ทบทวนสถานการณ์ตัวประกันของฮามาส

ย้อนทบทวนสถานการณ์ตัวประกันในฮามาส ก่อนที่ข้อตกลงกำลังจะบรรลุผล รวมถึงบทบาทของประเทศผู้เจรจาอย่างกาตาร์

เป็นเวลา 6 สัปดาห์ หลังจากที่กลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอล เมื่อวันที่ 7 ตุลาคมที่ผ่านมา การโจมตีครั้งนั้น ได้คร่าชีวิตผู้คนไปมากกว่า 1,200 ราย และมีการจับตัวประกันไปประมาณ 239 ราย โดยเชื่อว่าตัวประกันส่วนใหญ่ ยังคงอยู่ในฉนวนกาซา อย่างไรก็ดี ทั้งกาตาร์ในฐานะประเทศเจรจา และผู้นำฮามาสได้เปิดเผยล่าสุดว่า ข้อตกลงปล่อยตัวประกันพลเรือน แลกกับการหยุดต่อสู้ชั่วคราว กำลังจะบรรลุแล้ว ทั้งนี้ นับตั้งแต่การโจมตีปะทุขึ้น มีการปล่อยตัวประกันออกมาแล้ว เพียง 4 รายเท่านั้น มี 1 ราย ได้รับความช่วยเหลือ แต่ก็มีผู้เสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 3 ราย และก่อนที่จะทราบว่า ข้อตกลงได้บรรลุผลจริง สำนักข่าว CNN ก็ได้เผยแพร่ เรื่องราวเกี่ยวกับตัวประกัน ตลอด 6 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีดังนี้

ตามข้อมูลของรัฐบาลอิสราเอล ตัวประกันประกอบด้วยเด็กและผู้สูงอายุจากคิบบุตซ์, คนหนุ่มสาวที่ถูกจับขณะหนีออกจากเทศกาลดนตรีโนวา, ครอบครัว และทหารอิสราเอล, และในจำนวนนี้ ก็มีผู้คนจากมากกว่า 25 ประเทศรวมอยู่ด้วย ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮูได้เคยระบุว่า มีตัวประกันที่เป็นเด็กถึง 33 ราย

ในวันที่ 20 ตุลาคมที่ผ่านมา ฮามาสปล่อยตัวประกันหญิงชาวอเมริกัน 2 คนแม่ลูกคือ นางจูดิธ ไท รานัน และนาตาลี ลูกสาววัย 17 ปีของเธอ  วันต่อมา ฮามาสปล่อยตัวประกันอีก 2 ราย ได้แก่ นางโยเชฟเวด ลิฟชิตซ์ คุณยายวัย 85 ปี และนางนูริต คูเปอร์ เพื่อนบ้านของเธอวัย 79 ปี

อย่างไรก็ดี นับตั้งแต่ที่อิสราเอลเริ่มโจมตีภาคพื้นดินในฉนวนกาซา ทางกองกำลังป้องกันประเทศของอิสราเอล (หรือ IDF) ก็พบศพของตัวประกันอย่างน้อย 3 ราย โดยคนแรกคือ ชานี ลุค หญิงชาวเยอรมัน-อิสราเอลวัย 23 ปี ที่ถูกจับตัวจากเทศกาลดนตรีโนวา ถูกประกาศว่าเสียชีวิต เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ขณะที่ศพอีก 2 ราย ทาง IDF พบเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นอกโรงพยาบาลอัล-ชิฟา ในกาซาซิตี้ ได้แก่ นางเยฮูดิต ไวสส์ คุณยายวัย 65 ปี และโนอา มาร์เซียโน ทหารวัย 19 ปี

ทั้งนี้ ในการเจรจาข้อตกลงปล่อยตัวประกันนั้น กาตาร์ได้กลายเป็นแนวหน้า และเป็นศูนย์กลางในการทูตระดับโลก ซึ่งการที่กาตาร์ได้มาเป็นตัวกลางเจรจานั้น เนื่องจากกาตาร์มีจุดยืนทางการทูตที่ละเอียดอ่อน โดยยังคงรักษาความสัมพันธ์กับกลุ่มฮามาส ในขณะที่เป็นหนึ่งในพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของสหรัฐในภูมิภาคนี้ รวมถึงยังรักษาการติดต่อกลับกับอิสราเอลด้วย

ในปี 2012 กาตาร์อนุญาตให้กลุ่มฮามาส ที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน จัดตั้งสำนักงานทางการเมืองในโดฮา ซึ่งเป็นเมืองหลวง และยังคงเปิดดำเนินการอยู่ ขณะเดียวกัน กาตาร์ยังคงรักษาความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตก เพราะเป็นผู้จัดหาพลังงาน ในฐานะหนึ่งในผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่จากสหรัฐด้วย นอกจากนี้ ในส่วนของอิสราเอล กาตาร์เป็นหนึ่งในชาติอ่าวอาหรับกลุ่มแรกๆ ที่สร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล ในปี 1996 ซึ่งทำลายข้อห้ามที่มีมายาวนานในภูมิภาคนี้ แต่ก็ตัดความสัมพันธ์ไป หลังจากที่อิสราเอลบุกฉนวนกาซา ในปี 2009็็้ยกสววแท

ข่าวที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

งานเข้าอีก ศาลรับฟ้องคดี “ดิว อริสรา” ฉ้อโกง ลวงนำสร้อยเพชรหรูจำนำ นัดไต่สวนมิ.ย.นี้
“รัฐบาล” แจงมีผลวันนี้ เลิกห้ามขายเหล้าในวันสำคัญทางศาสนา 5 พื้นที่
ปูดอีก! "ผู้สมัคร สท.พรรคดัง" เคยถูกจับครอบครองยาเสพติดประเภท 1
"อดีตสว.สมชาย" ชี้เวชระเบียน หลักฐานมัด "ทักษิณ" ป่วยไม่วิกฤต แพทย์ใหญ่รพ.ตร.-ขรก.ราชทัณฑ์ เหนื่อยแน่!
"ผู้บริหารอิตาเลียนไทย" เปิดใจปมแก้แบบตึกสตง. ทำตามขั้นตอน ยืนยันไม่รู้มีปลอมลายเซ็นวิศวกรฯ
"บิ๊กต่าย" ลั่นพร้อมให้ 2 แพทย์ รพ.ตร. โดนแพทย์สภา สั่งพักใบอนุญาตฯ หยุดปฏิบัติหน้าที่ทันที
‘ทวี’ ร่วมมอบเงินเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบ ตึกสตง.ถล่ม 21 ราย ย้ำเงินช่วยเหลือ ไม่มีผลทางคดี
"อ.ชูชาติ" กางข้อกม. ชี้ "สมศักดิ์" โต้มติแพทยสภา เหตุแห่งความผิด 3 หมอ ไม่ได้
"สมศักดิ์" ลั่นอย่าคาดเดา จะใช้อำนาจยับยั้งมติแพทยสภา โอดโดนการเมือง จับโยงทำเข้าใจผิด
แรงงานเมียนมา เปิดใจ เล่าเหตุการณ์วัน "ตึกสตง." ถล่ม อยู่ชั้น 29 สุดท้ายรอดปาฏิหาริย์

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น