ และทำให้ Richard Branson ต้องออกจากตำแหน่งประธานบริษัทไป

ผลที่ตามมาคือ ในช่วงต้นปี ค.ศ.2022 บริษัท DP World ที่เป็นบริษัทบริหารจัดการท่าเรือดูไบ ได้เข้ามาควบคุมดูแลบริษัท Virgin Hyperloop One นี้แทน และเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาโครงการไฮเปอร์ลูป จากที่จะใช้ขนส่งคน มาเป็นขนส่งสินค้าแทน พร้อมกับลดจำนวนสตาฟลงครึ่งหนึ่งและเอาชื่อ Virgin ออกจากชื่อบริษัท

สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่า บริษัท DP World จะรวบรวมเอาทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท Hyperloop One ไปดูแลเอง ขณะที่ทรัพย์สินที่เหลือที่เป็นวัสดุสิ่งของที่เหลือ ซึ่งรวมถึง ‘รางทดสอบ’ ที่เมือง Las Vegas และเครื่องจักรอื่นๆ ก็จะถูกขายทิ้งไป

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าความฝันของบริษัท Hyperloop One จะจบลงพร้อมกับความล้มเหลวทางธุรกิจ แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่กำลังพัฒนาระบบไฮเปอร์ลูป เพื่อพิสูจน์ถึงความเป็นไปได้ของแนวคิดนี้

ดังเช่นที่ผมเคยโพสต์เรื่อง ‘ความคืบหน้าล่าสุด ของระบบ hyperloop ไฮเปอร์ลูป ของประเทศจีน ไว้แล้ว โดยทวีตของ China Science ได้ระบุว่า ประเทศจีนกำลังเข้าใกล้สู่ความสำเร็จในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนแบบล้ำยุค ที่ประกอบไปด้วยรถไฟฟ้าแบบลอยตัวด้วยแม่เหล็ก (หรือแม็กเลฟ) ที่มีความเร็วสูงถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยวิ่งอยู่ในอุโมงค์ความดันต่ำใกล้สุญญากาศ ล่าสุดได้สร้างท่ออุโมงค์ทดสอบ ขนาดเท่าของจริง (full scale) ที่มีความยาวถึง 2 กิโลเมตรสำเร็จแล้ว ที่มณฑลซานซี (Shanxi) และถือว่ามีขนาดยาวที่สุดตั้งแต่ที่เคยมีการสร้างกันมาทั่วโลก (ดู ภาพและข้อมูลจาก >> https://twitter.com/ChinaScience/status/1727552557793620192)

 

 

นอกจากนี้ อีกบริษัทหนึ่งที่ค่อนข้างมีความคืบหน้าไปมาก คือ ‘บริษัท TransPod’ ของประเทศแคนาดา ตั้งอยู่ที่เมือง Toronto ซึ่งเมื่อต้นปี 2023 บริษัท TransPod ได้กลายเป็นบริษัทไฮเปอร์ลูปรายแรกของโลก ที่ยืนยันถึงการก่อสร้างอินฟราสตรักเจอร์ของโครงการขนส่งมวลชนทั้งหมด ด้วยงบประมาณรวมกว่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งในนั้นมีการยืนยันที่จะใช้เงินกว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการสร้างระบบไฮเปอร์ลูประหว่างเมือง Edmonton และเมือง Calgary และจะทำให้การเดินทางระหว่างสองเมืองนี้ ใช้เวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้น
ตามที่บริษัท TransPod แถลงไว้ เทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปของพวกเขาถูกออกแบบมาให้มีความเร็วสูงถึง 1,000 กม/ชม. และเคลมว่าระบบขนส่งมวลชนในท่อของพวกเขานั้น จะมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูง และสามารถรองรับการขนส่งได้เท่าเทียมหรือยิ่งกว่ารถไฟความเร็วสูงด้วย (ดู >> https://dailyhive.com/…/transpod-tube-edmonton-calgary…)

#ความเห็นทิ้งท้าย ก็เข้าใจนะครับว่าหลายคนมองเรื่อง ‘ไฮเปอร์ลูป’ เป็นเรื่องการเมือง เป็นเรื่องความเกลียดชังหมั่นไส้ธนาธรและอนาคตใหม่ (ผมก็ไม่คิดว่าเราจะสร้างไฮเปอร์ลูปในประเทศไทยเราได้หรอก… เอาแค่รถไฟความเร็วสูง ให้สำเร็จกันก่อนเถอะ) แต่ผมไม่สนใจประเด็นพวกนี้นะ ผมสนใจในประเด็นความท้าทายเชิงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ที่จะพัฒนาสิ่งที่ดูเหมือนความฝันเหล่านี้ ให้มันสำเร็จ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ปีนี้ปีหน้า หรือสิบปียี่สิบปีหน้า แต่สักวันหนึ่ง ผมว่าไฮเปอร์ลูปน่าจะทำได้จริง และจะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมของลูกหลานเราในอนาคตครับ

ขอบคุณข้อมูลและภาพข่าว จาก https://techcrunch.com/…/21/hyperloop-one-shutting-down/ และ https://dailyhive.com/vancouver/hyperloop-one-closure

 

 

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

พายุฤดูร้อน มาแล้ว อุตุฯเตือนฉบับ 1 ไทยตอนบนรับมือฝนฟ้าคะนอง 3-7 พ.ค.นี้ ระวังฟ้าผ่า ลมแรง
"ธนาธร" กู่ไม่กลับ! ฉีกกฎเหล็ก "กกต." จูงจมูก สว.ส้ม หลอน "บิ๊กตู่" คอนเน็คชั่น
"ดร.ธรณ์" เผย "ทะเลไทย" ร้อนเท่าออนเซนญี่ปุ่น วัดอุณหภูมิน้ำจากแหล่งหญ้าในทะเล ทะลุ 40 องศา
“อ๋อม สกาวใจ” รับไม่ได้ โร่แจ้งความ "เกรียนคีย์บอร์ด" เมนต์คุกคามทางเพศ
"อนุทิน" นำทีมพบผู้ใช้แรงงาน รับ 10 ข้อเรียกร้อง ยันเดินหน้าปรับค่าจ้าง พัฒนาทักษะอาชีพ เพิ่มสวัสดิการชีวิต
ก้าวไกลตีปีก "ศาลรธน." อนุญาต ขยายเวลาชี้แจงคดียุบพรรคอีก 15 วัน
ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ คดีม.112 “บอส ฉัตรมงคล” หนุ่ม 3 นิ้ว สั่งจำคุก 3 ปี หลังศาลชั้นต้นยกฟ้อง
เปิดใจ "แรงงานนอกระบบ" เผยสิ่งที่ต้องการ ขอแค่สวัสดิการที่เท่าเทียม
หน้าชัดมาก "ทีมก้าวไกล" ร่วมเครือข่าย 3 นิ้ว นำแรงงานต่างด้าว ยกขบวนเรียกร้องสิทธิในไทย
"เสริมศักดิ์" อำลาตำแหน่งรมว.วธ. ฝากขับเคลื่อนงานซอฟต์พาวเวอร์ ข้าราชการจัดขบวนกลองยาวรำส่ง สุดชื่นมื่น

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น