logo

ก้าวไกลกระอัก “เพื่อไทย” เล่มเกมยื้อแก้รธน.

เจาะลึกรัฐบาลเศรษฐาตั้ง "ภูมิธรรม" แม่ทัพคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ ทำก้าวไกลกระอักเลือดดับฝันแก้รัฐธรรมนูญ ชี้ทุกกระบวนการอาจใช้เวลาลากยาวหลายปี

คำประกาศของคณะรัฐมนตรีที่มีมติแต่งตั้ง “ภูมิธรรม เวชยชัย” รองนายกฯ และ รมว.พาณิชย์ ในฐานะรองนายกฯคนที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบแต่งตั้ง “คณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ” เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนร่วมออกแบบกติกาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นเกมของเพื่อไทยที่อาจทำให้พรรคก้าวไกลกระอักเลือดกับกระดานการเมืองครั้งนี้

สำหรับมติตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติแก้รัฐธรรมนูญ” ที่ออกมาถือเป็นการดับฝันครั้งที่สอง” ของพรรคก้าวไกล หลังจากก่อนหน้านี้ต้องอกหักจากการที่รัฐบาลยืนยันไม่แก้รัฐธรรมนูญในหมวดพระมหากษัตริย์ รวมไปถึงการแก้ไขหมวด 1 และหมวด 2

 

 

มาในครั้งนี้ก้าวไกล และชาวด้อมส้ม รวมถึงภาคประชาชนใกลุ่มสภาประชาชนร่างรัฐธรรมนูญ ไอลอว์ต้องฝันสลายเป็นครั้งที่สอง หลังจากก่อนหน้านี้แอบคิดไปไกลว่า ครม.นัดแรกจะมีมติให้รัฐบาลเร่งดำเนินการทำประชามติตามขั้นตอน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2564 เพื่อนับหนึ่งสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ต้องมาสะดุดกับเกมเตะถ่วงของรัฐบาลจากการตั้งคณะกรรมการศึกษาแนวทางประชามติที่มีนายภูมิธรรมเป็นแม่ทัพใหญ่

ทั้งนี้เมื่อพลิกดูสาระสำคัญที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อย่างชัดเจนว่า จะยึดเอาแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ และใช้เวทีรัฐสภาหารือรูปแบบแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชามติ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยร่วมกัน”

เมื่อถอดรหัสแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมที่นายกรัฐมนตรีแถลงอาจทำให้เห็นภาพกว้างว่า ทุก ๆ ถ้อยคำเปรียบเสมือนหนามทิ่มแทงเพื่อตอกย้ำให้พรรคก้าวไกลรับรู้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจยังเป็นเรื่องยาวไกล

1.นายเศรษฐาบอกว่า รัฐบาลจะยึดเอาแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ สำหรับกรณีดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีมติเอกฉันท์เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2564 กรณีพิจารณาคำร้องที่รัฐสภาขอให้วินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 256 เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ตามที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐและ นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา เสนอญัตติ โดยระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของประชาชน และ รัฐสภามีอำนาจและหน้าที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ แต่ต้องจัดทำประชามติ 2 ครั้ง ครั้งแรกให้ประชาชนลงมติว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ และครั้งที่สองเมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ต้องจัดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

ดังนั้นขั้นตอนการทำประชามติฉบับใหม่ถึง 2 ครั้ง คือ 1.ครั้งแรกให้ประชาชนลงมติว่าต้องการให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และ2.เมื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จต้องจัดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งหากพิจารณาในกระบวนการดังกล่าวเชื่อรัฐบาลต้องใช้เวลาไม่ต่ำว่า 2 ปีจึงจะจบสิ้นทุกกระบวนความ ซึ่งก่อนหน้านี้ “ชูศักดิ์ ศิรินิล” ในฐานะรักษาการหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และทีมกฎหมายของพรรคฯ ยังเคยออกมาระบุว่า กระบวนการทำประชามติ และยกร่างรัฐธรรมนูญฉบบัใหม่ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี

 

 

ข่าวที่น่าสนใจ

2.นายกฯบอกว่า ต้องใช้เวทีรัฐสภาหารือรูปแบบแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชามติ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยร่วมกัน สำหรับกระบวนการที่รัฐบาลเลือกใช้เวทีรัฐสภาในการหารือแนวทางทำประชามติ และแนวทางจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้นถือว่าเป็นหมากการเมืองที่รัฐบาลใช้วิธีโยนปัญหาที่อาจเป็นชนวนขัดแย้งในสังคมต่อกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไปให้เวทีรัฐสภาเป็นคนตัดสิน ซึ่งการกระทำดังกล่าวถือเป็นการหากันชน เพื่อลดแรงกระแทกการเมืองที่อาจกระทบต่อรัฐบาล

อย่างไรก็ตามการใช้เวทีในสภาฯในเรื่องรัฐธรรมนูญต้องมีความเห็นหลากหลายในหลักการการต่าง ๆ ทั้งบรรดา สส. และสว. ที่มีมุมมองหลากหลายทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งทุกกระบวนการต้องใช้เวลาในการพิจารณาที่ยาวนานเช่นกัน

3. นายกรัฐมนตียืนยันว่า รูปแบบแก้ไขรัฐธรรมนูญ และประชามติประชาชนทุกภาคส่วนต้องร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยร่วมกัน

สำหรับเรื่องดังกล่าวเป็นที่มาของการที่ครม.มีมติแต่งตั้งแต่งตั้งนายภูมิธรรม เป็นผู้รับผิดชอบต่อการเฟ้นหาคณะกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติ ซึ่งกระบวนการการตั้งคณะกรรมการชุดดังกล่าวเป็นการออกแบบ เพื่อให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

ทั้งนี้เมื่อดูจากคำแถลงของนายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ต้องมีการทำประชามติ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น โดยกรรมการศึกษาแนวทางการทำประชามติยึดเอาแนวทางของศาลรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ แต่ขณะนี้ในส่วนของรายละเอียดต่าง ๆ ยังไม่ออกมา ซึ่งเบื้องต้นมีหลักการเพียงว่า ประชาชนมีส่วนร่วม แต่ยังไม่กำหนดการกรอบเวลาของการทำงาน รวมถึงยังไม่กำหนดว่าต้องทำประชามติเมื่อใด แต่จะทำให้เร็วที่สุด

 

ทั้งนี้สำหรับกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการประชามติที่ภาคประชาชนจะมีส่วนร่วมนั้น มีคำถามว่า จะเกิดขึ้นในวันไหน และเป็นไปในลักษณะใด เพราะคำแถลงของนายกฯ และโฆษกรัฐบาลไม่พบรายละเอียดในเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด อีกทั้งในคำแถลงกำหนดหลักการเพียงแค่ให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่วนกรอบเวลาของการทำงานยังไม่เป็นที่แน่ชัด และที่สำคัญยังไม่มีการกำหนดว่า ต้องทำประชามติเมื่อใด

จากท่วงท่าของรัฐบาลในการยื้อเวลาการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นานเท่านาน ทำให้นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลออกมาซัดรัฐบาลว่า การตั้งคณะกรรมการศึกษาอาจมีวัตถุประสงค์แค่ต้องการยื้อเวลา-ย้อนหลักการและยอมต่ออำนาจเดิมเท่านั้น

ทั้งนี้เมื่อมองทุกองคาพยพทั้งหมดในเกมการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน อาจเป็นการจงใจประวิงเวลาเพื่อให้กระบวนการต่าง ๆ ลากยาวไปอีกหลายปีหรือไม่ เพราะประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญถือเป็นเผือกร้อนในมือที่อาจก่อชนวนความขัดแย้งขึ้นมาได้ทุกเวลา ดังนั้นทุกการขับเคลื่อนจึงเป็นการดับฝันพรรคก้าวไกลไปโดยปริยาย

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวล่าสุด

อัปเดตอาการ "น้องการ์ตูน" หลังเข้า ไอซียู ด่วน แพทย์เฝ้าดูอาการใกล้ชิด
กทม. ลุยตรวจจตุจักร ร้านสัตว์เลี้ยง หวั่นสวัสดิภาพคน-สัตว์ ย้ำร้านค้าต้องมีใบอนุญาตตามกม.
"สามารถ" ชื่นชม กกต.กล้าชน "พิธา" ซัดเจ็บรู้ทุกเรื่องยกเว้นเรื่องจริง
"สมศักดิ์-อธิบดีกรมการแพทย์" สนองพระมหากรุณาธิคุณ ช่วยทารกหลังคลอดเขียว ภาวะหลอดเลือดใหญ่หัวใจสลับขั้ว ล่าสุดปลอดภัย
"หมออ๋อง" ต้องถอนตัว เพจ "ก้าวไกลโกหก" จี้แสดงรับผิดชอบ มือมืดป่วนเว็บรัฐสภา ลบคะแนนโหวตต้านนิรโทษ112
วธ.เปิดชุมชน บ้านท่ามะขาม ยกย่องสุดยอดชุมชนต้นแบบ ปี 66 ปักหมุดแลนด์มาร์ค วัฒนธรรมกะเหรี่ยงแห่งใหม่
"นิพิฏฐ์" เผยอาการป่วยล่าสุด "ชูวิทย์" รักษาแบบประคับประคอง
"ชัชชาติ" นำผู้บริหารกทม.เริ่มทำกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ "ในหลวง" น้อมพระราโชบาย พัฒาคุณภาพชีวิตปชช.
"ทวี" ยัน ก.ยุติธรรมไม่เกี่ยว อสส.ฟ้อง "ทักษิณ" คดี 112 แจงชัดไม่มีเตรียม รพ.ตร.รับตัว
"หมอเหรียญฯ" ปลื้มปริ่ม อุปสมบทลูกชาย พิธีเรียบง่าย ย้ำภาพชีวิตครอบครัว สงบ สมถะ

ดู LIVE รายการ

X

เราใช้ คุ้กกี้ เพื่อให้ทุกคนได้ประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น